‘ปังชา’ กลายเป็นหนึ่งที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดในสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากเพจ Facbook ร้านลูกไก่ทอง ได้โพสว่า ทางแบรนด์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark) "ปังชา" ภาษาไทย และ "Pang Cha" ภาษาอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ประกอบด้วย จดทะเบียนลิขสิทธิ์, จดทะเบียนสิทธิบัตร เรียบร้อยแล้ว
โดยระบุว่า ‘สงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และ สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย’
SPOTLIGHT มาพาทุกคนมาเปิดประวัติเมนูปังชา น้ำแข็งใส รสชาไทยชื่อดัง พร้อมทั้งไขข้อสงสัย ข้อกฎหมายการจดลิขสิทธิ์และการจดทะเบียนสิทธิบัตร
กว่าจะมาเป็น’ปังชา’ เมนูของหวานชื่อดัง
เครื่องหมายการค้า คืออะไร
เครื่องหมายการค้า” (Trademark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการระบุ เพื่อจําแนกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (อาจเป็นรูปแบบของสินค้าหรือการบริการ) เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายการค้าตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 109 ระบุว่า บุคคลใดเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนแล้ว ในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
โดยเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุคุ้มครอง 10 ปีนับตั้งแต่วันยื่นคำของจดทะเบียน และสามารถต่ออายุได้ครั้งละ 10 ปีไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ถ้ายื่นคำขอต่ออายุหลังจากหมดอายุ 90 วัน จะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นถูกเพิกถอนการจดทะเบียนทันที
การจดทะเบียนสิทธิบัตร คืออะไร
การจดทะเบียนสิทธิบัตร เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
ปังชา ได้รับคุ้มครองอะไรบ้าง
จากข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า แบรนด์ปังชาได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า บริการรับรอง เครื่องหมายร่วมใช้ โดยมีสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองดังนี้
โดย ชื่อ เมนู ‘ปังชา’ และสูตรการทำของเมนู ‘ปังชา’ ได้รับการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว หากร้านอื่นที่ทำบิงซู- น้ำแข็งไสรสชาเย็น สามารถทำได้ แต่ต้องไม่มีส่วนผสม และรสชาติที่เหมือนปังชา 100% ร่วมทั้ง 9 อย่างได้รับการคุ้มครอง
ที่มา : ลูกไก่ทอง