เต่าบิน ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติที่โด่งดัง กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวของยอดขาย สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้ FSMART ปรับกลยุทธ์ใหม่เน้นไปที่การอัพเกรดตู้เวอร์ชั่นใหม่และวางตู้ในทำเลที่มีศักยภาพ
FSMART เปิดเผยผลประกอบการปี 2566 แม้จะทำกำไรสุทธิ 299.45 ล้านบาท ด้านรายได้จากการให้บริการผ่านเครื่องรับชำระเงินอัตโนมัติรายได้รวมเท่ากับ 1,606.28 ล้านบาท ลดลง 3.4% เปรียบเทียบกับปีก่อน ฝั่งยอดขายตู้เต่าบินในไตรมาส 4/66 หดตัว 12.5% จากไตรมาสก่อน ขายได้เพียง 524 ล้านบาท ลดลง 75 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 3/2566 หรือขายได้ 18.02 ล้านแก้ว เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3/2566 ที่ 20.20 ล้านแก้ว ทำให้ลดลง 2.18 ล้านแก้ว
ไตรมาส | จำนวนตู้ | ยอดขาย (ล้านบาท) | จำนวนแก้ว (ล้านแก้ว) |
เฉลี่ยต่อวัน (แก้ว/วัน)
|
1/66 | 5,537 | 575 | 18.59 | 202,065 |
2/66 | 6,142 | 592 | 19.56 | 212,608 |
3/66 | 6,657 | 599 | 20.2 | 219,565 |
4/66 | 6,392 | 524 | 18.02 | 195,870 |
ภาพรวมทั้งปี 2566 ตู้เต่าบิน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเติบโตดังกล่าว เป็นผลมาจาก ฐานปีที่แล้ว ซึ่งตู้เต่าบินมีจำนวนตู้เพียง 4,952 ตู้ เมื่อพิจารณายอดขายเฉลี่ยต่อตู้ พบว่า ไตรมาส 4/66 ตู้เต่าบินมี ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 195,870 แก้ว ลดลง จากไตรมาส 3/66 ซึ่งอยู่ที่ 219,565 แก้ว
สาเหตุหลัก มาจาก สภาพอากาศปลายฝนต้นหนาว ประกอบกับ ฝุ่น pm 2.5 และ เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้คนออกมาจากบ้านน้อยลง สัญญาณเตือน นี้ สะท้อนให้เห็นถึง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อ กำลังซื้อ ของผู้บริโภค โดยเฉพาะ ภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ปี 2567 FSMAR จะเน้นไปที่การอัพเกรดตู้เวอร์ชั่นใหม่และวางตู้ในทำเลที่มีศักยภาพ สำหรับกลยุทธ์ใหม่อีกตัวที่น่าจับตามอง คือ การเปิด"เต่าบินคาเฟ่" เคาน์เตอร์อัตโนมัติ 24 ชั่วโมงโดยจะจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในปั๊มอีวี GINKA Point คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ไตรมาส 3 ปี 2567 การต่อยอดธุรกิจ ครั้งนี้จะเป็นการทดสอบกลยุทธ์ใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าและสร้างรายได้เพิ่มเติม
ด้านธุรกิจเติมเงินที่เป็นรายได้จากธุรกิจหลักยังคงรักษาระดับธุรกิจหลักไว้ได้ แม้เผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ายได้จากธุรกิจหลัก ประกอบด้วยบริการเติมเงินโทรศัพท์ระบบเติมเงินล่วงหน้า รับชำระเงินออนไลน์ ฝาก-โอนเงิน และบริการอื่นๆ อยู่ที่ 457.99 ล้านบาท ลดลง 22.8% เปรียบเทียบกับปีก่อนปัจจัยหลัก มาจากกำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม FSMART ยังคงรักษายอดใช้บริการฝาก-โอนเงินไว้ได้มากกว่า 1.5 ล้านครั้งต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 9,707 ล้านบาทสะท้อนถึง ความสะดวกสบายในการใช้บริการผ่านช่องทางของ FSMART และยังมีความต้องการบริการนี้อยู่สูง
ส่วนรายได้จากการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือ อยู่ที่ 14.03 ล้านบาท และรายได้ดอกเบี้ย อยู่ที่ 38.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.5% เนื่องมาจาก การเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ และโปรแกรมทางการขายต่างๆ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า FSMART คาดการณ์ว่ารายได้จากธุรกิจหลักจะทรงตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น และบริษัทฯ ยังคงรักษายอดการใช้บริการและฐานลูกค้าได้อย่างมั่นคง