Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
"ทนายตั้ม" เผย เหล็ก Tempcore นิยมใช้มากเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เติบโต

"ทนายตั้ม" เผย เหล็ก Tempcore นิยมใช้มากเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เติบโต

4 เม.ย. 68
15:49 น.
แชร์

"ทนายตั้ม" เผย เหล็ก Tempcore นิยมใช้มากเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เติบโต ยอมรับ อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยสู้ประเทศจีนไม่ได้

นายเกรียงไกร อินทจันทร์ หรือ ทนายตั้ม ผู้บริหารบริษัท วี บียอนด์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัดมหาชน ในฐานะผู้บริหารบริษัทเหล็กในประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ กรณีผลกระทบจากกลุ่มทุนจีน ที่ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กประเทศไทยเสียเปรียบทางการค้า และเพราะเหตุใดเหล็กจีนบางส่วนจึงไม่ได้มาตรฐาน โดยระบุว่า อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย เดิมทีจะผลิตเหล็กเองเพียงไม่กี่เจ้า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเหล็กมาจากต่างประเทศ โดยจะมีทั้งในส่วนของตะวันออกกลาง หรือ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งแต่ละในประเทศคุณภาพก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งเนื้อเหล็ก แร่ที่นำมาผลิต รวมถึงกรรมวิธีในการผลิตเหล็ก ซึ่งมี 2 กรรมวิธีผลิตเหล็ก คือแบบเก่าที่เป็นการขึ้นแท่งเหล็ก นำมาวางไว้ให้เหล็กเย็นตัว ซึ่งเหล็กจะค่อยๆเย็นตัวและประสานเป็นเนื้อเดียวกัน

ส่วนอีกกรรมวิธีผลิตเหล็กคือแบบ Tempcore โดยจะมีสัญลักษณ์ที่เหล็กเป็นตัว T อยู่ที่เหล็ก ซึ่งกรรมวิธีผลิตเหล็กแบบ Tempcore นั้น ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อย จึงทำให้ผลิตเหล็กได้มากเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวนั้นสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้แต่จะต้องผ่านมาตรฐานของ มอก. โดยปัจจุบันพบว่าส่วนมากจะนิยมใช้กรรมวิธีผลิตเหล็กแบบ Tempcore มากกว่า เนื่องจากแบบเก่าใช้เวลานาน

นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยนั้น ต้องยอมรับว่าเราสู้จีนไม่ได้ เนื่องจากนโยบายการค้าของจีนที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตส่งสินค้าออกนอกประเทศรวมถึงการตั้งโรงงานในต่างประเทศนั้น ทางรัฐบาลจีนจะส่งเสริมในเรื่องการลดหย่อนภาษี ในขณะที่สินค้าจีนหรือวัตถุดิบที่นำเข้าไทย จะมีสนธิสัญญาบางตัวที่ทำให้สินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าปลอดภาษี ทำให้ผู้ผลิตจีนหรือผู้นำเข้าจีนสามารถกดราคาลงต่ำได้กว่าผู้ประกอบการไทยหรือผู้นำเข้าไทย ซึ่งต่างจากนโยบายการค้าของไทย ต่อให้ผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตต้องการวัตถุดิบที่มาจากต่างประเทศก็ต้องเสียภาษีอยู่ดี ทำให้มีต้นทุนรวมสูงกว่า เมื่อเข้าไปประมูลงานทางภาครัฐก็ไม่สามารถสู้ราคาได้เหมือนกับผู้ที่ใช้วัตถุดิบจากจีน

นอกจานี้ในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่า ตึกสูงขนาดนี้ควรใช้เหล็กจากกรรมวิธีแบบเก่า เพราะมีความเหนียวและแน่นกว่า สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าด้วย

ส่วนประเด็นที่ผู้ประกอบการจีนพยายามจี้ให้กระทรวงอุตสาหกรรมนำตัวอย่างเหล็กจากโรงงานไปตรวจที่สถาบันยานยนต์ด้วยนั้น ส่วนตัวมองว่า ไม่เข้าใจจุดประสงค์ของผู้ประกอบการเหมือนกัน เพราะที่จริงแล้วสถาบันยานยนต์ ถึงแม้จะมีอำนาจในการตรวจเหล็กเพื่อขอออกมอก. แต่อย่าลืมว่าสถาบันยานยนต์นั้นตรวจเหล็กเพื่อนำไปผลิตรถยนต์ ซึ่งต่างจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยที่ตรวจคุณภาพเหล็กโดยตรง

และจากประสบการณ์ที่ครอบครัวทำธุรกิจเหล็กมานาน ส่วนตัวค่อนข้างเชื่อมั่นเหล็กที่มาจากตะวันออกกลางมาก เนื่องจากวัตถุดิบแร่โมเลกุลของเหล็กแตกต่างกัน ประกอบกับการควบคุมคุณภาพของเหล็กค่อนข้างมีคุณภาพสูง

นอกจากนี้ยังมองว่าเหล็กที่ส่งมาจากจีนก็อาจจะไม่ได้เป็นเหล็กที่ผลิตในจีนทั้งหมด ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการสั่งเหล็กมาจากที่อื่นแล้วนำเข้ามาที่ประเทศจีนก่อนจะส่งเข้าประเทศไทย เนื่องจากการส่งจากประเทศจีนไม่เสียภาษี ก็เป็นไปได้ว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้ผ่านการผลิตจากจีนโดยตรง

จากเหตุการณ์ดังกล่าว อาจจะต้องมีการตรวจสอบอีกในหลากหลายประเด็น จึงอยากฝากสื่อมวลชน ให้ช่วยติดตาม หากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายการค้าของรัฐบาล ทำให้ผู้ค้าในต่างประเทศ อาศัยสนธิสัญญาการค้าไม่เสียภาษี เข้ามาทำธุรกิจโดยที่ผู้ประกอบการไทย ไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งรัฐบาลควรจะมีการพิจารณาสิ้นค้าปลอดภาษี เป็นรายธุรกิจหรือเป็นรายตัวสินค้า ไม่ใช่การเปิดโอกาสให้ทุกสิ้นค้า เจ้ามาค้าขายโดยปลอดภาษีทั้งหมด หรือเรียกได้ว่ามาค้าขายเปรียบเสมือนคนไทยคนหนึ่ง

Advertisement

แชร์
"ทนายตั้ม" เผย เหล็ก Tempcore นิยมใช้มากเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เติบโต