Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
กว่าจะถึงยุติธรรม เมื่ออุปสรรคใหญ่ไม่ใช่ "คนตาย" แต่กลับเป็น "คนเป็น"

กว่าจะถึงยุติธรรม เมื่ออุปสรรคใหญ่ไม่ใช่ "คนตาย" แต่กลับเป็น "คนเป็น"

28 ม.ค. 68
15:50 น.
|
414
แชร์

"หมอพรทิพย์" แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เส้นทางชีวิต "หมอผ่าศพ" เมื่ออุปสรรคใหญ่ไม่ใช่ "คนตาย" แต่กลับเป็น "คนเป็น" ที่ขวางความยุติธรรม

จุดเริ่มต้นเส้นทาง "แพทย์นิติเวช"

หมอไม่ได้เริ่มจากการอยากเป็นนิติวิทยาศาสตร์ทันที แต่เริ่มด้วยความเบื่อระบบราชการ หมายถึงถ้าเราเป็นแพทย์ ถ้าเราเป็นแพทย์ที่รักษาคนไข้ ระบบราชการ รัฐฯ ก็ไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไร คนที่อยู่ในระบบก็ไม่ค่อยจะมีความสุขสักเท่าไหร่ มันก็เกิดไม่มีความสุขกับการทำงาน เกิดการเกี่ยงงานกัน มันก็เลยเป็นเหตุให้เรามองหาสาขาที่เราจะทำงานได้ในระบบราชการ มันก็เลยเป็นที่มาของ สาขาขาดแคลน

สาขาที่ขาดแคลนก็แปลได้ว่า ไม่ทำเงิน หมอไม่ค่อยเลือกไม่นิยมมากที่สุดก็คือ พยาธิ เราก็ได้คำแนะนำซึ่งหมอสนใจเกี่ยวกับการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ต้องยกให้ ท่านอดีตอธิการบดี ศาสตร์ตราจารย์ นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ ท่านคุยกับเรา 5 นาที แล้วบอกเราว่า หมอไม่น่าเป็นหมอพยาธิ หมอคลินิคตรวจเลือดตรวจฉี่ แต่หมอน่าจะเป็น พยาธิกายวิภาค ก็คือ ตรวจเนื้อ ตรวจศพ แต่ว่าตรวจศพมันจะเป็นสัก 10% ปรากฏว่าเรามาทำในส่วนนี้เป็น งานฝากในกระบวนการยุตธรรม เรารู้สึกเลยว่าก้นบึ้งของเราหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือเรื่องชอบสืบสวนสอบสวน อันที่สองคือ ชอบเรื่องความเป็นธรรม เราเห็นเลยว่ามันไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีคนทำงานเรื่องนี้ มันก็เลยทำให้เราต่อยอดจาก พยาธิกายวิภาคเป็นพยาธินิติเวช นั่นก็คือ ดูเรื่องศพ

สืบจากศพ ย้อนหาความยุติธรรม

พอไปดูเรื่องศพมันก็จะกลายเป็นพยานหลักฐานอื่นๆ เช่น เอารถมาให้ดูว่ารถคันนี้ใช่คันที่ทับเด็กเสียชีวิตไหม เราก็ต้องฝช้ ดีเอ็นเอ คนนี้กินยาอะไรไปจู่ๆ ไปตาย เราก็ต้องใช้เคมีพยาธิวิทยา ก็เลยเพิ่มออกมาเป็น นิติวิทยาศาสตร์ เพราะงั้นจุดเริ่มจริงๆ ไม่ได้มาเป็นเรื่องนี้เลย พอเราทำงานทำงานไปสักพัก เรารู้สึกว่างานของเรา คือที่ชอบจริงๆ และยังขาดแคลน คือ นิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง นิติเวช ด้วย ก็เลยมาเรียนด้านนี้

สืบจากศพ ในตอนแรกจะเป็นการสืบจากกายวิภาคและประวัติสั้นๆ แต่พอเป็น ศพคดี มันจะไม่ได้สืบจากศพอย่างเดียวแล้ว และเราต้องใช้สมาธิมากๆ เลยเพราะเราต้องเก็บหลักฐาน ยกตัวอย่าง ศพลอยน้ำเพศหญิง ใส่กางเกงในตัวเดียว แล้วถ้าเราไม่แกะกางเกงในเองเราก็จะไม่เห็นหลักฐานที่เป็นใบไม้เน่าๆ อยู่ใต้กางเกงใน แล้วศพลอยที่แม่น้ำน้ำเจ้าพระยา แล้วเราไม่เห็นศพทันที ศพถูกล้างไปก่อน เราก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าศพมันเปื้อนเมือก มีใบไม้เน่าๆ สิ่งเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่ในความรู้ทางพยาธิ แต่มันเป็นหลักฐาน มันต้องใช้ความช่างสังเกต และการประมวลผลของเราว่า ใบไม้เน่าๆ จะอยู่ในน้ำนิ่ง แต่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นน้ำใส เพราะงั้นถ้าตัวเปื้อนแมือก มีใบไม้เน่าๆ ผู้ตายก็น่าจะถูกฆ่าที่คูน้ำก่อนเอามาโยนแม่น้ำเจ้าพระยา นี่คือ งานนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งมันไม่ง่าย ต้องตั้งต้นจากความช่างสังเกตของเรา ใช้ความเร็วในการมอง นำทุกอย่างไปพิสูจน์ทราบขยายผลต่อ แล้วก็นำมาต่อร้อยเรียง

นิติวิทยาศาสตร์ไม่ง่าย

ไม่ง่ายอย่างแรกคือ อย่างแรกที่เราไป ณ จุดที่พบศพ เราไม่รู้ว่าเขาถูกกระทำหรือเปล่า แล้วเราจะหาหลักฐานได้อย่างไร เพราะการกระทำมันมีหลากหลาย เพราะฉะนั้นเหมือนเราต้องตั้งสมาธิ คำถาม ผู้ตายคือใคร ตายเพราะใคร ตายเมื่อไหร่ แบบนี้คือความไม่ง่ายแล้วเพราะคำตอบของแต่อย่างมันต้องนำมาซึ่งหลักฐานบางอย่าง ไม่ง่ายอย่างที่สองคือ บางครั้งเมื่อเราตรวจ เราอาจต้องใช้อุปกรณ์ แต่ก่อนอยู่ทางสายกระทรวงสาธารณสุข หรือ ทบวงมหาวิทยาลัย ที่ รามาธิบดี เขาไม่มีเครื่องมือให้หรอกเพราะงานพวกนี้มันเป็นงานฝาก ไม่ใช่งานรักษาคนเป็น เพราะงั้นถ้าเราอยากจะรู้ เราเจอเคสหนึ่ง ผู้ตายถูกฟัน ถูกเผา แต่สิ่งที่เราได้คือ กิ่งไม้ ที่นำมาเผาราดน้ำมันบนศพ กิ่งไม้นี้ต้องใช้ กล้อง สแกนนิ่งอิเล็กตรอนไทโรสโคป ความยากก็คือ อุปกรณ์เราพอไหม นอกจากอุปกรณ์เรามีผู้รู้สนับสนุนเราไหม เรามีผู้เชี่ยวชาญ

อย่างที่สามที่ยากก็คือ เราจะนำข้อมูลพวกนี้เพื่อที่จะดำเนินคดีถึงที่สุดกรณีถูกฆ่า เพราะเราพบว่า พนักงานสอบสวนในกรุงเทพฯ เขาคุ้นชินกับการทำคดีแล้วรอจนครบ 60 วัน ก็ไปรับรายงานมา แต่สำหรับเราอยู่ต่างจังหวัด ไม่ทำงานแบบนี้ อย่าง ผ่าศพปุ๊บ เราโทรหา ตำรวจวิ่งมาดูเพราะมันใกล้กัน แล้วก็เอาข้อมูลทำสามารถเชื่อมต่อได้รวดเร็ว แต่ตรงนี้ในกรุงเทพฯ ยากมาก เพราะตำรวจเขาทำคดีแล้วเขาก็จะไปละ พอเราเจอหลักฐานเราบอกเขา เขาก็จะรู้สึกว่าเกี่ยวอะไรด้วย เช่น กรณีของศพลอยน้ำที่เล่าให้ฟังในตอนต้น

พอเราบอกว่า ศพนี้น่าจะถูกฆ่ากดท้องร่อง อยู่เหนือกรุงเทพมหานครก็น่าจะ ปากเกร็ด บางโพ หรือเลยบางโพขึ้นไป ตรงนี้กลายเป็นสิ่งที่ตำรวจเขาไม่พอใจ เขาบอกว่าไม่ใช่หน้าที่คุณหมอ แต่เราพูดมาจากหลักฐานตอนที่เราตรวจศพมันเป็นช่วงน้ำลง เพราะฉะนั้นบางโพน้ำลงมันก็ต้องมาจากนนทบุรี ศพมันเปื้อนเมือกก็ต้องเป็นคูน้ำ ในความหมายคือ คุณก็ต้องไปทำหน้าที่ ต้องไปย้อนดูว่ามีใครแจ้งหายไหม เพราะศพมันยังใหม่อยู่

สิ่งนี้จึงเป็นอุปสรรคมากๆ และมากที่สุดในสิ่งนี้ คือพยานหลักฐาน ไม่ได้ถูกเอาไปใส่ในสำนวนหมด บางครั้งก็ทำแค่คร่าวๆ บางครั้งก็บิดมัน ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่า ความยุติธรรมมันไม่เกิด มันเหมือนกับหลายอย่างซื้อมันได้ คือ ความร่ำรวยกับอำนาจ

เราไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงานร่วมกับตำรวจ ไม่ใช่ว่าหมอเรื่องมากนะ ต่างประเทศเขาก็เป็นแบบนี้ ตำรวจต้องมา เราชอบความเป็นธรรมเพราะงั้นอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ได้มาเอาหลักฐานไป มันก็ไม่มีความเป็นธรรมเกิดขึ้น

มีหลักฐานแต่ไม่ใช้เพื่อความเป็นธรรมกับศพ

ถ้าเราผ่าช้า มันก็จะเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก แล้วก็เน่ามากเพราะฉะนั้นการผ่าศพเนี่ยเราจะถูกสอนให้ลงมือด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นตลอดชีวิตของหมอ หมอจะไม่ให้คนอื่นทำ เว้นเคสที่มันตรงไปตรงมา เพราะมันจะพลาดได้ อย่างเสื้อผ้าเราจะเห็นเลย มันจะมีหลักฐาน อย่างที่ยกตัวอย่าง เหยื่อผู้หญิงนุ่งกางเกงในตัวเดียว ถ้าเราไม่ปลิ้นกางเกงในออกดูด้วยตัวเอง เราก็จะไม่เห็นใบไม้เน่าๆ แล้วใบไม้เน่าๆ ก็ไปเหมือนในหลอดลม ซึ่งไม่เหมือนในแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งหมดถ้าไม่ทำด้วยตัวเอง ยืนดูเฉยๆ มันจะพลาดหมดเลย

ยังคิดถึงงานผ่าศพอยู่ไหม

ยังชอบงานพวกนี้ จริงๆ เส้นทางเราแทนที่จะไปทางแนวงานวิจัย มันกลายเป็นเส้นทาง พัฒนาระบบ พอมาพัฒนาระบบเราก็ไม่ได้มาทำงานด้านนี้ ซึ่งการทำงานด้านนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ มันฝึกเราทำให้เรารู้สึกคุ้นชินกับการทำงานที่เรียกว่า ปิดทองใต้ฐานพระ เดินอ้อมก็ไม่เห็นต้องพลิกมัน เพราะงั้นในชีวิตไม่เคยได้การตอบแทนใดๆ จากญาติหรืออะไรประมาณนั้น คำชมก็ด้วย ถือเป็นการฝึกธรรมะที่ดีที่สุด

จากการทำงานด้านผ่าศพแน่นอนมันบอกเราเรื่องการเข้าใจชีวิตว่าชีวิตเรามันก็เท่านี้เอง เพราะนั้นเราก็ไม่ควรไปยึดติดอะไรมากนัก นี่คือเรื่องทั่วๆ ไป อย่างที่สองที่การผ่าศพสอนเราก็คือ การทำความดีเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะทุกครั้งที่เราผ่าศพเนี่ยเราจะ ปุบปับตาย โดยที่เราไม่รู้เลย แล้วเราจะคิดได้เองว่าถ้าเราตายเนี่ย สิ่งที่เราคิดอย่างแรกเลยคือ เราไปอยู่ที่ไหน เพราะงั้นการผ่าศพจะสอนให้เราใช้ชีวิตให้มีค่า และที่สำคัญเฉพาะกับการทำศพ ผ่าศพคดีทางนิติเวช มันบอกได้เลยว่า ความยุติธรรมมันไม่อยู่ในโลก มันอยู่ที่ตัวเรา ที่เราจะเป็นคนทำ แล้วการที่เราหาความเป็นธรรมให้กับคนตาย เราก็ควรจะพอใจแล้วว่า เราได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดแม้มันจะไปไม่ถึง แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า ความยุติธรรมต้องอยู่ที่ตัวเราทุกๆ คนที่ควรทำ

Advertisement

แชร์
กว่าจะถึงยุติธรรม เมื่ออุปสรรคใหญ่ไม่ใช่ "คนตาย" แต่กลับเป็น "คนเป็น"