“ปานเทพ” เผย “เจ๊อ้อย” พร้อมสู้คดี ยัน 71 ล้าน เป็นเงินกู้ยืมเพื่อลงทุน ชี้ สนธิไม่ให้ค่าทนายเดชา เก็บหลักฐานจ่อฟ้องกลับ
วันที่ 11 พ.ย.67 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยกับสื่อ หลัง ทนายสายหยุด ได้ออกมาเปิดเผยถึงแนวทางการต่อสู้ของ ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ที่สับขาหลอกเปลี่ยนไป จากเสน่หาเป็นเงินลงทุน พร้อมแฉภาค 2 ขบวนการต้มตุ๋น 39 ล้านบาท
โดยนายปานเทพ ระบุว่า เหตุที่ตนมั่นใจได้ว่าการให้โดยเสน่หาไปไม่รอด เพราะเคยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ออกรายการนึง และทนายตั้มเอาข้อความบางประการไปให้พิธีกรอ่าน แต่ห้ามอ่านออกเสียง แล้วก็ไม่มีใครเห็นว่าเป็นบทสนทนาระหว่างใครกับใคร ชัดเจนได้ว่ามีการเลือกและไม่กล้าอ่าน
อย่างที่ตนพูดว่าถ้ามีการอ่านคู่กรณีเขาจะได้ชี้แจงและสื่อมวลชนเขาจะได้ทราบว่าเป็นการให้โดยเสน่หาหรือว่าการฉ้อโกงกันแน่ แต่ตอนหลังตอนนี้เปลี่ยนเป็นเงินกู้ยืมเพื่อการลงทุน เพราะเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขจากเดิม ทำให้มีการให้ข้อมูลต่อสื่อสาธารณะกลับไปกลับมา ก็ต้องแปลว่ามีข้อบกพร่องไม่อันใดก็อันนึง แม้จะอ้างว่าอาจจะมีข้อความเงื่อนไขว่าเงินกู้ให้ลงทุนดังที่ ทนายสายหยุด อ้าง ก็ต้องถามว่าถ้าการลงทุนให้กู้ยืมเพื่อการลงทุน ก็ต้องแสดงว่าต้องมีเงื่อนไขหลังจากวันนั้นใช่หรือไม่ ปัญหาคือให้กู้ยืมหรือมีสัญญากู้เงินใช่หรือเปล่า เพราะหลังจากนั้นข้อความนั้นอีก 3 วัน ความหมายของการกู้ยืมเพื่อการลงทุนคือ พี่อ้อย เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เรื่องของแอพพลิเคชั่น 71 ล้านบาท ด้วยการทำสัญญาที่ ทนายตั้ม เป็นคนร่างขึ้นมา ให้ทั้งผู้เขียน แอพพลิเคชั่นนาคี และ พี่อ้อย เซ็น นั่นก็แสดงว่ามันไม่ใช่ให้โดยเสน่หา และ ไม่ใช่เงินกู้เพื่อการลงทุนของทนายตั้มส่วนตัว แต่เป็นชื่อทรัพย์สินที่ชัดเจนได้ว่ามีเงื่อนไขการจ่าย และเวลาการจ่ายเพื่อการลงทุนในนาม พี่อ้อย นั่นก็หมายความว่าการลงทุนครั้งนี้ต้องเป็นทรัพย์สินของพี่อ้อย ไม่ใช่ทนายตั้ม
ส่วนทนายตั้มจะได้รับการบริหารหาสัมปทานเข้าสู่กระบวนการนั่นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง แต่กรณีนี้ชัดเจนได้ว่าพอ ทนายตั้ม รับเงินก็ไปบอก บริษัทแอพพลิเคชั่นว่ายกเลิกและไม่ทำแล้ว ก็แสดงว่าหลอกใช่หรือไม่ ไม่ใช่การกู้ยืมเพื่อการลงทุนแล้ว แต่เป็นการอ้างเหตุไปสู่การทำให้เชื่อได้ว่าจะมีโครงการนี้จริง และสุดท้ายก็ไม่มีจริง
ส่วนที่ ทนายสายหยุด ไปอ้างทำนองว่าเป็นการหลบเลี่ยงภาษี จึงมีการสร้างสัญญาอำพรางนิติกรรม เพื่อโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาโดยอ้างเหตุในการลงทุนนั้น เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะ พี่อ้อย สามารถนำเงินเข้าจากต่างประเทศเข้ามาสู่ส่วนตัวโดยไม่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าเงื่อนไขใดก็ตาม แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเอาเอกสารภาษาไทยไปชี้แจงต่อประเทศฝรั่งเศส เรื่องนี้จึงฟังไม่ขึ้น และถ้าจะเป็นการหลบเลี่ยงภาษีให้ทนายตั้ม ก็ไม่จำเป็นต้องโอนเงินเข้า ถอนเงินสดทั้งก้อนและเอาให้ทนายตั้ม โดยที่ไม่ต้องมีการบันทึกเรื่องภาษีเลย
นี่เป็นข้อสังเกตว่าคำชี้แจงของ ทนายสายหยุด กลับไปกลับมาและไม่ค่อยสมเหตุสมผล
ในข้อที่ 2 ในเงิน 71 ล้านบาท ก็มีพิรุธเรื่องภาษี จากเดิมอ้างว่าโอนเข้าตรงกับทนายตั้ม เสียภาษี 10% แต่เนื่องจากโอนเงินเข้าพี่อ้อยจึงไม่ต้องเสียภาษี ก็แสดงให้เห็นว่าก็ไม่จำเป็นต้องมีโครงการ ก็สามารถถอนเงินสดให้ทนายตั้มได้เลย แต่ทนายตั้มพูดเรื่องภาษีตั้งแต่วันแรกแรก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แถมตอนหลังมีการแถลงว่าจะมีการจ่าย 5% เพราะให้โดยเสน่หา แสดงว่าเงื่อนไขที่อ้างเรื่องภาษี เป็นเท็จ ล้วนแล้วเป็นการโกหกตั้งแต่ตอนแรกเพราะมันขัดแย้งกัน
ที่สำคัญคือพยานที่มีการสืบให้การตรงกันหมดว่าเป็นเงื่อนไขการลงทุนของพี่อ้อยโดยตรง มีแชต LINE และการพูดคุย ไม่สามารถจะบิดเบือนเป็นอย่างอื่น แต่ก็เห็นใจทนายความ เพราะว่าทนายสายหยุด มีหน้าที่ในการต่อสู้คดี เราไม่ว่ากันทุกคนก็ไปสู้กันตามกระบวนการยุติธรรม เพียงแต่เรามานำเสนออีกด้านหนึ่งเพราะว่าข้อมูลน่าจะไม่ใช่
ส่วนเรื่องรถยนต์ที่อ้างว่าเป็นค่านายหน้า อยากเรียนให้ทราบว่า มันไม่มีค่านายหน้าสูงถึง 1.5 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นบริษัทคงไม่กำไร ที่สำคัญเขาไม่ได้ขายราคานี้ ให้กับคนซื้อรถทั่วไปมีการบวกเพิ่ม โดยที่ไม่แจ้งพี่อ้อย มีการปกปิดความจริง โดยที่ไม่แจ้งพี่อ้อย ผิดราคาตลาดในตอนนั้นอย่างชัดเจน เพราะเขาเสนอสองเงื่อนไขให้ทนายตั้ม
แล้วก็จากคำบอกเล่าชัดเจนได้ว่ามีการเสนอให้ออกอีกใบหนึ่งให้พี่อ้อยเห็นอีกตัวเลขหนึ่ง จึงมีส่วนต่างที่เห็น 1.5 ล้านบาท เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องค่านายหน้า แต่เป็นการปกปิดอำพรางข้อเท็จจริงไม่ให้พี่อ้อยรับทราบ
ทั้ง 3 กรณีไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน 71 ล้านบาท ค่ารถยนต์ 13 ล้านบาท ทนายตั้มรับเองทั้งหมด และสุดท้ายก็อีก 9 ล้านบาท ทนายตั้มก็รับเอง
เมื่อทั้งสามเหตุผลเป็นการต่อสู้ของทนายสายหยุด ตนเชื่อว่าทางพี่อ้อยก็จะต่อสู้อย่างเต็มที่
เรื่องถัดไปเป็นเรื่องของมี่และเตอร์ ซึ่งตอนนี้มีสื่อไปทำข่าวแล้วก็อาจจะเข้าใจผิดว่ามี่และเตอร์ไปอยู่ในกระบวนการเบิกเงิน 39 ล้านบาทหรือไม่ ตนก็ยืนยันตามข้อเท็จจริง วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเบิกเงินสด ที่ธนาคารแห่งนั้น ในกรุงเทพมหานคร ทั้งสองคนไม่ได้อยู่กรุงเทพ อยู่ที่สุราษฎร์ธานี พร้อมกับโชว์ภาพยืนยันว่าทั้งสองคนอยู่ที่สุราษฎร์ธานี เป็นภาพที่ถ่ายรูปแล้วก็ขึ้นเวลาด้วย เพราะฉะนั้นเขาไม่มีทางเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการแบ่งเงินได้
ซึ่งหลังจากเป็นข่าวก็มีสื่อมวลชนอยากจะไปสัมภาษณ์เขาเยอะมาก จนทำให้คนในหมู่บ้านของเขารู้สึกอึดอัด คุณมี่และคุณเตอร์ฝากข้อความมาว่าเขาไม่สามารถให้สัมภาษณ์ใดๆได้ ณ เวลาตอนนี้ เพราะเขาเสี่ยงต่ออันตรายมาก เขาขอเพียงแค่เขาได้รับความเป็นธรรมว่าเขาไม่ใช่ผู้สมรู้ร่วมคิด อาจจะมีรูปเขาจริงในธนาคาร แต่เป็นเหตุการณ์ที่เขาเบิกเงิน 9 ล้านบาทไปให้ทนายตั้ม และเขาก็เก็บหลักฐานเอาไว้ว่าเขาไม่ได้รับเงิน
ส่วนเรื่องทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ พาดพิง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้น เมื่อเช้าคุณสนธิ ได้ไลฟ์สดแล้วว่าเรื่องนี้ เขายังพูดเหมือนเดิมว่าไม่ให้ราคาทนายเดชา แต่ก็ได้แคปรูปเก็บข้อมูลไว้ทุกอย่าง ที่ทนายเดชาได้โพสต์ได้กล่าวถึงและมีข้อความอันเป็นเท็จ อย่างเช่นกรณีเงิน 1,078 ล้านบาท ที่บอกว่าโกงธนาคาร ไม่ปรากฏข้อความนี้ในคำพิพากษาเลย แม้แต่ข้อความเดียว และคุณสนธิก็ฟ้องมาแล้วหลายคดีกับคนที่กล่าวแบบนี้ และก็ชนะทุกคดี เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ก็เป็นประเด็น เพราะว่าสิ่งที่พูดนั้นเลื่อนลอยและเป็นเท็จ ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย.
Advertisement