ธุรกิจการตลาด

ราคาที่ดินถูกสุดใน กทม.-ปริมณฑล เหมาะสร้างบ้านจัดสรร เจาะกลุ่มลูกค้า

18 มี.ค. 67
ราคาที่ดินถูกสุดใน กทม.-ปริมณฑล เหมาะสร้างบ้านจัดสรร เจาะกลุ่มลูกค้า

ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ พุ่งสูงเกินเอื้อม! หลายคนคงถอดใจอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ AREA จะพาไปส่อง 10 ทำเลที่ดินราคาถูกที่สุดใน กทม.-ปริมณฑล เหมาะสำหรับพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร เจาะกลุ่มลูกค้าตลาดแมส ในราคาที่เอื้อมถึง

ราคาที่ดินถูกสุดใน กทม.-ปริมณฑล เหมาะสร้างบ้านจัดสรร เจาะกลุ่มลูกค้า


โดยข้อมูลของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA เปิดเผยผลสำรวจตลาดที่ดินในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบัน ใน 400 ทำเล โดยโจทย์สำคัญคือ ต้องการหาที่ดินราคาถูกที่สุดในกรุงเทพฯ ที่มีขนาดใหญ่ 36 ไร่ ติดถนน และรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า (หน้ากว้าง 120 เมตร ลึก 480 เมตร) โดยไม่รวมพื้นที่ใจกลางเมือง หรือเขตต่อเมือง

ทั้งนี้ ถนนบางสายอาจไม่มีที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากแนวถนนทแยงตัดผ่านที่นาเดิม (เช่น ถนนลาดพร้าว) แต่เพื่อเปรียบเทียบราคาที่ดินได้อย่างสะดวก จึงตั้งสมมติฐานให้ที่ดินทุกแปลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้น ที่ดินแปลงใดที่มีรูปร่างไม่ตรงตามนี้ ราคาประเมินอาจสูงกว่าราคาที่ดินปกติ ดังนั้นมาดูกันว่า 10 อันดับที่ดินราคาถูกที่สุดใน กทม.-ปริมณฑล อยู่ที่ไหนบ้าง

 

10 อันดับราคาที่ดินถูกสุดใน กทม.-ปริมณฑล

  • 1 ที่ดินเปล่าโซนเลียบคลอง 13 กม.5 ลำลูกกา ราคาตารางวาละ 2,100 บาท หรือไร่ละ 840,000 บาท สาเหตุที่ราคาถูกเพราะยังไม่มีการพัฒนาสาธารณูปโภคใหม่ แต่ในอนาคตหากมีการก่อสร้างวงแหวนรอบนอกรอบที่ 3 ราคาที่ดินจะสูงขึ้น
  • 2 ที่ดินเปล่าโซนรังสิต-นครนายก กม.37 ราคาตารางวาละ 3,700 บาท หรือไร่ละ 1,480,000 บาท อยู่ไกลถึงคลอง 14 ทำให้การพัฒนาต่างๆ ยังกระจุกตัวอยู่ไกล เหมาะสำหรับการพัฒนาบ้านจัดสรรราคาประหยัด
  • 3 ที่ดินเปล่าโซนสุขุมวิท กม.46 บางบ่อ ราคาตารางวาละ 4,000 บาท หรือไร่ละ 1,600,000 บาท อยู่ไกลจากกรุงเทพฯ และปากน้ำ ถนนสุขุมวิทไม่ใช่ถนนสายหลัก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบสงบ และพื้นที่กว้างขวาง
  • 4 ที่ดินเปล่าโซนตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ราคาตารางวาละ 4,200 บาท หรือไร่ละ 1,680,000 บาท มีข้อจำกัดในการก่อสร้างเพื่อไม่บดบังทัศนียภาพของศูนย์ศิลปาชีพ ทำให้ขาดโอกาสการพัฒนาเชิงพาณิชย์ แต่เหมาะสำหรับการพัฒนาที่พักอาศัยแบบเฉพาะกลุ่ม
  • 5 ที่ดินเปล่าโซนลำต้องติ่ง ราคาตารางวาละ 4,200 บาท หรือไร่ละ 1,680,000 บาท อยู่ห่างจากถนนสายหลัก เป็นพื้นที่สีเขียว โอกาสการพัฒนามีจำกัด เหมาะสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบ low-rise
  • 6 ที่ดินเปล่าโซนรังสิต-วังน้อย ราคาตารางวาละ 4,400 บาท หรือไร่ละ 1,760,000 บาท อยู่ไกลจากตัวเมือง โอกาสการพัฒนาเชิงพาณิชย์มีน้อย ราคาจึงไม่สูง เหมาะสำหรับการพัฒนาบ้านจัดสรรราคาประหยัด
  • 7 ที่ดินเปล่าโซนเลียบคลองรพีพัฒน์ ราคาตารางวาละ 4,500 บาท หรือไร่ละ 1,800,000 บาท เส้นทางนี้ไม่ได้ใช้สัญจรมากนัก เน้นประกอบกิจกรรมด้านการเกษตร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ ใกล้ชิดธรรมชาติ
  • 8 ที่ดินเปล่าโซนกาญจนาภิเษก กม.34 ราคาตารางวาละ 5,000 บาท หรือไร่ละ 2,000,000 บาท ถนนท้องถิ่นยังไม่ค่อยมีการพัฒนา เหมาะกับการทำการเกษตรมากกว่า เหมาะสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบ low-rise
  • 9 ที่ดินเปล่าโซนกาญจนาภิเษก สามโคก ราคาตารางวาละ 5,800 บาท หรือไร่ละ 2,320,000 บาท อยู่ไกลพอสมควร เหมาะกับการทำการเกษตรมากกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ ใกล้ชิดธรรมชาติ หรือ การพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบ low-rise
  • 10 ที่ดินเปล่าโซนลำลูกกา คลอง 11 ราคาตารางวาละ 6,000 บาท หรือไร่ละ 2,400,000 บาท มีโอกาสพัฒนาในอนาคต ใกล้ตัวเมือง มีการพัฒนาสนามกอล์ฟ และอื่นๆ ราคาจึงสูงกว่าทำเลอื่น เหมาะสำหรับการพัฒนาบ้านจัดสรร

 

แนวทางการจัดการที่ดินชานเมือง ที่ยั่งยืน

ดร.โสภณ เสนอแนวทางการจัดการที่ดินชานเมือง เน้นการสงวนพื้นที่สีเขียว สนับสนุนเกษตรกรรม และพัฒนาเมืองใหม่อย่างยั่งยืน รัฐควรอุดหนุนเกษตรกรเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ และหากต้องการขายที่ดิน ควรขายให้รัฐบาลในราคาตลาดจริง เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ให้ประชาชนเช่า/ซื้อเพื่อทำการเกษตรต่อไป และควรพัฒนาเมืองใหม่ เพราะในบางพื้นที่ รัฐสามารถประกาศเวนคืนที่ดินเพื่อพัฒนาเมืองใหม่ จ่ายค่าทดแทนสูงกว่าราคาตลาด 50% พัฒนาเมืองใหม่พร้อมระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อ ป้องกันการขยายตัวเมืองแบบไร้ทิศทาง นอกจากนี้ รัฐควรจัดประมูลที่ดินเป็นผืนๆ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยหลากหลายประเภท รองรับความต้องการของผู้คน พัฒนาพื้นที่พาณิชย์ภายในเขตเมืองใหม่ ควบคุมการขยายตัวเมืองให้อยู่ในแผน

สำหรับข้อเสนอแนวทางการจัดการที่ดินชานเมืองรนั้นมุ่งหวังให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินชานเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนเกษตรกรรม พัฒนาเมืองใหม่ที่ยั่งยืน ควบคุมการขยายตัวเมืองอย่างเป็นระบบ รองรับความต้องการของประชาชนในอนาคต

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT