บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ “FSMART” เจ้าของตู้ “บุญเติม” และตู้เต่าบิน และอนาคตจะรวมไปถึงตู้ชาร์จรถ EV ในแบรนด์ ‘กิ้งก่า ชาร์จพ้อยท์’ อีกด้วย FSMART ได้กลายเป็น 1 ในบริษัทที่ถูกจับตามองอย่างมาก เพราะความเป็นผู้นำตู้อัตโนมัติที่สร้างนวัตกรรมแปลกใหม่ในตลาด โดยล่าสุดประกาศผลการดำเนินงานปี 2565 ออกมายังคงมีกำไรแต่ปรับลดลงจากปี 2564
โดยผลประกอบการปี 2565 ของFSMART บริษัทมีรายได้จากธุรกิจหลักรวม 2,238.6 ล้านบาท ลดลง 16.5 % จากปี 2564 ที่ 2,679.35 ล้านบาท ขณะที่กำไรปี 65 อยู่ที่ 301.9 ล้านบาท ลงลง 24.5% จากปี 2564 อยู่ที่ 400.06 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.16 บาท รวมเป็นเงิน 121 ล้านบาท จากผลประกอบการครึ่งหลังปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 ถึง 31 ธ.ค. 2565 โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) ในวันที่ 9 มีนาคม 2566 พร้อมจ่ายเงินปันผลในวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ บริษัทได้มีการจ่ายเงินปันระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท จากผลประกอบการ 6 เดือนแรกไปเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2565 ทำให้ปี 2565 บริษัทมีการจ่ายเงินปันผลรวม 0.36 บาทต่อหุ้น
ธุรกิจตู้บุญเติม ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 129,918 ตู้ทั่วประเทศ มูลค่าการทำรายการผ่านตู้บุญเติม อยู่ที่ 35,862 ล้านบาทต่อเดือนซึ่งลดลงจากปี 2564 เพราะได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงพร้อมกับการผลักดันของผู้ให้บริการให้ลูกค้าเปลี่ยนจาก Prepaid เป็น Postpaid รวมถึงการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นปัจจัยที่ทำให้บริการเติมเงินมือถือลดลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมุ่งตอบโจทย์ด้วยบริการเติมอินเตอร์เน็ตแพ็คเกจให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้า ศักยภาพและมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่จาก 3 ช่องทางบริการ ทั้งตู้บุญเติม เคาน์เตอร์แคชเชียร์ และแอปพลิเคชัน บริษัทมีการเพิ่มบริการอย่าง ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริการเติมเงินมือถือและรับชำระบิลต่าง ๆ
สำหรับ บริการเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) มูลค่าเติมเงิน จำนวน 7,329 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 6.6% ซึ่งสะท้อน ความสะดวกสบายในการใช้บริการผ่านบุญเติมที่เข้าถึงได้ในทุกชุมชน
สำหรับธุรกิจเติมเงินและรับชำระเงินที่เป็นธุรกิจหลัก บริษัทเชื่อว่าจะมีมูลค่าใช้บริการผ่านระบบบุญเติมเพิ่มขึ้น 5-10% จากปีก่อน ด้วยฐานลูกค้าขนาดใหญ่ใช้บริการประมาณ 15 ล้านรายใช้งานผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ผ่านทุกแพลตฟอร์มบริการของบุญเติม พร้อมกิจกรรมทางการตลาดในการสร้างการรับรู้และใช้บริการบุญเติมอย่างสม่ำเสมอ โดยในปีนี้จะเพิ่มตู้บุญเติม Mini ATM ให้ลูกค้าในชุมชนได้ทำธุรกรรมทางการเงินฝาก ถอนเงินได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งจะเพิ่มเติมบริการใหม่ๆในตู้บุญเติมที่ให้บริการกว่า 130,000 จุด นอกจากนี้ ยังมองหาช่องทางเพิ่มจุดให้บริการเคาน์เตอร์แคชเชียร์เพื่อบริการรับชำระบิล-เติมเงินเพิ่มเติม จากปัจจุบันร่วมกับพันธมิตรกลุ่มเซ็นทรัลในนาม “CenPay powered by บุญเติม” และเคาน์เตอร์ในเครือบิ๊กซี ทั้งบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต และมินิบิ๊กซี รวมทั้งหมดกว่า 3,000 จุดบริการ นอกจากนี้ ยังมีบริการที่ครบครันทั้งเติมเงิน ชำระเงิน โอนเงิน ไปจนถึงบริการทางด้านสินเชื่อ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มีกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอด้วย
สำหรับตู้เต่าบิน ณ ปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,942 ตู้ทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 มาก ถึง 4,396 ตู้ หรือมากกว่า 800% โดยมียอดขายเฉลี่ยในไตรมาส 4/2565 อยู่ที่44,574 บาท ต่อเดือน หรือ 46แก้วต่อตู้ต่อวัน ลดลงจากปี 2564 5.9% ที่ 47,379 ล้านบาทต่อเดือน สาเหตุเพราะการเร่งขยายจำนวนตู้เต่าบินให้ได้ตามแผน ซึ่งอาจเจอบางพื้นที่ที่ยอดขายไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดทางบริษัทก็สามารถย้ายไปตั้งที่ทำเลใหม่ได้ และผลกระทบจากฤดูกาล ฤดูร้อนขายดีกว่าฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งบริษัทมีความเชื่อมั่นว่าจะ สามารถบริหารยอดขายเฉลี่ย50แก้วต่อตู้ต่อวันได้ตามเป้าหมายอย่าง แน่นอน
ทั้งนี้เต่าบินยังคงเดินหน้ารังสรรค์เมนูใหม่ให้เข้ากับเทศกาลและลูกค้าได้ทดลองเมนูใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่ หลากหลายสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงการมีแคมเปญร่วมกับลูกค้าใน การร่วมใช้สิทธิ์กับพารท์เนอร์สำหรับแลกส่วนลดต่างๆ เต่าบินให้ลูกค้าร่วมสะสมกระดองเต่าหลังรับเครื่องดื่มเพื่อไปแลกรับแก้วฟรีต่อไปเพื่อการกระตุ้นการใช้งานเพิ่มขึ้นของลูกค้าประจำและเป็นการเพิ่มลูกค้า กลุ่มใหม่ขึ้นอีก
บริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจร ผ่านการเป็นตัวแทนธนาคาร 8 ธนาคาร ที่ให้บริการทั้งฝาก-โอน-ถอนเงินสดผ่านตู้บุญเติม และ e-KYC ณ สิ้น ปี 2565 จำนวนรายการฝาก-โอนเงินผ่านตู้บุญเติม มีจำนวนรายการเฉลี่ย 1.5 ล้านรายการต่อเดือน จากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าจากวิกฤตเงิน เฟ้อที่ทำให้ลูกค้าระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและบางส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่รุนแรงมากกว่าปกติในช่วงฤดูฝน
อย่างไรก็ตามบริษัทได้มีการเพิ่มบริการฝาก-โอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพในไตรมาส 4/2565 อีก 1 ธนาคาร สะท้อนถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นธนาคารชุมชนที่มีบริการที่ครบครันอย่างแท้จริง อีกทั้งบริษัทร่วมกับ 3 ธนาคาร (KBANK KTB BAY) เปิดบริการฝาก-โอนแก่บุคคลต่างด้าวที่มีบัญชีในประเทศ เพื่อ เพิ่มศักยภาพในด้านบริการทางการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ธุรกิจสินเชื่อ ณ วันสิ้นงวด มียอดการให้สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 263 ล้าน บาท มีรายได้ดอกเบี้ย 25.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 88.6 % เมื่อเทียบกับปีที่ ผ่านมา เนื่องจากการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วน บุคคลในกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เติบโตอย่างมาก จากการให้ปล่อยสินเชื่อ ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งบริษัทมุ่งเน้นการให้สินเชื่อแก่กลุ่มลูกค้าที่มีความ น่าเชื่อถือและอยู่เป็นหลักแหล่งทำให้การควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) “FSMART” ผู้นำเครือข่ายอัตโนมัติและการเงินครบวงจร ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ภายใต้ชื่อ “บุญเติม” เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานปี 2566 บริษัทคาดการณ์งบลงทุนไว้ประมาณ 1,500 ล้านบาทเพื่อขยายทุกช่องทางทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ ทั้งกลุ่มธุรกิจเติมเงิน และรับชำระเงิน, กลุ่มธุรกิจการเงินครบวงจรและตัวแทนธนาคาร (ฝาก ถอน โอนเงิน) รวมถึงกลุ่มธุรกิจเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (Vending Machine) ที่เป็นธุรกิจอนาคต S Curve อย่างตู้เต่าบิน Robotic Barista
ล่าสุดกับ GINKA Charge Point เรือธงใหม่ของบริษัท ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากการเปิดตัวต้นแบบก่อนหน้านี้ และอยู่ระหว่างการผลิตเชิงพาณิชย์ช่วงเดือนเมษายน เพื่อติดตั้งขยายจุดบริการ 5,000 จุดในปีนี้ ตามแผนโมเดลธุรกิจร่วมธุรกิจกับเจ้าของพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ เช่น คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล ลานเช่าจอดรถ ลานจอดในตลาด ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น เชื่อว่าธุรกิจจะสร้างโอกาสและรายได้ให้กับบริษัทเป็นอย่างดีในระยะยาว
จากแผนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมดคาดว่าจะส่งเสริมให้บริษัทมีอัตราการเติบโตโดยรวมไม่น้อยกว่า 5-10% และอาจจะส่งผลทำให้สัดส่วนรายได้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง โดยกลุ่มธุรกิจเติมเงิน และรับชำระเงิน กลุ่มธุรกิจตัวแทนธนาคารและการให้สินเชื่อ และกลุ่มธุรกิจเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าจากปี 2565 อยู่ที่ 70 27 : 3 จะปรับเป็นที่ประมาณ 55 : 35 : 10 ในปี 2566 โดยกลุ่มธุรกิจเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นธุรกิจที่ส่งช่วยส่งเสริมรายได้ที่ดีให้กับบริษัทในอนาคต