สำนักงานกิจการยุติธรรม เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ การดำเนินคดีอาญา "ผู้ป่วยจิต" ลักษณะไหนที่กฎหมายถือว่า "บ้า" บ้าแล้วรอดคุก จริงหรือไม่
สำนักงานกิจการยุติธรรม เผยแพร่บทความ กฎหมายน่ารู้ 36 : การดำเนินคดีอาญากับ “ผู้ป่วยจิต” ต้องผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวช
ความรับผิดอาญาของ "คนบ้า"
1.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าจริง" = ไม่ต้องรับโทษ และนำตัวไปรักษาอาการทางจิต
2.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าบางเวลา" = รับโทษ แต่ศาลจะลดโทษให้ก็ได้
ลักษณะแบบไหนที่กฎหมายถือว่า "บ้า"
"คนบ้า"
• ไม่รู้ผิดชอบชั่ว-ดี
• บังคับการกระทำและจิตใจตัวเองไม่ได้
• สติฟั่นเฟือน ป่วยจิต
"คนบ้าบางเวลา"
• รู้ผิดชอบชั่ว-ดีอยู่บ้าง
• บังคับการกระทำและจิตใจตัวเองได้บ้าง
• สติไม่ฟั่นเฟือน
ผู้กระทำความผิดต้องตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวชว่า “บ้าจริง” หรือ “แกล้งบ้า” ทั้งก่อนและหลังการพิจารณาลงโทษ
1.ถ้ามีเหตุเชื่อว่า “บ้า” ตำรวจ อัยการ และศาลนำตัวผู้กระทำความผิดไปตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวช
2.ผลตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวชระบุว่า “บ้าจริง” ศาลประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี
3.คนบ้าที่ “ต่อสู้คดีได้”นำตัวไปรักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาล
4.ขณะที่ “รักษาอาการทางจิตอยู่”ให้ประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี(ซ้ำ)
5.คนบ้า “ต่อสู้คดีได้” นำตัวกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและลงโทษตามกฎหมาย
ความรับผิดอาญาของ "คนบ้า"
1.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าจริง" = ไม่ต้องรับโทษ และนำตัวไปรักษาอาการทางจิต
2.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าบางเวลา" = รับโทษ แต่ศาลจะลดโทษให้ก็ได้
ภาพ / ข้อมูล : เฟซบุ๊ก สำนักงานกิจการยุติธรรม
Advertisement