เป็นพื้นที่เพื่อนักกีฬาผู้พิการอย่างแท้จริง สำหรับ “Boccia Training Center” ศูนย์ฝึกกีฬาบอคเซียแห่งชาติ อาคารฝึกซ้อมและที่พักสำหรับนักกีฬาบอคเซียทีมชาติไทย ที่ถูกออกแบบตามหลัก Universal Design เพื่อให้นักกีฬาผู้พิการสามารถใช้งาน ใช้ชีวิต ฝึกซ้อมได้อย่างสะดวกที่สุด ออกแบบให้ระยะพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ สอดคล้องกับการใช้งานของนักกีฬาเป็นสำคัญ โดยอาคารหลังนี้เป็นผลงานการออกแบบของ “คุณเมธพร วิสิฐพงศ์พันธ์” และ “คุณสุวิจักขณ์ ยตินันท์กุล” สถาปนิกจากบริษัท pbm จำกัด ได้รับรางวัล The International PropertAward ในประเภทอาคารสันทนาการอีกด้วย
ตัวอาคารมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของสนามฝึกซ้อม 4 สนาม ที่เป็น Double Space สูง 2 ชั้น, ส่วนของออฟฟิศบริเวณชั้นลอยเชื่อมกับสนามฝึกซ้อม และส่วนของห้องพักด้านบนสุดของอาคาร ซึ่งในส่วนของสนามฝึกซ้อม มีความกว้างประมาณ 16 เมตร สูง 6 เมตร ต้องการให้เป็นพื้นที่กว้าง โล่ง ไม่มีเสากลางคั่นกลางพื้นที่ จึงออกแบบโครงสร้างรับพื้นชั้นบนเป็นโครงถัก (Truss) จากเหล็ก H-BEAM เกรด SM520 เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของสนามฝึกซ้อม และติดตั้งแบบโชว์โครงสร้าง ซึ่งเหล็กโครงสร้าง H-BEAM ก็ตอบโจทย์ทั้งด้านความแข็งแรงและความเพรียวบางได้เป็นอย่างดี โดยมีความลึกของโครงถักที่ประมาณ 1.80 เมตรเท่านั้น ความสูงของสนามฝึกซ้อมจึงยังเหลือเกือบ 4 เมตร ให้พื้นที่ภายในคงความโปร่งโล่งและถ่ายเทเอาไว้ได้
เหล็กโครงสร้าง H-BEAM จาก SYS ที่ยืดหยุ่นต่อการใช้งาน ได้ถูกนำมาใช้ในหลายส่วนและใช้ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงถักของสนามฝึกซ้อม โครงสร้างของทางลาดอาคาร และโครงสร้างของ Façade อาคาร โดยทาง “คุณเมธ เมธพร” สถาปนิกผู้ออกแบบ ได้ดีไซน์ให้เป็นรูปร่างเรขาคณิตหลากหลายองศา เพื่อตัวแทนเส้นสายจากล้อวีลแชร์ของนักกีฬา นอกจากความสวยงามยังออกแบบให้ Façade นี้ทำหน้าที่พรางงานระบบรอบ ๆ อาคารและช่วยกรองแสงกรองลมธรรมชาติให้เข้าไปด้านในผ่านแผ่นอลูมิเนียมเจาะรูที่ทำมุมแตกต่างกัน แสงเงาและการตกกระทบจึงสร้างมิติให้กับอาคารได้มากขึ้น ซึ่งการติดตั้งด้วยโครงสร้างเหล็ก H-BEAM ก็ได้ทำหน้าที่พยุงและรับน้ำหนักของ Façade โดยรอบอาคารได้อย่างมั่นคงแข็งแรง ทั้งยังมีความสวยงามในตัววัสดุ สามารถเปิดโชว์โครงสร้างเหล็ก H-BEAM ได้ทั้งหมด อาคารจึงดูสวยและทันสมัยมากขึ้นอีก
ทางลาดโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ตามอัตราส่วนความสูง 1 เมตรต่อความยาว 12 เมตร (1:12) เชื่อมพื้นที่ทุกชั้นของอาคารเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางสัญจรหลักของอาคาร ให้นักกีฬาผู้พิการที่เป็นผู้ใช้งานหลักรวมไปถึงทีมงานและทุก ๆ คนสามารถเข้าถึงและใช้งานทุกส่วนของอาคารได้สะดวกที่สุด แต่ด้วยรูปแบบที่มีความซับซ้อน การใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM มาเป็นโครงสร้างทั้งส่วนเสาและคานรับทางลาด จึงช่วยให้ขนาดของทางลาดดูเบาและบางลงได้มาก แม้จะต่อเนื่องกันถึง 3 ชั้น และโครงสร้าง Façade ของอาคารที่ถือว่าเป็นจุดใหญ่จุดหนึ่ง การติดตั้งด้วยโครงสร้างเหล็ก H-BEAM ก็ได้ทำหน้าที่พยุงและรับน้ำหนักของ Façade โดยรอบอาคารได้อย่างมั่นคงแข็งแรง
นอกจากในเรื่องของความแข็งแรงและดีไซน์ ทางสถาปนิกและทีมก่อสร้างได้เลือกใช้เหล็กโครงสร้าง H-BEAM ร่วมกับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบสำเร็จรูป เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่ มีความรวดเร็วในการก่อสร้างและติดตั้ง โดยเฉพาะส่วนของโครงถักเหล็ก H-BEAM ใช้เวลาประกอบชิ้นละ 2 อาทิตย์เท่านั้น ก่อนยกมาประกอบที่หน้างานได้ทันที งานจึงเร็วและควบคุมได้ง่ายอีกด้วย
หากใครที่สนใจใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM การเลือกเหล็ก H-BEAM ควรเลือกเหล็กที่มีคุณภาพสูง โดยสามารถสังเกตได้จากตัวอักษรนูนแสดงโลโก้ SYS และเกรดสินค้าที่ตัวเหล็ก สติ๊กเกอร์ที่มีสัญลักษณ์ มอก. และรายละเอียดของเหล็กชิ้นนั้นๆ ให้ตรงกับการใช้งานอย่างครบถ้วน
[Adverterial]
Photographer Credit : @Yamastudio
Advertisement