จิตแพทย์แนะ เยียวยาเมียชายโดดตึกศาล หวั่นทำร้ายตัวเอง ชี้ต้องมีชีวิตอยู่ต่อ เรียกความเป็นธรรมคดี

26 ก.ค. 61
จากกรณีที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พหลโยธิน รับแจ้งเหตุมีคนกระโดดตึกชั้น 8 เสียชีวิต บริเวณฟุตปาธ ด้านล่าง อาคารศาลอาญา ถ.รัชดา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยหลังรับแจ้งเหตุจึงรีบไปตรวจสอบพร้อม ในที่เกิดเหตุ พบร่างของ นายศุภชัย คัฬหสุนทร อายุ 40 ปี สวมเสื้อแขนยาวลายสีน้ำเงิน เสียชีวิตอยู่ที่พื้น เจ้าหน้าที่นำผ้าขาวมาคลุมร่างไว้
นายศุภชัย ทัฬหสุทร ผู้เสียชีวิต
จากการสอบสวน ทราบว่า ผู้เสียชีวิตพร้อมภรรยา ซึ่งเป็นพ่อและแม่ของลูกชายที่ถูกเเทงเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2559 เดินทางมาฟังคำพิพากษาในคดีที่ นายณัฐพงษ์ ซึ่งเป็นจำเลยในความผิดฐาน ฆ่าผู้อื่นฯ จากกรณีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 59 จำเลยได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงบริเวณร่างกาย นายธนิต ถึงแก่ความตาย ก่อนหลบหนีไป เหตุเกิดบริเวณ ถ.ประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้ดดีว่าไม่ใช่ผู้กระทำผิด ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายที่นำสืบหักล้างกัน เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชายคนดังกล่าวกระโดดจากชั้น 8 อาคารศาลอาญา เสียชีวิต
นางเรวดี ทัฬหสุนทร ภรรยาผู้เสียชีวิต
นักจิตวิทยากล่าวถึงสาเหตุของการเสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวว่า ผู้ตายอาจเกิดจากความผิดหวังจากการเรียกร้องความยุติธรรมกับการจากไปของลูกชาย เมื่อผลที่ออกมา ไม่เป็นตามที่คาดหวัง ทำให้รู้สึกเสียใจกับคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว จึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นเพียงอารมณ์ชั่วขณะหนึ่ง ที่รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม การกระทำนี้อาจเป็นความต้องการที่อยากให้สังคมรับรู้ หรือเป็นการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พ.ต.ท.พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล หรือหมอแอร์ จิตแพทย์
วันที่ 26 ก.ค. 61 พ.ต.ท.พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล หรือหมอแอร์ จิตแพทย์ เปิดเผยว่า ในคดีนี้ไม่ได้สูญเสียลูกชายเพียงคนเดียว แต่สูญเสียคนในครอบครัว 2 คน ญาติต้องช่วยกันดูแลจิตใจ และป้องกันไม่ให้เกิดการทำร้ายตัวเอง หรือไม่ให้มีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ส่วนวิธีการเยียวยาสภาพจิตใจ ควรให้กำลังใจ เพื่อให้มองเห็นคุณค่าในตนเอง และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดการทำร้ายตัวเอง ด้วยการเก็บอาวุธ ยา หรือ อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือใช้ฆ่าตัวตาย ซึ่งควรมีการพูดคุยให้กำลังใจ อย่าให้อยู่เพียงลำพัง ควรให้ทำให้คนที่คิดจะฆ่าตัวตายได้รู้ว่า หากคนที่ฆ่าตัวตายไม่อยู่แล้ว คนที่อยู่ข้างหลังจะรู้สึกเสียใจกับการจากไปมากแค่ไหน การเยียวยาจิตใจอีกวิธีหนึ่ง คือ การพาไปพบจิตแพทย์ เพื่อให้ช่วยเยียวยาสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ให้ดีขึ้น หมอแอร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การเสียชีวิต การมีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นโอกาสในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเองได้ ในโลกนี้ไม่มีใครหนีกฎแห่งกรรมได้ ครั้งนี้คนผิดอาจจะรอด แต่ต้องชดใช้กรรมที่ได้ทำเอาไว้ “ชีวิตมีค่า ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ยังสู้ต่อไปได้”

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ