อัตราการสูบของวัยรุ่นไทยพุ่ง ด้านสหรัฐฯลดลงกว่าครึ่งล้าน
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2552 รายงานถึงอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า กลุ่มเยาวชนอายุ 15-18 ปี และ 19-24 ปี มีแนวโน้มการสูบบุหรี่สูงขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบในวันรุ่นชายมากกว่าวัยรุ่นหญิง ซึ่งหลังจากโลกได้เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดูทันสมัย การทำรูปลักษณ์ให้ดูหลากหลายคล้ายคลึงของใช้ประจำวัน รวมถึงการมีรสชาติหรือกลิ่นให้เลือกมากมาย ส่งผลทำให้ปัจจุบันตรวจพบการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
ในปี 2565 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยผลสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คน จากโรงเรียนทั่วประเทศ ของ Global Youth Tobacco Survey : GYTS พบว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้นตรงกันข้ามกับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจากรายงานของสำนักข่าว CNN กล่าวถึง องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) โดยได้เปิดเผยรายงานการสำรวจการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน (National Youth Tobacco Survey หรือ NYTS) ในรายงานระดับชาติ Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR) ระบุว่า ในปี 2567 เยาวชนสหรัฐที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย ใช้บุหรี่ไฟฟ้าน้อยลงถึงครึ่งล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ลดลงจากประมาณ 2.13 ล้านคน เหลือ 1.63 ล้านคน ส่วนกลุ่มนักเรียนมัธยมต้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Advertisement