“โกดังชาบู” ขอเห็นใจ รัฐสั่งปิดร้านสกัดโควิด โอดหนี้ท่วมยอมให้จับเพื่อร้านอยู่รอด (คลิป)

2 ม.ค. 64

จากกรณีเฟซบุ๊ก "โกดังชาบู" โพสต์ว่า "เอาอีกแล้วหรอจะสั่งให้ปิดอีกแล้วหรอ หนี้เก่ายังเคลียร์ไม่หมด แล้วแบบนี้จะให้พวกเรากินอะไร ความผิดประชาชนหรอ ความผิดเราหรอ ไอ้คนพวกเห็นแก่ได้ที่มันรับเงินและรับคนติดเชื้อเข้ามา คุณได้เงิน แล้วประชาชนได้อะไร ได้รับความเดือดร้อน สั่งเราปิด เราไม่ปิด ยังไงเราก็จะเปิด ตายทั้งขึ้นทั้งล่อง สั่งเราปิดช่วยอะไรเราบ้างมีแต่ช่วยให้เรามีหนี้เพิ่มขึ้น ลูกเมียก็ต้องดูแล พนักงานก็ต้องหาเงินกินข้าว เคสที่ระยองก็เป็นบทเรียนแล้วรอบแทนที่จะแก้ไข ยังจะทำให้มันแย่ลงมาอีก ขอถามสักคำความผิดร้านอาหารหรอที่จะต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ แล้วจะให้ทำมาหากินอะไร #ยังไงก็ไม่ปิดร้าน ปิดก็อยู่ก็อดตาย"

294262

วันที่ 2 ม.ค. 64 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี เดินทางมาที่ร้านโกดังชาบู ซอยวุฒากาศ 6 ย่านตลาดพลู กรุงเทพฯ นางมธุรา อดเหนียว อายุ 30 ปี เจ้าของร้านชาบู บอกว่า ตนเห็นประกาศว่าวันที่ 4 ม.ค. 64 ให้ทางร้านค้าเตรียมรับมือถึงเรื่องอาจจะให้ปิดบริการ หรือไม่ให้นั่งทานที่ร้าน ซึ่งร้านของตนเป็นร้านบุฟเฟต์ ถ้าหากมีมาตรการออกมาว่าห้ามทานที่ร้าน จะทำให้ร้านของตนขาดรายได้อย่างแน่นอน

303951

เดิมในการระบาดโควิด-19 ในครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตนได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ โดยได้ปิดร้านนานกว่า 2 เดือน ทำให้ขาดรายได้ค่อนข้างมาก ทุกวันนี้เปิดร้านขายเพียงเพื่อประทังชีวิตในแต่ละวัน ถ้ามีคำสั่งให้ปิดอีก ทางร้านยันอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน จากเดิมที่ไม่เคยมีหนี้ ก็เป็นหนี้สิน

300406

โดยหากครั้งนี้มีมาตการในการปิดร้านห้ามนั่งทาน ตนยืนยันจะไม่ปิดร้านอย่างแน่นอน ตนต้องกินต้องใช้ มีลูก และมีพนักงานร้านอีกที่จะต้องดูแล ถ้าปิดร้านก็อดเช่นกัน จึงจะตัดสินใจเปิดร้านไว้ดีที่สุด

สำหรับการขาดรายได้จากโรคระบาดโควิด-19 เดิมเคยขายได้สูงสุดประมาณ 10,000 บาทต่อวัน ปัจจุบันในสถานการณ์โควิด-19 ยอดขายต่อวันเพียงแค่ 1,000 บาทต่อวัน อีกทั้งยังต้องมีค่าใช้จ่ายของพนักงาน มีพนักงานรวมเจ้าของร้าน 5 คน จำเป็นต้องจ่ายเงินให้พนักงานเป็นรายวัน วันละ 300-400 บาทต่อคน แต่ทางร้านและพนักงานก็พร้อมสู้เพื่อประคับประคองในสถานการณ์นี้ไป

822741

โดยก่อนที่ทางร้านจะทำการเปิด มีการศึกษาตามกฎระเบียบและข้อบังคับทุกอย่าง เพื่อรองรับลูกค้าที่จะเข้ามา มาตรการป้องกัน ควบคุมโรค 12 ข้อ คือทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เว้นระยะระหว่างโต๊ะและระหว่างที่นั่ง อย่างน้อย 1 แมตร ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด

259308

ซึ่งการจำหน่ายอาหารแบบบุฟเฟต์ ปรับรูปแบบการบริการโดยงดการตักอาหารส่วนกลางด้วยตนเอง จัดให้มีระบบคิวและมีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เพิ่มมาตการใช้แอปพลิเคชันโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนดด้วย

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ทุบโต๊ะข่าว เป็นกระแส