ทั้งนี้ พบว่าได้เลือกให้ บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ขนย้าย เป็นเงินทั้งสิ้น 42.25 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการถอดโบกี้ออกจากรถไฟ และรวมค่าภาษีนำเข้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามสัญญาเลขที่ พด.025/2564
อย่างไรก็ตาม รถไฟ JR Hokkaido ที่จะนำเข้ามาในประเทศไทย เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ให้บริการครั้งแรกปี 2524 ภายในเป็นห้องโดยสารปรับอากาศ ปัจจุบันถูกปลดระวางและจอดทิ้งไว้ ก่อนหน้านี้บริษัทรถไฟฮอกไกโดได้มอบรถไฟมือสองดังกล่าวให้แก่การรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2559 แต่ไทยจะต้องออกค่าขนส่งและบำรุงรักษาเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รถไฟฟ้า บีทีเอส ยกเลิกตั๋วเที่ยวเดินทาง 30 วัน เติมเที่ยวได้ถึง 30 ก.ย.นี้
- คนร้ายลอบบึ้มรถไฟชายแดนใต้ ขบวนพิเศษขนส่งสินค้า โบกี้พังยับ เคราะห์ดีไร้เจ็บ
- เบียร์อาปาเช่โดดให้รถไฟทับ เจอภาพก่อนตายบอกลาเพื่อน น้อยใจทุกคนไม่ว่างคุย (คลิป)
Advertisement