เคาะหลักเกณฑ์ วัคซีนไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์ เป็นเข็มกระตุ้นเท่านั้น ด่านหน้าจำนวนมากหมดสิทธิฉีด

31 ก.ค. 64

มติประชุมคณะทำงานด้านบริหารการจัดการการให้บริการวัคซีน ไฟเซอร์ ให้บุคลากรทางการแพทย์ เป็นเข็มกระตุ้นเท่านั้น ไม่มีเริ่มเข็ม 1 ทำด่านหน้าจำนวนมากหมดสิทธิฉีด สังคมตั้งข้อสังเกต จัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนโดส ก็น่าจะเพียงพอสำหรับทุกคน ไม่ควรมีเงื่อนไขให้มากมาย

กรมควบคุมโรค เปิดมติการประชุมคณะทำงานด้านบริหารการจัดการการให้บริการวัคซีนโควิดไฟเซอร์ เกณฑ์การจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ จากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้านหน้า ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ที่เข้าเกณฑ์ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศที่เข้าเกณฑ์ได้รับวัคซีนไฟเซอร์

• บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยโควิด ได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใน Hospitel หรือปฏิบัติงานข้องเกี่ยวกับภารกิจการดูแลผู้ป่วยโควิด

• มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลระบบกระทรวงสาธารณสุข (MOPH IC) ว่าได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ระบุว่าเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และยังไม่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มกระตุ้น

2.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ ไม่เข้าเกณฑ์ รับวัคซีนไฟเซอร์ ในล็อตนี้ ดังนี้

• ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ครบ 2 เข็ม
• ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 แล้ว
• ได้รับการฉีดวัคซีน ซิโนแวค 1 เข็ม และ แอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม
• ได้รับการฉีดวัคซีน ซิโนแวค หรือ แอสตร้าเซนเนก้ามาเพียง 1 เข็ม
• ได้รับการฉีดวัคซีนอื่นๆ

โดยการดำเนินการจัดสรรวัคซีน ไฟเซอร์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.จัดสรรเพื่อเป็นเข็มกระตุ้นเท่านั้น ไม่มีเริ่มเข็ม 1
2.สำรวจจำนวนผู้ต้องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในแต่ละจังหวัด โดยดูจากจำนวนรายชื่อที่ส่งมาจากแต่ละโรงพยาบาล/จังหวัด
3.การกระจายและจุดให้บริการวัคซีนไฟเซอร์
• 76 จังหวัด ส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อให้บริการที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลที่กำหนด
• กรุงเทพมหานคร ประสานสำนักอนามัย เพื่อส่งวัคซีนไป ณ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่กรมควบคุมโรคกำหนด
4.ให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งแสดง/ประกาศจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ต่อสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส

001

อย่างไรก็ตาม หลังมีการประกาศหลักเกณฑ์นี้ออกมา ทำให้บุคลากรด่านหน้าหลายคนไม่ได้รับสิทธิในการฉีดไฟเซอร์ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนจำนวนมากก็ไม่เห็นด้วยที่กลุ่มด่านหน้าที่ต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยโควิดจะไม่ได้รับสิทธินี้ เช่น เฟซบุ๊กเพจ Drama-addict ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากมีบุคลากรด่านหน้าจำนวนหนึ่งยังไม่ได้ฉีดเลยซักโดส กลุ่มที่ SV +AZ นี่ก็ควรได้ pfizer เป็นบูสเตอร์เหมือนกัน และวัคซีนไฟเซอร์ที่จัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนโดส ไม่ควรมีเงื่อนไขมากมาย ด่านหน้าควรได้ทุกคน

1627705142819

1627705177299

ขณะที่ แพทย์หญิงจรัสดาว ริมพณิชยกิจ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมทรวงอก ก็แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า

"ดิฉันที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่งได้ AZ เข็มแรกเพียงเข็มเดียวเมื่อเดือนมิถุนายน และมีนัดฉีดเข็มสองในเดือนกันยายน ไม่เข้าเกณฑ์บุคลากรด่านหน้าที่จะได้รับไฟเซอร์บริจาคจากสหรัฐอเมริกาเดือนสิงหาคมนี้ ดิฉันจะปลอดภัยมั้ยนะหรือดิฉันไม่สามารถใช้สิทธิ์ในฐานะคนไทยเพื่อรับวัคซีนตัวนี้ได้แล้วยังมีบุคลากรทางการแพทย์อีกบางส่วนที่เพิ่งได้ SV หรือ AZ ไปเข็มเดียวแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ มีความกังวลที่จะเสี่ยงรับเข็มที่สองยังมีบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนที่หลังจากได้รับทราบข้อมูลแล้วยังมีความไม่มั่นใจที่จะรับวัคซีนทั้งสองชนิด จึงยังรอ mRNA vaccine อยู่การตั้งเกณฑ์เช่นนี้ จะเป็นผลเสียต่อพวกเขาหรือไม่"

1627705560057

ด้าน ผศ.นพ.บันดาล ซื่อตรง อาจารย์แพทย์หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า ขอความกรุณาผู้ที่เกี่ยวข้องได้โปรดพิจารณาทบทวนเกณฑ์ดังกล่าวให้มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้นด้วย เนื่อจากบุคลากรที่เสียสละเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการทำงานได้สูงมาก

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ