ภายหลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการและมีอำนาจเต็ม และเขาก็ได้เซ็นคำสั่งยกเลิกคำสั่ง 78 ฉบับ ที่ลงนามไว้โดยนายโจ ไบเดน อดีตประธานาธิบดี ต่อหน้าผู้สนับสนุน
โดยหนึ่งในคำสั่งที่ทรัมป์ เซ็นยกเลิกคือการนำสหรัฐฯ ออกจากการเป็นสมาชิก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ซึ่งที่ผ่านมา เขาระบุว่าองค์กรแห่งนี้ทำตัวเป็นภาระ และเรียกร้องงบประมาณสนับสนุนอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ ทรัมป์เคยลงนามในคำสั่งแบบเดียวกันนี้มาแล้ว เมื่อปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 โดยให้เหตุผลว่า ดับเบิลยูเอชโออยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน
อย่างไรก็ตาม การที่กระบวนการพ้นจากสมาชิกต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี จึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้นำสหรัฐที่รับตำแหน่งต่อจากทรัมป์เวลานั้น คือประธานาธิบดีโจ ไบเดน สามารถใช้อำนาจยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้ และที่สุดสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิก WHO
ซึ่งขณะนี้ทรัมป์ได้ลงนามเพื่อออกจากการเป็นสมาชิกและคาดว่าเขาน่าจะคงนโยบายนี้ต่อไปเกินหนึ่งปี ซึ่งน่าจะแน่นอนว่าจากนี้สหรัฐฯ จะไม่ได้เป็นสมาชิก WHO ต่อไป
การออกจากสมาชิก ย่อมส่งผลต่อเงินสนับสนุน ชาติสมาชิก WHO มีภาระหน้าที่ที่ต้องจ่ายเงินสนับสนุน เพราะองค์กรนี้ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการดำเนินการ มีการตั้งงบประมาณสำหรับปี 2024 – 2025 ไว้ 6,830 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2.3 แสนล้านบาท
รู้หรือไม่ว่า งบประมาณของสำหรับ WHO ที่มาจากสัดส่วนของชาติสมาชิกจำนวน 197 ชาติ ที่จ่ายเงินสนับสนุนคิดเป็น 22% ของงบประมาณ และแต่ละชาติจะจ่ายไม่เท่ากัน โดยเกณฑ์การจ่ายเงินสนับสนุน WHO ของประเทศสมาชิกนั้นมีความซับซ้อนและมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยจะคำนึงถึงปัจจัยหลักประกอบด้วย
- กำลังซื้อของประเทศ ประเทศที่มีรายได้สูงมักจะต้องจ่ายเงินสนับสนุนในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศที่มีรายได้ต
- ประชากร จำนวนของประชากรก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสัดส่วนการจ่ายเงินสนับสนุน
- ความสามารถในการจ่าย นอกจากกำลังซื้อและประชากรแล้ว ความสามารถในการจ่ายของแต่ละประเทศก็เป็นปัจจัยที่พิจารณาด้วย
- ความต้องการด้านสุขภาพ ประเทศที่มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคระบาด อาจได้รับการขอให้เพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสนับสนุน
ที่มาของรายได้ WHO นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นที่เป็นภาคบังคับ ยังมีเงินสมทบภาคสมัครใจมักจะนำไปใช้ในโครงการเฉพาะเจาะจง เช่น การระบาดของโรค หรือการพัฒนาสุขภาพในประเทศที่ยากจน
ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากการบริจาคหรือที่ถูกเรียกว่า “เงินสมทบภาคสมัครใจ”
เราลองมาดูชาติสมาชิกที่จ่ายเงินสมทบเป็นลำดับต้นๆกันบ้าง สำหรับ 5 อันดับประเทศที่จ่ายเงินสมทบภาคบังคับมากที่สุดประกอบด้วย
1.สหรัฐอเมริกา 260 ล้านเหรียญ
2.จีน 175 ล้านเหรียญ
3 ญี่ปุ่น 95 ล้านเหรียญ
4.เยอรมนี 70 ล้านเหรียญ
5 อังกฤษ 50 ล้านเหรียญ
ทั้งนี้ชาติสมาชิกมีทั้งหมด 197 ชาติ โดยประเทศไทยจ่าย 4,226,000 เหรียญหรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 143 ล้านบาท
ซึ่งหากสหรัฐฯ ถอนตัวก็จะทำให้เงินหายไปทันที 260,626,000 เหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทย 8,862 ล้านบาท
ที่มา https://open.who.int/2024-25/contributors/by-fund-types/ac
Advertisement