กินเจ 2567 เทศกาลกินเจ เทศกาลถือศีลกินผัก เริ่มต้นวันไหน ควรต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง จุดประสงค์ ข้อควรปฏิบัติ-ข้อห้ามมีอะไรบ้าง ดูได้เลยที่นี่!
เทศกาลกินเจ หรือ กินเจ 2567 หรือเรียกอีกแบบว่า ประเพณีถือศีลกินเจ กำหนดเอาตามวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ซึ่งในปี 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวม 9 วันเต็ม นับเป็นการถือศีลอีกอย่างสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน กลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสาระสำคัญของ กินเจ 2567 ไม่ใช่มีแค่การไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรม มีสะอาดบริสุทธ์ทั้งกายวาจาใจไปพร้อมกัน
เทศกาลกินเจ คืออะไร ?
กินเจ 2567 หรือ เทศกาลกินเจ ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีที่กำหนดตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 มีจุดเริ่มต้นโดยชาวเปอรานากัน ในประเทศมาเลเซียและทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม่ใช่ของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหมด ปัจจุบัน เทศกาลกินเจถูกจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซีย และอาจมีในบางประเทศเอเชียด้วยเช่นกัน
กินเจ 2567 เริ่มต้นวันไหน
ประเพณีถือศีลกินเจ หรือ เทศกาลกินเจ กำหนดเอาตามวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ซึ่งในปี 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวม 9 วันเต็ม
ความเชื่อเรื่องการกินเจในประเทศไทย
ข้อมูลจาก สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า การกินเจในประเทศไทย มีความเชื่อกันว่าเป็นการละเว้นการเอาชีวิตสัตว์ เพื่อเป็นสักการบูชาแก่พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นหนึ่งในวิธีบูชาที่เชื่อโยงกับความเชื่อที่ว่า การไม่กินเนื้อวัวในกลุ่มคนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิม ถือเป็นการบูชา การใช้เวลา 9 วัน เพื่อละเว้นเนื้อสัตว์ หรือการกินเจจึงกลายเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อสักการะ
ความหมายของการ กินเจ
"เจ" ในภาษาจีนมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจจึงเป็นเหมือนกับที่ชาวพุทธรักษาศีล 8 การกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน แต่เนื่องจากการถือศีลของนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำไปรวมเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ
ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจไม่ใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
หัวใจของการกินเจ เพราะมนุษย์กินแต่อาหารพืชผัก ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ การกินเจจึงตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือ
จุดประสงค์ของการกินเจ
การเลือกบริโภคแต่อาหารเจ หรือ อาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น นม ไข่ น้ำผึ้ง น้ำปลา เจลาติน คอลลาเจน และไม่ปรุงด้วยผักที่มีกลิ่นฉุน ได้แก่ กระเทียม ต้นหอม หัวหอม หอมแดง หลักเกียว กุยช่าย และผักชี โดยมีจุดประสงค์ของการกินเจ ดังนี้
ข้อควรปฏิบัติ-ข้อห้าม กินเจ 2567
ในช่วงถือศีลกินเจ สามารถปฎิบัติได้โดยการงดละเว้นเนื้อสัตว์ งดสิ่งอบายมุข งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการชำระร่างกายให้อยู่ในการถือศีลอย่างเต็มตัว และควรแยกอุปกรณ์ทำครัว ไม่ให้ปะปนจากคนที่ไม่กินเจ ทั้งนี้ อาจล้างท้องปรับสภาพของร่างกายให้พร้อมต่อการกินอาหารเจ
ที่มา : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (lib.ru.ac.th)
Advertisement