วันที่ 14 ก.พ.68 กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นำโดย นายยิ่งชีพ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ เรียกร้องต่อนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ที่อาคารรัฐสภา
นายยิ่งชีพ ระบุ พวกเราได้ทำกิจกรรม เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% มาตลอดหลายปี โดย 2 วันนี้ รัฐสภาฯ พิจารณานัดสำคัญ เราก็เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เมื่อวาน แต่ปรากฏว่า พอมาถึงสภาฯ ก็ล่มเลย วันนี้เราก็มาอีก สภาฯก็ล่มอีก พวกเรายังยืนยันว่า ประเทศนี้จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่วางอำนายสูงสุด ที่มีที่มาชอบธรรม จากประชาชน ตั้งแต่ต้นกระบวนการจนจบ ถ้ายังไม่ได้มาในวันนี้ ก็จะยังไม่หยุดรณรงค์ เรียกร้อง เคลื่อนไหว จนก็จะได้สิ่งนี้มา
ทั้งนี้ เราต้องขอขอบคุณ สส. และ สว. 175 คน ที่ยืนยันว่าเรื่องนี้ต้องไปต่อ และเราขอมองทุกท่านที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นคนที่วอล์คเอาท์ หรือคนที่มานั่ง แต่ไม่แสดงตน หรือคนที่ประกาศจะโหวตคว่ำ ถือว่าเป็นการกระทำที่ถ่วง การจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ที่อย่างไรก็จะต้องเกิดขึ้น พวกเขาทำได้แต่ถ่วงเวลา วันนี้การประชุมสภาฯ ล่มไป แต่ญัตติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยังคงอยู่ และเป็นญัตติแรก ครั้งหน้าที่เปิดการประชุมขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาเรื่องนี้ อาจจะต้องรอ 3 เดือน หรือ 4 เดือน ก็ไม่แน่ใจ จริงๆ หากวันนี้โหวตตามกระบวนการที่ควรจะเป็น แล้วไม่ผ่าน ก็รอ 3-4 เดือนแล้วเสนอใหม่ ไม่ได้มีอะไรเสียหาย หรือช้าออกไป
วันนี้การจัดทำรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ไปต่อ ท่ามกลางเกมการเมือง ที่ถกเถียงกันมากมาย ว่าตกลงจะไปทางไหน สิ่งเดียวที่เรายืนยันว่า ไม่เห็นด้วย คือการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ในเรื่องนี้อีก เป็นรอบที่ 3 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นข้อชัดเจนที่สุด ว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มีปัญหา เพราะมีข้อวินิจฉัยหลายเรื่อง ที่ทำให้เห็นว่า ประชาธิปไตย ไปต่อไม่ได้มามากแล้ว ซึ่งก็ได้วินิจฉัยเรื่องนี้มาแล้ว แม้ไม่เห็นด้วยมาก แต่ก็ปฏิบัตตามนั้นก็ได้ คือ ให้รัฐสภา จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยจัดทำประชามติ 2 รอบ คือ ก่อน และหลังการจัดทำ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยอีก
"ขอร้องว่า อย่าหยิบเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ มาส่งอีกเป็นครั้งที่ 3 วันนี้เลื่อนออกไปแล้ว เราก็หวังว่าเมื่อกลับมาพิจารณากันใหม่ จะได้เห็นความจริงใจที่มากกว่านี้ มากกว่าการเล่นเกมทางการเมือง" นายยิ่งชีพระบุ
ขณะที่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ในนามพรรคประชาชน เรายืนยันเดินหน้าเขียนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผ่านตัวแทนประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% ที่การประชุมร่วมรัฐสภา ในครั้งต่อไป แต่ตราบใดที่รัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย และนายกรัฐมนตรี ยังไม่ใช้ วิธีการเจรจากับพรรคร่วม ยังไม่ไปควบคุมเสียงฝั่งภูมิใจไทยได้ อุปสรรค หรือ เดดล็อก จะยังคงอยู่แบบนี้ต่อ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด หนทางเดียว คือให้นายกรัฐมนตรี ไปเจรจากับพรรคร่วมรัฐบาล และเดินหน้าเรื่องนี้ ต่อ.
Advertisement