Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สรุปคดี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ฉบับเข้าใจง่าย

สรุปคดี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ฉบับเข้าใจง่าย

6 ก.พ. 68
16:12 น.
|
247
แชร์

สรุปคดี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ฉบับเข้าใจง่าย ใช้อำนาจในทางมิชอบ และรายงานการประชุมเท็จ ศาลจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา 

ภายหลังที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ ฟ้อง น.ส.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีจำเลยออกหนังสือแจ้งไปยังผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าใจว่า โจทก์เป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้รับอนุญาตอาจระงับเนื้อหารายการต่าง ๆ ที่บริษัทส่งไปออกอากาศ ส่อแสดงเจตนากลั่นแกล้งให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย 

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ถือเป็นกรณีตัวอย่างในการยกระดับมาตรฐานของคณะกรรมการกำกับดูแล (Regulator) ของประเทศไทย ในการใช้อำนาจทางกฎหมายอย่างระมัดระวัง หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำตัดสินเมื่อเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่กรรมการต้องตระหนักถึง Fiduciary Duty หรือความรับผิดชอบตามบทบาทกรรมการ ซึ่งครอบคลุมหน้าที่หลัก 4 ประการ ได้แก่ Duty of Care ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง Duty of Obedience ดำเนินการตามหลักความโปร่งใสและจริยธรรม Duty of Loyalty ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน Duty of Faith ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตใจ โดยคำตัดสินของศาลระบุว่า กรณีดังกล่าวเกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ รวมถึงการทำเอกสารเท็จ ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ว่าด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 

เนื่องจาก ดร.พิรงรอง ซึ่งเป็นคณะกรรมการ กสทช. และเป็นคณะอนุกรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ ได้ดำเนินการให้ระบุชื่อ ทรู ไอดี แจ้งไปที่สำนักงาน กสทช.เพื่อให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการช่องทีวี 127 แห่ง โดยที่รู้อยู่แก่ใจว่า กสทช. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจ OTT และมีผู้ทักท้วงในที่ประชุมแล้ว จึงถือเป็นการจงใจกลั่นแกล้งให้ทรู ไอดี ได้รับความเสียหาย 

ทั้งนี้ในการบันทึกรายงานการประชุมครั้งแรกมิได้ให้ระบุชื่อทรู ไอดี ลงในหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการช่องทีวีแต่อย่างใด แต่ต่อมา ดร.พิรงรอง ได้มีการทักท้วงในที่ประชุมว่าทำไมถึงไม่ระบุชื่อ ทรู ไอดี ให้ชัดเจน ทั้งที่ ในที่ประชุมมีการทักท้วงเรื่องการระบุชื่อทรูไอดีแล้ว หลังจากหนังสือแจ้งถูกส่งออกไปแล้ว มีการแก้ไขรายงานการประชุมในภายหลัง ซึ่งไม่ได้เป็นมติของที่ประชุม ถือเป็นการทำรายงานการประชุมเท็จ และเป็นการกระทำโดยเจตนา ส่งผลให้ ทรู ไอดี ได้รับความเสียหาย

Advertisement

แชร์
สรุปคดี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ฉบับเข้าใจง่าย