"ร้องกลั้น" คืออะไร อันตรายกับเด็ก 1-3 ปีขนาดไหน ? หากลูกน้อยเกิดภาวะร้องกลั้นมีวิธีการดูแลรับมืออย่างไร
จากกรณีที่มีแม่โพสต์คลิปนาทียื้อชีวิตหนูน้อยวัย 2 ขวบ ที่ร้องกลั้นจนหมดสติ ขาดอากาศหายใจนาน 3 นาที ก่อนจะตั้งสติทำ CPR จนหนูน้อยกลับมามีสติและรอดดมาได้ ข้อมูลจาก “รักลูก” เผยสาเหตุ ประภท และวิธีการดูแลรับมือเมื่อลูกน้อยร้องกลั้น
ภาวะลูกร้องกลั้นพบได้ 2-5% ของเด็ก เริ่มพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 5-6 เดือน แต่จะพบมากขึ้นช่วงอายุ 1-2 ปี หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ลดลง และภาวะนี้ไม่ได้เกิดอันตรายต่อสมองหรือทำให้เกิดพัฒนาการช้าแต่อย่างใด
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เด็กมีความโกรธ ตกใจ หรือถูกขัดใจ จึงร้องไห้อย่างรุนแรง ตามด้วยการกลั้นหายใจจนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจ (Apnea) และขาดออกซิเจน (Hypoxia) อาจตามด้วยการหมดสติ หรือแขนขากระตุก ซึ่งเป็นเพียงชั่วครู่ แล้วเด็กจะกลับมาหายใจปกติ
ควรหลีกเลี่ยงวิธีบังคับหรือขัดใจและเปลี่ยนเป็นใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ โน้มน้าวหรือห้ามด้วยความนุ่มนวล และพ่อแม่ไม่ควรแสดงความตกใจเมื่อลูกแสดงอาการ ในขณะที่มีอาการพ่อแม่ควรอุ้มเด็กไว้ หรือให้นอนราบ เพื่อป้องกันการล้มศีรษะฟาดพื้น
อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกเป็นภาวะร้องกลั้นหรือลมชัก เพราะถ้าร้องกลั้นมักจะเป็นไม่เกิน 1- 2 นาที และหลังจากนั้นจะรู้สึกตัวดี แต่ถ้าภาวะลมชัก มักจะเป็นนานกว่า 1 นาที และเด็กอาจไม่รู้สึกตัว
Advertisement