ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตามรายงานสองฉบับที่เผยแพร่บน medRxiv โดยเป็นแหล่งรวมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพก่อนตีพิมพ์ (Preprint) โดยรายงานวิจัยที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระบุว่า ในการศึกษาผู้ป่วยมากกว่า 50,000 รายในระบบ Mayo Clinic Health System นักวิจัยพบว่า โมเดอร์นา มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อที่ 76% ในเดือนกรกฎาคม ในช่วงที่สายพันธุ์เดลตากลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ลดลงจากระดับ 86% ในช่วงต้นปี 2564
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาเดียวกัน นักวิจัยระบุว่า ประสิทธิภาพดังกล่าวของ ไฟเซอร์ ลดลงเหลือ 42% จาก 76% โดย ดร.เวนกี ซูนดาราราจัน จาก nference บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลในแมสซาชูเซตส์ ที่เป็นหัวหน้าการวิจัยของ Mayo Clinic เปิดเผยว่า แม้วัคซีนทั้งสองชนิดยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา เมื่อช่วงต้นปีนี้ อาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาเป็นบูสเตอร์โดสอีกครั้งในเร็ววัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โมเดอร์นา แจ้งประสิทธิภาพวัคซีนสูงกว่า 93% หลังฉีดเข็ม 2 นาน 6 เดือน
- รพ.วิภาวดี ยันมี โมเดอร์นา เพียงพอให้ทุกคนที่จอง หวังอย่ามี ปัจจัยอื่น มาแทรก
- วัคซีน โมเดอร์นา ชาวนนทบุรีเตรียมตัว! เปิดให้ 3 กลุ่มลงทะเบียนฉีดฟรี
Advertisement