เวียตเจ็ท ขึ้นแท่นผู้นำการบินโลก เผยผลประกอบการปี 2566 เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน ขนส่งผู้โดยสารทั้งสิ้น 25.3 ล้านคน
บริษัท เวียตเจ็ท จอยท์ สต๊อค จำกัด (Vietjet Aviation Joint Stock Company (HoSE: VJC)) รายงานผลประกอบการประจำปี 2566 เน้นย้ำฐานะหนึ่งในสายการบินที่มีความยืดหยุ่นและเติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก พร้อมด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ครอบคลุม ส่งเสริมการฟื้นตัวและการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน และการค้าในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก
ในปี 2566 เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน ขนส่งผู้โดยสารทั้งสิ้น 25.3 ล้านคน (ไม่รวมสายการบินไทยเวียตเจ็ท) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 183 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากรายงานดังกล่าวจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 7.6 ล้านคนเป็นผู้ที่เดินทางบนเที่ยวบินระหว่างประเทศ
ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทยังคงขยายเครือข่ายเส้นทางบินอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศและเส้นทางบินภายในประเทศรวมทั้งสิ้น 33 เส้นทาง ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนเส้นทางบินทั้งหมด 125 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางบินระหว่างประเทศ 80 เส้นทาง และเส้นทางบินภายในประเทศ 45 เส้นทาง
เส้นทางบินระหว่างประเทศสู่เมืองที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้ - เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ซิตี้ - เวียงจันทน์ ฮานอย - เสียมราฐ ฮานอย - ฮ่องกง ฟู้โกว๊ก - ไทเป และฟู้โกว๊ก - ปูซาน เป็นต้น
เวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกที่เชื่อมต่อเวียดนามกับ 5 เมืองที่ใหญ่ในออสเตรเลีย ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ธ แอดิเลด และบริสเบน รวมถึงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดระหว่างเวียดนามและอินเดีย โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อเวียดนามกับเมืองเดลี มุมไบ อาห์เมดาบัด โคจิ และติรุจิรัปปัลลิ
เวียตเจ็ทขนส่งสินค้าทางอากาศกว่า 81,500 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในปี 2566 รายบางส่วนของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 53.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และรายได้รวมอยู่ที่ 62.5 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 62 และร้อยละ 56 ตามลำดับ กำไรหลังหักภาษีของรายได้บางส่วนและรายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 697 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 344 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ
ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 รายได้บางส่วนและรายได้รวมเพียงไตรมาสเดียวทะยานสูงถึง 14.9 ล้านล้านเวียดนามดอง (ประมาณ 609.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 18.8 ล้านล้านดอง (ประมาณ 768.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 89 และร้อยละ 49 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กำไรหลังหักภาษีแยกและรวมรายไตรมาสอยู่ที่ 7 หมื่นล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 2.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 152 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ
รายได้เสริมและรายได้จากการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 18.9 ล้านล้านดอง (ประมาณ 773.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้จากการขนส่งทางอากาศทั้งหมดของสายการบินฯ
รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทรัพย์สินรวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ารวมกว่า 84.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ภายหลังจากการสั่งซื้อเครื่องบิน A321neo รุ่นใหม่จำนวน 3 ลำ ซึ่งต่ำกว่าอัตราส่วนทั่วไปทั่วโลกที่อยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.24 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 5.021 ล้านล้านดอง (ประมาณ 205.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปีก่อนหน้าแสดงถึงศึกยภาพทางการเงินของสายการบินฯ นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มสายการบินเวียดนามในปี 2566
ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 5.2 ล้านล้านดอง (ประมาณ 212.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
เวียตเจ็ทยังคงลงทุนเสริมทัพฝูงบินที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทประกอบด้วยเครื่องบิน 105 ลำ รวมถึงเครื่องบิน A330 ลำตัวกว้าง
จากการริเริ่มการปฏิบัติงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อสิบกว่าปีก่อนด้วยเครื่องบินเพียงสามลำ ภายในปี พ.ศ. 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทเติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงมีส่วนช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยประหยัดเชื้อเพลิงได้มากถึงร้อยละ 15-20 รวมถึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้
ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้มีส่วนร่วมในการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐอเมริกา โดยบรรลุข้อตกลงกับโบอิ้งในการส่งมอบเครื่องบิน 737 MAX จำนวน 200 ลำ ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า รวมถึงข้อตกลงการจัดหาเงินทุนสำหรับเครื่องบินกับสถาบันการเงินต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารโดยเฉลี่ยของสายการบินอยู่ที่ร้อยละ 87 และอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคอยู่ที่ร้อยละ 99.72 พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวโปรแกรมสะสมคะแนน SkyJoy ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์จากแบรนด์ต่างๆ กว่า 250 แบรนด์ ภายในปี 2566 เวียตเจ็ทมีสมาชิก SkyJoy จำนวน 10 ล้านคน
นอกจากนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารด้วยบริการ "บินก่อน จ่ายทีหลัง (Fly Now Pay Later)" อำนวยความสะดวกด้วยการเสนอทางเลือกการชำระเงินที่ยืดหยุ่นแก่ผู้โดยสาร เกตเวย์การชำระเงิน Galaxy Pay ของเวียตเจ็ทช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยและสะดวกสบายผ่านวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย รวมถึงเวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกของเวียดนามที่เริ่มให้บริการชำระเงินผ่าน Apple Pay ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารของเวียตเจ็ทจะได้รับสิทธิ์เช็คอินออนไลน์ ณ สนามบิน 18 แห่งในเวียดนาม
เวียตเจ็ทการันตีมาตรฐานบริการด้วยรางวัลหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่ปลอดภัยที่สุดในโลกอีกครั้งโดย AirlineRatings ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในการประเมินการบริการและความปลอดภัยของสายการบิน
ในปีที่ผ่านมา สายการบินได้จัดการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรม และการจำลองด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย อาทิ การประชุมด้านคุณภาพและความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของ ISAGO (International Standard for Ground Operations) และการจำลองการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบิน นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในฟอรัมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติงานด้านการบินระดับโลกที่จัดโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง อาทิ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบิน
ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้เปิดตัวศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ได้มาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับสายการบินลาวในเวียงจันทน์ ด้วยเหตุนี้ เวียตเจ็ทจึงใช้แนวทางเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงเครื่องบินหลังจากการลงทุนในบริการการจัดการภาคพื้นดิน
ด้วยตระหนักถึงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรการฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566
ด้วยกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรศูนย์ฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566
VJAA ฝึกอบรมนักเรียนมากกว่า 97,000 คนผ่านหลักสูตร 6,300 หลักสูตร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (CRS) อย่างเต็มกำลังในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถาบันแห่งนี้ยังได้เปิดตัวเครื่องจำลองการบินแห่งที่สามซึ่งกลายเป็นศูนย์ฝึกนักบินชั้นนำในภูมิภาค
ศูนย์บริการภาคพื้นดิน (VJGS) ของเวียตเจ็ทดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงคุณภาพของการบริการภาคพื้นดินในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนการดำเนินงาน ณ สนามบินนานาชาติโหน่ยบ่าย
เวียตเจ็ทมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน การค้า และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยในปี 2566 ได้สร้างสถิติใหม่ในการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศและรายได้ต่อปี.
Advertisement