Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อาจารย์เจษฎ์ เฉลยทำไม "กีวี่" หยดลง ATK ขึ้น 2 ขีด

อาจารย์เจษฎ์ เฉลยทำไม "กีวี่" หยดลง ATK ขึ้น 2 ขีด

18 ธ.ค. 66
14:30 น.
|
2.9K
แชร์

อาจารย์เจษฎ์ เผยสาเหตุ "น้ำกีวี่" หยดลง ATK ขึ้น 2 ขีด พร้อมอธิบายชัดๆ หลักการทำงานของชุดตรวจ ATK รวมถึงข้อระวังในการใช้งาน

จากกรณีโลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่ภาพผลไม้ "กีวี่" พร้อม ที่ตรวจโควิด-19 ซึ่งขึ้นแสดงผล 2 ขีด นัยยะต้องการสื่อว่า ติดโควิด

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า

"กีวีไม่ได้ป่วยเป็นโควิด แต่เกิดผลบวกปลอม เพราะใช้ชุด ATK ผิดวิธี นึกไม่ถึงเลยว่า เราอยู่กับโรคโควิด-19 มาครบ 4 ปีแล้ว และมีชุดตรวจ ATK กว่า 3 ปีแล้ว ก็ยังมีคนเข้าใจอะไรผิดๆ มั่วๆ แบบนี้อยู่อีก

มีพวกที่ชอบเผยแพร่ข้อมูลกันเองว่า โรคโควิด-19 ไม่ใช่เรื่องจริงโดยอ้างว่าวิธีการตรวจแบบ PCR นั้นเป็นเรื่องหลอกลวง รวมถึงเรื่องชุดตรวจ ATK ก็หลอกลวงด้วย พวกนี้ก็จะชอบเอาชุดตรวจ ATK ไปทำการทดลองแบบผิดๆ เช่น ไปหยอดด้วยน้ำประปาบ้างล่ะ น้ำโคล่าบ้างล่ะ หรือน้ำสบู่ก็มี จนล่าสุดก็มีน้ำกีวีด้วย และผลมันก็ผิดพลาดเพี้ยนได้ เกิดผลบวกปลอม (false positive) ขึ้น 2 ขีด

จริงๆ แล้ว ชุดตรวจมันค่อนข้างจะ sensitive กับเรื่องของค่าความเป็นกรดด่าง หรือ ค่า pH เขาถึงต้องมีน้ำยา มาให้ผสมกับน้ำลายหรือตัวอย่างที่เก็บจากโพรงจมูก เพื่อปรับให้ค่า pH อยู่ในค่าที่ถูกต้อง จะได้ผลการตรวจที่แม่นยำ ไม่ใช่มาทดลองอะไรแล้วสรุปมั่วๆ กันเองแบบนี้"

นอกจากนี้ อาจารย์เจษฎ์ ยังได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หลักการทำงานของชุดตรวจ ATK และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง 

หลักการทำงานของชุด ATK

- ภายในชุดตรวจ จะมีแถบตรวจตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยแผ่นไนโตรเซลลูโลส มีลักษณะเหมือนกระดาษ ที่มีการเคลือบด้วยแอนติบอดีที่ติดฉลาก และมีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสอยู่

- แอนติบอดีที่ติดฉลาก คือ แอนติบอดีที่ถูกนำไปเคลือบบนอนุภาคทองคำนาโน (gold nanoparticle) ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เป็นสีแดง เมื่อนำมาใช้ในการทดสอบเชื้อ จึงมองเห็นแถบสีแดงขึ้นบนชุดทดสอบ / บริเวณบนแถบตรวจที่เคลือบแอนติบอดีที่ติดฉลากแล้ว เรียกว่า conjugation pad

- เมื่อหยดสารละลายที่ผสมกับตัวอย่างที่เก็บได้ ลงในช่องหยดสารของแถบชุดทดสอบ จากนั้นจะเคลื่อนที่ไปตามแผ่นไนโตรเซลลูโลส และผ่านบริเวณ conjugation pad

- ถ้าตัวอย่างนั้นมีเชื้อไวรัส เชื้อจะจับกับแอนติบอดีที่ติดฉลากบริเวณ conjugation pad ก่อน

- จากนั้น เมื่อเคลื่อนตัวต่อไปเรื่อยๆ จนถึงแถบอักษร T (test line) ซึ่งมีแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อเช่นกัน เชื้อไวรัสที่จับกับแอนติบอดีที่ติดฉลากแล้ว ก็จะถูกจับด้วยแอนติบอดีที่ตรงแถบ T อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ตรงแถบอักษร T เกิดเส้นสีแดงขึ้น

- แต่ถ้าสารตัวอย่างที่เอามาทดสอบไม่มีเชื้อไวรัส แอนติบอดีติดฉลากนี้จะเคลื่อนที่ผ่านไป ไม่เกาะติดแอนติบอดีที่แถบ T นี้

- ต่อมา ตัวอย่างจะเคลื่อนที่ผ่านมายังแถบ C (control line) ที่มีแอนติบอดีอีกชนิด ที่สามารถจับกับแอนติบอดีที่ติดฉลากได้ จึงทำให้เห็นเส้นสีแดงขึ้นที่แถบ C

- ขั้นตอนทั้งหมดนี้ สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อ่านผลได้ด้วยตาเปล่าภายใน 15 นาที ตามชื่อของชุดทดสอบ Rapid test

ข้อควรระวังในการใช้ ATK

- สารละลายที่บรรจุในหลอดทดสอบ เป็นสารละลายบัฟเฟอร์ ที่ทำหน้าที่รักษาสภาพของสารละลาย และยังมีสารที่ช่วยในการทำลายเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงอาจต้องระมัดระวังในการใช้ ถ้ามีการสัมผัสกับผิวหรือดวงตาต้องรีบล้างด้วยน้ำทันที

- ชุด ATK แต่ละยี่ห้อ มีลักษณะรูปแบบของอุปกรณ์และการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงต้องอ่านฉลากให้เข้าใจทุกครั้งก่อนการใช้งาน

- ผลการทดสอบด้วยชุด ATK เป็นการคัดกรองเบื้องต้น เพื่อความถูกต้องของผลการทดสอบ ผู้ที่ใช้งานควรตรวจสอบด้วยวิธีที่มีความแม่นยำขึ้นอีกครั้ง เช่น ด้วยเทคนิค RT-PCR ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส

- การตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ต้องมีเชื้อไวรัสในปริมาณที่มากพอ จึงจะตรวจพบ เนื่องจากเป็นการตรวจสารโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อไวรัสเท่านั้น

- แถบ C เป็นแถบสีที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของชุดทดสอบ ต้องปรากฏขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการหยดสารทดสอบ ถ้าไม่ขึ้นเส้นสีแดงที่แถบ C แสดงว่าชุดทดสอบนั้นมีปัญหา ไม่สามารถอ่านผลการทดสอบได้ แม้จะขึ้นเส้นสีแดงที่แถบ T ก็ตาม

ภาพและข้อมูล จาก https://sciplanet.org/content/10291

Advertisement

แชร์
อาจารย์เจษฎ์ เฉลยทำไม "กีวี่" หยดลง ATK ขึ้น 2 ขีด