สำนักข่าวซินหัว รายงาน เมื่อวันอังคาร (5 ต.ค.) มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน (BGU) ของอิสราเอล เปิดเผยการค้นพบว่าสารให้ความหวานที่มักใช้แทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด อาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในระยะยาว
ผลการศึกษาในวารสารอินเตอร์เนชันนัล เจอร์นัล ออฟ โมเลคูลาร์ ไซเอนส์ (International Journal of Molecular Sciences) ระบุว่าคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทดสอบสารให้ความหวาน 6 ชนิด ซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และพบว่าสารเหล่านี้แทรกแซงการสื่อสารของแบคทีเรียในร่างกาย
แม้ว่าสารทั้งหกตัวจะไม่ได้ฆ่าแบคทีเรีย แต่มีสาร 3 ตัว ได้แก่ แอสปาร์แตม ซูคราโลส และแซกคาริน ที่ส่งผลกระทบใหญ่ต่อการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยคณะนักวิจัยอธิบายว่าสารให้ความหวานทำลายกิจวัตรการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายเสถียรภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้
คณะนักวิจัยได้ใช้แบคทีเรียเรืองแสงเพื่อทดสอบสารให้ความหวาน เนื่องจากความสามารถเรืองแสงของแบคทีเรียเหล่านี้จะลดลง หากการสื่อสารของแบคทีเรียถูกรบกวน
“งานวิจัยของเราผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทบทวนการใช้สารให้ความหวาน” คณะนักวิจัยกล่าวสรุป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กรมอนามัย แนะ 5 เทคนิค ดื่มน้ำ ดีต่อสุขภาพ และ ลดน้ำหนัก
- กรมควบคุมโรค เผย 6 วิธีรับมือก่อน น้ำท่วม แนะ ถุงยังชีพ 3-5 วัน ต้องมีของสำคัญอะไรบ้าง
- กรมควบคุมโรค แนะวิธีใส่ หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ขณะเข้าชุมชนและการกำจัดทิ้ง
Advertisement