กกพ.ตรึงค่าเอฟทีประจำงวด ก.ย. - ธ.ค. 64 ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน

9 ก.ค. 64

กกพ. ลงมติ ตรึงค่าเอฟทีประจำงวด ก.ย. - ธ.ค. 64 ที่ -15.32 สตางค์ หนุนรัฐบาล ลดค่าครองชีพประชาชนไม่ให้ถูกซ้ำเติมจากเชื้อเพลิงขาขึ้น

วันนี้ (9 ก.ค.64) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค.คณะกรรมการ กกพ.มีมติให้ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค.64 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วย ต่อไปจนถึงสิ้นปี 64 ตามแนวทางการพิจารณาที่จะเกลี่ยค่าเอฟทีให้คงที่ตลอดปีนี้ ทั้งนั้เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน

214747471_1149054145594255_87

ทั้งนี้ การตรึงค่าเอฟทีในรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค.64 พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค.64 เท่ากับประมาณ 64,510 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน พ.ค.-ส.ค.64) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 67,885 ล้านหน่วย หรือลดลง 4.97%

2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก 53.90% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวม 20.13% และค่าเชื้อเพลิงลิกไนต์ของ กฟผ. 9.45% ถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน 7.43% และอื่นๆ อีก 6.90%

3. ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน ก.ย.-ธ.ค.64 เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการในเดือน พ.ค.-ส.ค.64 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค.64 โดยที่เชื้อเพลิงอื่นๆ ปรับตัวลดลงและคงที่

4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (วันที่ 1-31 พ.ค.64) เท่ากับ 31.30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าจากประมาณการในงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.64 ที่ประมาณการไว้ที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

213217874_1149054428927560_19

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบและอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่ประมาณการไว้ กกพ.ยังคงสามารถใช้เงินบริหารที่เก็บไว้จำนวน 4,129 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยรักษาเสถียรภาพค่าเอฟทีในช่วปลายปี 2564 ได้

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ