Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จักรอยเลื่อนสะกาย ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา เหตุ แผ่นดินไหวเขย่าไทย

รู้จักรอยเลื่อนสะกาย ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา เหตุ แผ่นดินไหวเขย่าไทย

28 มี.ค. 68
15:17 น.
แชร์

รู้จัก "กลุ่มรอยเลื่อนสะกาย" ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา ศูนย์กลางแผ่นดินไหวสะเทือนไกลถึงไทย

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเวลา 13.20 น.ของวันที่ 28 มีนาคม ความรุนแรงขนาด 8.2 ระดับลึก 10 กม. ซึ่งศูนย์กลางอยู่อยู่ที่ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 326 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ของประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาที่ระดับ 7.1 และยังคงเฝ้าติดตามเป็นระยะ

กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมว่า เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว สาเหตุเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ของเมียนมา

สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้น ๆ ในแถบประเทศอาเซียน มิตรเอิร์ธ - mitrearth ระบุว่า รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา

นอกจากนี้ รอยเลื่อนสะกาย ยังถูกขนานนามว่าเป็น "ทางด่วนรอยเลื่อนแผ่นดินไหว" เนื่องจากมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกิดแผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อความเร็วการแตกของแผ่นดินไหวเกิน ความเร็ว คลื่น S และอาจไปถึงความเร็วคลื่น P การแตกที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความเสียหายมหาศาลได้ รูปทรงที่ค่อนข้างตรง ของรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรูปทรงยาวต่อเนื่อง รอยเลื่อนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ แผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูงจึงอาจส่งผลกระทบร้ายแรง

รอยเลื่อนสะกาย เคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้งในเมียนมา เช่น พ.ศ. 2455 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ส่งผลให้เจดีย์สำคัญพังทลายแรงสั่นสะเทือนครั้งนั้นสามารถรับรู้ได้ถึงภาคเหนือ และพื้นที่ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2473 ยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ที่เมืองพะโค ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน

ทั้งนี้ จากข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2566 พบรายงานว่า รอยเลื่อนสะกาย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9-7.0 อย่างน้อย 668 ครั้ง และนักธรณีวิทยาประเมินว่า ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า มีโอกาสที่รอยเลื่อนนี้จะมีพลัง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดสูงสุดถึงระดับ 7.5 เนื่องจากรอยเลื่อนนี้ยังมีพลังที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตมาแล้ว

Advertisement

แชร์
รู้จักรอยเลื่อนสะกาย ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา เหตุ แผ่นดินไหวเขย่าไทย