Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อึ้ง! เปิดตัวเลขไทยแบก ค่ารักษาพยาบาลคนต่างด้าวสูงเว่อร์

อึ้ง! เปิดตัวเลขไทยแบก ค่ารักษาพยาบาลคนต่างด้าวสูงเว่อร์

27 ก.พ. 68
15:01 น.
แชร์

อึ้ง! สภาพัฒน์ฯ เผยไทยแบกค่ารักษาพยาบาล คนต่างด้าวสูงเกือบ 1 แสนล้าน ขณะที่ สธ.โร่แจง บอกตัวเลขจริง 2,500 ล้านบาทต่อปี ใน 31 จังหวัดชายแดน 

วันที่ 27 ก.พ. 68 รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่รายงาน เรื่อง “ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2567” หัวข้อ “คนต่างด้าวกับระบบสาธารณสุขชายแดน” ระบุว่า 

ระบบสาธารณสุขของไทย ถือเป็นระบบที่มีศักยภาพการรักษาและการให้บริการที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านชายแดน ทำให้มีคนต่างด้าวเข้ามาใช้บริการการรักษาในไทยเป็นจำนวนมากถึง 3.8 ล้านครั้ง ในปีงบประมาณ 2567 เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เรียกเก็บไม่ได้จากคนต่างด้าวในพื้นที่ชายแดน กลับพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

โดยในปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าถึง 9.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 ถึง 8.2 เท่าตัว ซึ่งกว่าร้อยละ 81.1 ของมูลค่าดังกล่าวมาจากพื้นที่ชายแดนไทย - เมียนมา โดยเฉพาะ จ.ตาก สถานการณ์ข้างต้น จึงสร้างความกังวลกับคนไทยในหลายด้าน 

จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยบริการสาธารณสุขของจังหวัดตากที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเมียนมา พบข้อเท็จจริง ดังนี้ 1) ชายแดนประเทศเมียนมาที่ติดกับ จ.ตากขาดแคลนสถานพยาบาล ทำให้คนต่างด้าวจำเป็นต้องข้ามแดนเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย ส่วนใหญ่มารักษาเมื่อมีอาการป่วยหนักและมีฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้ 

2) คนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิในการรักษา และมารับบริการสาธารณสุขในประเทศไทย บางส่วนเป็นคนที่เกิดในประเทศไทย และควรจะได้รับสิทธิกองทุน ท.99 (สิทธิบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ์) 

3) โรงพยาบาลชายแดนไทยต้องเป็นด่านหน้าในการรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อร้ายแรงไม่ให้ระบาดในประเทศ ซึ่งหลายกรณีแพทย์ตามโรงพยาบาลชายแดนจำเป็นต้องไปตรวจรักษาและให้บริการในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค 

สาเหตุข้างต้นทำให้เกิดผลกระทบที่โรงพยาบาลชายแดนต้องแบกรับ ทั้งภาระในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ รวมถึงภาระทางการเงินของโรงพยาบาลชายแดนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลชายแดนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ล่าสุดที่กระทรวงสาธารณสุข นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ข้อมูลตัวเลขดังกล่าวมีความผิดพลาด  เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้เงินไปถึง 92,000 ล้านบาทในการดูแลคนต่างด้าว เพราะภาพรวมของงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนไทยหรือบัตรทอง 30 บาท ก็อยู่ที่เพียงปีละราว 150,000 ล้านบาท ตัวเลขที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไม่สามารถเก็บเงินกรณีรักษาต่างด้าวได้เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 2,565 ล้านบาท โดยเพิ่มสูงไปที่ 3,500 ล้านบาทในปี 2564 และปี 2565ที่มีสถานการณ์โควิด19ระบาด ส่วนข้อมูลปีล่าสุดที่เห็นอยู่ที่ 2,054 ล้านบาท 

ด้านนพ.สวัสดิ์ชัย นวกิจรังสรรค์วร ผอ.กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า เป็นข้อมูลดิบที่ต้องมาตรวจสอบข้อมูลกันก่อน เพราะบางครั้งเราคีย์ข้อมูลเคสหนึ่งเป็นพันล้านบาท ก็จะต้องมาตรวจสอบกันก่อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่กระทรวงสาธารณสุขใช้เรียกเก็บจากประชากรต่างด้าวไม่ได้ ย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยปีละประมาณ 2,500 ล้านบาทต่อปี ใน 31 จังหวัด เฉลี่ยจังหวัดละ 66.25 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่ตัวเลขที่กระทรวงสาธารณสุขต้องอนุเคราะห์ทั้งหมด แต่จะมีบางส่วนที่มีองค์กรนานาชาติ เอ็นจีโอนานาชาติสนับสนุนบางส่วน บางส่วนเป็นการบริหารจัดการขอโรงพยาบางแต่ละแห่ง เช่น เปิดคลินิกนอกเวลา หรืออื่นๆ เพื่อนำรายได้มาดูแลตรงนี้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจะดูอยู่ เช่น  เรื่องการควบคุมสุขาภิบาล เรื่องโรคระบาดต่างๆ จำเป็นต้องให้การรักษา และรักษาตามหลักสิทธิมนุษยชน

Advertisement

แชร์
อึ้ง! เปิดตัวเลขไทยแบก ค่ารักษาพยาบาลคนต่างด้าวสูงเว่อร์