“เต่าบิน” ตู้บริการค่าเฟ่อัตโนมัติ ที่เป็นที่ฮือฮา ตั้งแต่ปี 2564 ว่า สามารถชงกาแฟ ชา น้ำดื่มต่างๆ ที่มีรสชาติดี มีเสถียรภาพ ในราคาที่ย่อมเยา เข้ากับภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนต้องอยู่กันห่างๆ อย่างห่วงๆ
วันนี้ FSMART ผู้ให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Pre-paid) และบริการชำระเงินออนไลน์ ผ่านเครื่องรับชำระเงินอัตโนมัติ (ตู้เติมเงิน) ภายใต้เครื่องหมายการค้า "บุญเติม" ถือหุ้นในบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด (FVD) ถือหุ้นอยู่ 26.71% ผู้ให้บริการคาเฟ่อัตโนมัติ “เต่าบิน” มีแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยภายสิ้นปีนี้
“ ปัจจุบันเต่าบินมีกว่า 200 เมนู เชื่อว่าอีกไม่นานแตะ 300 เมนู เป็นเรื่องของหุ่นยนต์ ระบบ AI ในการทำงาน ในเรื่องของคุณภาพ รสชาต ความนิ่ง และเรื่องของการทำงานเมนูใหม่ และการใช้จ่ายเงินค่อนข้างง่าย สะดวก เป็นนวัตกรรมใหม่ของกลุ่ม FORTH ซึ่ง “เต่าบิน” บริหารงานโดยบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง ซึ่งมีแผนเข้าตลาดหลักทร้พย์ภายในสิ้นปีนี้” นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART กล่าวในรายการ Opportunity Day
โดยในปี 2565 มีจำนวนตู้ “เต่าบิน” ทั้งสิ้น 4,942 ตู้ทั่วประเทศ โดยมียอดขายเฉลี่ยในไตรมาส 4/2565 อยู่ที่ 44,574 บาท/เดือน หรือ 46 แก้ว/ตู้/วัน ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 4 ล้านราย ในไตรมาส 4 /2565 มียอดขาย 550 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี (65-67) จะมีตู้เต่าบินจำนวน 20,000 ตู้ ครอบคลุมทั่วประเทศ วันละ 50 แก้ว/ ตู้ ทำให้ภาพรวมมียอดขายได้วันละ 1 ล้านแก้ว ปีหนึ่งยอดขายหมื่นล้าน
ปี 65 “เต่าบิน” มีตู้เกือบ 5,000 ตู้ ยอดขายประมาณ 1,500 ล้านบาท ถือหุ้นบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด (FVD) 26.71% โดยตลาดเครื่องดื่มมีมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ถ้า “เต่าบิน” ขายได้วันละ 1 ล้านแก้ว ก็จะมีรายได้ประมาณ ปีละหมื่นล้านบาท คิดเป็นประมาณ 4% ของมูลค่าตลาดเครื่องดื่มรวม ถือว่ามีความเป็นไปได้
โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น ยอดขายที่จะขายดี คือ หน้าร้อน แต่หน้าฝน และหน้าหนาวยอดขายจะลดลง แต่ยังมองว่าทำเลในการตั้งตู้ “เต่าบิน” ยังสามารถติดตั้งได้อีกเยอะ
ปี 2566 ตั้งเป้ามีตู้ “เต่าบิน” อีก 5,000 ตู้ เพื่อให้สิ้นปี 2566 มีตู้ “เต่าบิน” 10,000 ตู้ และปีนี้ตั้งงบการตลาดไว้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เพื่อจะให้คนรับรู้แบรนด์ “เต่าบิน” มากขึ้น และกระตุ้นให้กับผู้บริโภคมาใช้บริการซ้ำมากขึ้น ปีที่แล้วมียอดขาย 1,500 ล้านบาท ปีนี้ถ้าสิ้นปีมี 10,000 ตู้ คาดว่ายอดขายปีนี้น่าจะทำได้ 3,000 ล้านบาท ส่วนกำไรปีนี้แต่ละไตรมาสจะตามความเป็นจริง หลังจากช่วงที่ผ่านมามีการปรับมาตรฐานบัญชี เพื่อเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์
สำหรับอีกธุรกิจหนึ่งที่จะเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ FSMART คือ GINKA Charge Point ผู้ให้บริการ “กิ้งก่า EV” ตู้ชาร์จ EV ที่คาดว่า ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะเพิ่มสูงขึ้นภายใน 3 ปี คาดว่าจะมีผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแตะเกือบ 1 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ตั้งเป้าจะขยายจุดติดตั้ง GINKA Charge Point อีกจำนวน 5,000 จุด ซึ่งปีนี้ FSMART จะใช้งบลงทุน 1,000-1,500 ล้านบาท ในการขยายจุดติดตั้ง GINKA Charge Point 5,000 จุด วงเงินให้บริการสินเชื่อ และตู้ Mini AMT และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การขยายจุดติดตั้ง GINKA Charge Point 5,000 จุดในปีนี้ มองว่าสามารถทำได้ เนื่องจากบริษัทจะทำในรูปแบบการร่วมลงทุนกับเจ้าของสถานที่ เริ่มคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า สนามกอล์ฟ โรงแรม และตั้งเป้า 15,000 จุดภายใน 2-3 ปี
“ เราเอาเครื่องไปติดตั้ง ดูแลเรื่องการขายให้หมด ปัญหาการให้บริการที่ชาร์จไฟ ปัญหาเรื่องที่จอดรถ ระบบซอร์ฟแวร์ ระบบล็อคล้อ อีก 2 เดือน มีระบบบริหารที่จอดรถออกมาเพื่อแก้ปัญหาการที่ผู้ใช้จอดรถทิ้งไว้นาน หรือตั้งเวลาชาร์จนานเกินไป” นายณรงค์ศักดิ์กล่าว
สำหรับในอนาคตมีโอกาสที่จะนำจุดแข็งกิ้งก่าและเต่าบินมารวมกันได้ปี 2567 เช่น ในปั้มน้ำมันอาจจะเอาเต่าบินมาคลี่ออกมาและเป็นที่ชาร์จ EV ได้ด้วย เอามารวมกัน ซึ่งมีแนวความคิดว่า ตู้ "เต่าบิน" จะมีมากกว่าเครื่องดื่ม อาจจะเป็นก๋วยเตี๋ยว ก็เป็นได้
ปีนี้และปีหน้า เราน่าจะได้เห็นอะไรดีๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ของ FSMART ทั้งของ “เต่าบิน” และ “กิ้งก่า EV” ที่จะช่วยให้เราสะดวก สบายมากขึ้น ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ตอบโจทย์ของคนยุคดิจิทัล