Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อ.ธเนศ เผย ยังมีความหวังพบผู้รอดชีวิตอยู่ในโพรง เร่งเจาะ 3 โซนหลัก

อ.ธเนศ เผย ยังมีความหวังพบผู้รอดชีวิตอยู่ในโพรง เร่งเจาะ 3 โซนหลัก

2 เม.ย. 68
21:35 น.
แชร์

อ.ธเนศ เผย เจ้าหน้าที่เร่งขุดโพรง 3 โซนหลัก พร้อมส่งทีมกู้ภัยฯ ค้นหาผู้สูญหาย หวังพบผู้รอดชีวิต โซน C ชั้นใต้ดิน ติดบันไดหนีไฟ

จากกรณี อาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ในพื้นที่เขตจตุจักร กทม. ที่กำลังก่อสร้างกว่า 30 ชั้น พังถล่มลงหลังเกิด "แผ่นดินไหว" ในประเทศเมียนมา เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค. 2568 ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ซึ่งทีมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนานาชาติ ต่างก็ยังทำปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความระมัดระวังในการค้นหาผู้สูญหายที่ปลอดภัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหาย จากเหตุอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่ม ว่า การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการใช้เครื่องจักรหนัก เป็นการช่วยเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นเข้าไปสำรวจภายใน หากสำรวจจุดหนึ่งแล้วไม่พบ ก็จะดำเนินการใช้เครื่องจักรหนักต่อ โดยทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ เป็นวิธีการหาโพรงควบคู่กันไป เพราะมีโอกาสที่ผู้สูญหายจะรอดชีวิตอยู่ในโพรงดังกล่าว

ตอนนี้แม้จะเลยเวลาที่ตั้งเอาไว้มาแล้ว แต่เราพยายามทำคู่ขนาน หวังว่ายังคงมีปาฏิหารย์ที่จะช่วยชีวิตผู้สูญหายได้จึงยังปฏิงัติภารกิจต่อไป ส่วนความจำเป็นของโพรงที่จะพบได้ ก็จะเป็นโพรงจากปล่องลิฟต์ จากชั้นเบสเม้นต์ หรือชั้นใต้ดิน และตามขั้นบันไดหนีไฟ ซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นโพรงใหญ่ ดังนั้นหากมีการเข้าไปได้ก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิต

ส่วนเรื่องเจออากาศที่จะถ่ายเทเข้าไปในโพรงด้านใน จากการที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบพบว่า มีโอกาสเพราะจากการที่ขุดเข้าไปแล้วพบโพรง คนสามารถมุดเข้าไปได้ เมื่อคนสามารถเข้าไปได้อากาศก็เข้าไปได้ คิดว่าน่าจะมีโอกาสที่อากาศจะไหลเข้าไป

ขณะเดียวกันก็พยายามจะลดแชะถ่ายเทน้ำหนักโดยเฉพาะโซน C และโซน D เพื่อที่จะเอาของหนักออก ส่วนปล่อง และบันไดหนีไฟ ก็จะต้องดูจากปล่องอยู่จุดไหน อย่างอาคารนี้อยู่โซนซ้ายมือด้านหลัง หรือโซน C และเชื่อว่าคนส่วนใหญ่หากจะหลบหนี จะใช้บันไดหนีไฟ หากอยู่ในนี้ก็อาจจะมีโอกาสรอด เพราะถึงเวลาที่ถล่มลงมา แม้บันไดจะพังลงมาด้วย แต่จะมีจุดอื่นขวางไว้ทำให้มีโอกาสไม่ถูกทับ

สำหรับอุปสรรคของการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่มองเข้าไปแล้วเห็นได้ชัด คือ พื้นที่ถูกทับเป็นชั้นๆ แบบที่เรียกว่า “แพนเค้ก” ซึ่งลักษณะนี้ยาก ที่จะทะลวงให้เป็นโพรง และยากต่อการที่จะดึงออกแผ่นปูนออกทั้งแผง เนื่องจากมีความยาวมาก และหากจะยกแผงด้านบนออกก็จะเคลียร์เศษวัสดุก่อน โดยเฉพาะเสาที่ล้มลงมา เพราะถูกโยงกันด้วยเหล็ก และจุดที่เป็นเหล็กมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นรอยต่อระหว่างพื้นกับเสา พอล้มลงมาก็มีเหล็กผูกอยู่จึงต้องตัดก่อน พอจะยกแผ่นด้านบนออกเหล็กก็รั้งเอาไว้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องค่อยๆดึงส่วนของเสาออกก่อน

ส่วนจุดที่เป็นแกนกลาง สามารถดึงทีละชิ้นออกจากด้านบนได้ แต่ทะลวงเข้าไปเป็นโพรงไม่ได้ จึงเป็นการหยิบชิ้นส่วนด้านบนลงมาเสริมฐานด้านล่าง เพื่อไม่ให้เกิดการสไลด์ลงมา เป็นการปรับระดับให้พื้นสมดุลกัน ลักษณะจะทำเป็นขั้นบันได เพราะหากสไลด์ลงมาอาจจะทำให้กระทบเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปปฏิบัติภารกิจได้รับอันตราย

สำหรับการรื้อทำพื้นแบบขั้นบันไดนั้นเริ่มทำมาตั้งแต่เมื่อวาน โดยใช้เครื่องมือหนัก ทำบริเวณโซนC กับD ส่วนโซน B ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะมีพื้นที่มีเสาอยู่ พอเข้าไปดูด้านในแล้วเป็นอันตราย อาจจะต้องปล่อยไว้ก่อน และมาเน้นทำขั้นบันไดที่โซนC กับD และพยายามที่จะทำโซน Aด้วย เพื่อเปิดโพรงให้เข้าไปได้

โดยทั้ง 4 โซนจะพยายามทำไปพร้อมๆ กัน พอทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะหยุดแล้วให้เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหา หากไม่เจอก็จะใช้วิธีการนี้วนซ้ำไปอีก

ส่วนโอกาสที่จะพังถล่มซ้ำถ้าขุดไม่เป็น และไม่มีความชำนาญ เช่น ดึงจากข้างล่างออกก่อน ข้างบนก็จะถล่มทันที ดังนั้นเป็นไปได้หมด หากรื้อไม่เป็นหรือไม่ถูกวิธี เพราะฉะนั้นเราต้องประเมินเรื่องความลาดชันตลอดเวลาของซากอาคาร หากไปดึงจุดไม่ถูกต้องจะไปกระตุกทั้งหมดให้ถล่มลงมา แต่หากใช้วิธีขั้นบันไดที่ทำอยู่โอกาสที่จะถล่มซ้ำเป็นไปได้ยาก และจะสังเกตุได้ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้คีบเอาเศษปูนจากด้านบนออกก่อน แต่มีการกำกับและดูแลเรื่องของการดึงชิ้นส่วนออกอยู่ตลอดเวลา

หากประเมินความยากง่ายกรณีที่ใกล้เคียงกัน ปี2557 เคยเกิดเหตุอาคารถล่มอยู่แค่ 5-6ชั้น และครั้งนั้นก็มีผู้รอดชีวิตอยู่ที่บริเวณปล่องลิฟท์กับตัวพื้น โดยคนอื่นเสียชีวิตหมดแต่ผู้รอด เกือบจะโดนทับเพียงแค่ 15 เซนติเมตร ใช้เวลากู้ 25 ชั่วโมง ซึ่งตอนนั้นตัวเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย โดยคาดหวังว่าจะมีผู้รอดดชีวิตในลักษณะเดียวกัน

ส่วนระยะเวลาในการทำภารกิจ รวมถึงการรื้อถอน อยากให้ประเมินเป็นวันต่อวัน ซึ่งตนเองก็ยอมรับคำวิจารณ์ แต่ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่ทำภารกิจทุกหน่วย ต่างให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อต่อสู่หวังว่าจะช่วยผู้รอดชีวิตออกมาได้ โดยเชื่อว่าหากมีผู้รอดชีวิตเพียงแค่คนเดียวก็จะทำให้กู้ภัยทั้งหมดดีใจ

Advertisement

แชร์
อ.ธเนศ เผย ยังมีความหวังพบผู้รอดชีวิตอยู่ในโพรง เร่งเจาะ 3 โซนหลัก