ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้สายพันธุ์ที่พบในไทยยังคงเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ อัลฟา เดลตา และเบตา โดย 93% เป็นสายพันธุ์เดลตา พบการติดเชื้อครบทุกจังหวัด ซึ่งในพื้นที่กทม.พบสายพันธุ์เดลตา 97.6% ส่วนสายพันธุ์เบตา ยังคงจำกัดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 5.7% สัปดาห์ที่ผ่านมาพบในเขตสุขภาพที่ 12 นราธิวาส ปัตตานี ยะลา จำนวน 31 คน
อย่างไรก็ตาม จากการจัดอันดับการกลายพันธุ์ของเชื้อ COVID-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการติดตามการกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงกังวล ( VOC) ยังมีแค่ 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เดลตา เบตา และแกมมา ยังไม่มีสายพันธุ์อื่นเพิ่ม เนื่องจากอัลฟา แพร่ระบาดได้เร็ว ส่วนเดลตา แพร่เร็วและหลบภูมิคุ้มกัน
ส่วนสายพันธุ์เบตา และแกมมา พบว่า อาจแพร่เร็วไม่เท่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่พบว่า หลบภูมิและดื้อต่อวัคซีน โดยณะนี้ส่วนสายพันธุ์ MU (B.1.621) ยังอยู่ในกลุ่มนี้ พบการระบาดมากในประเทศโคลัมเบีย 40% และพบการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ คือ E484K ที่มีพบต่อการหลบภูมิ ดังนั้นต้องมีการติดตามใกล้ชิดต่อไป
ด้าน สายพันธุ์ C.1.2 แม้ WHO ยังไม่ได้มีการระบุว่าอยู่ในกลุ่มใด เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อย แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง E484K ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามต่อไปเช่นกัน และขณะนี้ทั้ง MU และ C.1.2 ยังไม่พบการระบาดในไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โควิดกรุงเทพ เผยเขตที่ติดเชื้อสูงสุดช่วงปลายส.ค.-ต้นก.ย. กว่า 2,328 ราย
- ศบค. เผย 10 จังหวัดติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงสุด วันนี้ (5 ก.ย. 64)
- ผลวิจัยพบ โมเดอร์นา กระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงกว่า ไฟเซอร์ 2 เท่าหลังฉีดครบ 2 โดส
Advertisement