ธุรกิจการตลาด

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

10 พ.ค. 67
ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

ในยุคที่โลกหมุนเร็ว ความผูกพันของครอบครัวคนไทยยังคงแน่นแฟ้น แต่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกลับสร้างปัญหาให้คนรุ่นใหม่เผชิญภาระหนักหน่วงที่ "คนรุ่นก่อน" ไม่เคยเจอ กลายเป็น "แซนด์วิชเจเนอเรชั่น" ที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัวทั้งรุ่นก่อนและรุ่นหลัง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

จากงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ โดย หนึ่งในแขกที่ร่วมพูดคุยบนเวทีคือ ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ KKP Research หนึ่งในวิทยากรของงาน กล่าวว่า ปัญหาของแซนด์วิชเจนเนอเรชั่น ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก แต่ทางออกนั้นอยู่ที่ตัวเรา หากเข้าใจถึงปัญหา วิธีรับมือ และเริ่มต้นลงมือทำตั้งแต่วันนี้

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ "รวยยาก" กว่าคนยุคก่อน?

ค่าครองชีพที่สูงขึ้น: ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร และค่าเดินทาง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของคนรุ่นใหม่

  • รายได้ที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ: เงินเดือนของคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับขึ้นทันกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีเงินเหลือเก็บน้อย
  • หนี้สินที่เพิ่มขึ้น: คนรุ่นใหม่จำนวนมากมีหนี้สินจากการศึกษา การกู้ซื้อบ้าน หรือการผ่อนสินค้าต่างๆ ภาระหนี้สินเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการเก็บออมและลงทุน
  • โอกาสในการทำงานที่จำกัด: ตลาดงานในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการหางานที่มีรายได้ดีและมั่นคง ไหนจะการมาถึงของ A.I. ก็เข้ามาแย่งงานคนในปัจจุบัน
  • ช่องทางในการสร้างรายได้ที่จำกัด: คนรุ่นใหม่จำนวนมากมีอาชีพประจำที่มีรายได้จำกัด โอกาสในการสร้างรายได้เสริมมีน้อย

จากปัญหาที่กล่าวขึ้นมาด้านบนแล้วในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัว การแบกรับภาระครอบครัวนั้นหนักหน่วงยิ่งกว่า จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมทุ่มเททำงานหนักแล้วก็ยังดูแลคนรอบข้างได้ไม่ดี แถมเงินเก็บก็แทบไม่มี และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่โอกาสในการสร้างฐานะในยุคนี้ยากขึ้นมาก จากการศึกษาในอเมริกาพบว่า โอกาสที่ลูกหลานจะรวยกว่าพ่อแม่นั้นลดลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับงานวิจัยในไทยที่ชี้ว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา โอกาสที่คนไทยจะขยับฐานะทางรายได้หรือขยับสถานะทางสังคมนั้นยากขึ้น สถานะทางการเงินของคนรุ่นใหม่จึงผูกติดอยู่กับฐานะทางครอบครัวค่อนข้างมาก แม้จะมีบางคนที่รวยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นเป็นเพียงส่วนน้อย

นอกจากโอกาสที่ยากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในยุคใหม่ โดยเฉพาะการ "ใช้ก่อน จ่ายทีหลัง" กระตุ้นให้ผู้คนอยากได้อยากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็น ก่อให้เกิดหนี้สินจากการใช้จ่ายเกินตัวหรือไม่มีเงินเก็บออม ซึ่งอาจกลายเป็นภาระต่อตัวเองในระยะยาว หรืออาจเพิ่มปัญหาให้กับ "เดอะแบก" ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่เราควบคุมได้ ซึ่งก็คือการสร้างวินัยในการเก็บออม และการหาความรู้ทางการเงินอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

"แซนด์วิช เจเนอเรชั่น" ภาระหนักบนบ่าคนวัยกลาง แบกทั้งที่บ้านและเศรษฐกิจ

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

ไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็น "เดอะแบก" ของครอบครัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน แต่กลุ่มที่พบเจอบ่อยที่สุดคือ "แซนด์วิช เจเนอเรชั่น" (Sandwich Generation) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในวัยกลางคนที่มีลูกแล้ว และต้องเริ่มดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราลงในเวลาเดียวกัน เปรียบเสมือนถูกประกบด้วยภาระหน้าที่จากสองทิศทางเหมือนแซนด์วิช  สาเหตุหลักมาจากคนไทยมีลูกช้าลง ทำให้ลูกหลานอยู่ในช่วงวัยเรียนหรือเริ่มต้นทำงาน ในขณะที่พ่อแม่ก็เข้าสู่วัยเกษียณหรือใกล้เกษียณ ส่งผลให้ "เดอะแบก" ต้องแบ่งเวลาและเงินทองเพื่อดูแลทั้งสองรุ่น

ภาระหนักหน่วงนี้ก่อให้เกิดความเครียดสะสม เพราะ "คนรุ่นหลัง" ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องการเงินและการดูแลคนรอบข้าง ขณะที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ดร.ณชา อธิบายเพิ่มเติมถึงปัญหาของประเทศไทย ว่านอกจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำ ทำให้การหาเงินยากขึ้นแล้ว โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" เต็มรูปแบบ ส่งผลให้ไทยมีผู้สูงอายุมากที่สุดในอาเซียน

ภาวะนี้สร้างภาระให้กับภาครัฐ ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุ ในขณะที่ฐานคนเสียภาษีมีน้อยลง ส่งผลให้ "เดอะแบก" ในระบบแบกรับภาระหนักหน่วงขึ้น ยิ่งหากคนไทยไม่มีความรู้ทางการเงิน ปัญหานี้จะยิ่งทวีความรุนแรง ภาระ "เดอะแบก" จะยิ่งหนักหน่วงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อทั้งตัวบุคคลเอง ครอบครัว และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เพราะ "คนรุ่นหลัง" เหล่านี้คือกำลังสำคัญของเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังมีเรี่ยวแรงทำงาน แต่เมื่อถึงวัยเกษียณ รัฐก็ต้องแบกรับภาระในการดูแลพวกเขาอีกครั้ง ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้กับ "คนรุ่นหลัง" จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถวางแผนจัดการกับภาระต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การไม่มีลูก จะทำให้ภาระเบาลงจริงหรือ ?

ผลสำรวจนิด้าโพล ชี้ให้เห็นว่า คนไทยร้อยละ 44 ไม่อยากมีลูก ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ "ไม่อยากมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม" และ "ต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสระ" พราะการเลี้ยงดูบุตรให้เติบใหญ่ท่ามกลางสังคมปัจจุบันนั้น เต็มไปด้วยภาระทั้งด้านการเงินและเวลา หลายคนจึงตัดสินใจ "เลือกที่จะไม่มีลูก" มากขึ้น สถิติจาก UN ESCAP ระบุว่า ผู้หญิงไทยมีลูกเฉลี่ย 1.3 คนต่อคน ซึ่งต่ำกว่าอัตราทดแทนประชากร

แต่อย่าเข้าใจว่าการไม่มีลูกจะแปลว่า "ไร้ภาระ" ไปเสียทีเดียว เพราะในอนาคตยังมีเรื่องต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบอีกมาก เช่น การดูแลตัวเองในวัยเกษียณ การเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิด รวมไปถึงการพึ่งพาระบบสวัสดิการจากภาครัฐที่อาจไม่เพียงพอ นอกจากนี้การไม่มีลูก ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น ขนาดเศรษฐกิจที่หดตัวลง จำนวนแรงงานหนุ่มสาวลดลง ส่งผลต่อภาษีและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มี สิ่งสำคัญคือ "การวางแผนการเงิน" เตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายในอนาคต ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง และหาความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต

ทางรอดสำหรับ คนรุ่นใหม่ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรอด

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

การวางแผนทางการเงินไม่ใช่เรื่องเฉพาะคนอยากรวย แต่เป็นทักษะชีวิตพื้นฐานที่ช่วยให้เรา "บรรเทาภาระ" และ "หยุดวงจรเดอะแบก" ได้ ดร.ณชา อธิบายสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังขาดความรู้ด้านการเงิน และความสำคัญของการวางแผนการเงินดังนี้

  • ภาวะเศรษฐกิจและภาระส่วนบุคคล ทำให้การวางแผนการเงินสำคัญขึ้นมาก แต่คนไทยยังมีความรู้น้อย ตัวอย่างเช่น หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงถึง 90% ของจีดีพี (ก่อนโควิดอยู่ที่ 80%)
  • คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เกินตัว ไม่ประเมินกำลังตัวเองก่อนตัดสินใจ
  • หลายคนเกษียณแล้วก็ยังเป็นหนี้ เฉลี่ยคนละ 400,000 บาท
  • ผลสำรวจของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับเกษียณ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท ไม่พอใช้แน่นอน

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูก เราต้องดูแลตัวเองให้ได้ ความรู้ทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ นอกจากวินัยทางการออมแล้ว การหาความรู้ให้เงินออมงอกเงยก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของเดอะแบกได้ แต่ต่างคนก็อาจต้องใช้เครื่องมือทางการเงินต่างกันตามความเหมาะสม

สิ่งสำคัญคือพื้นฐานความรู้ทั้งเรื่องการเงินส่วนบุคคลอย่างเรื่องดอกเบี้ยต่างๆ, การวางแผนภาษี, ความรู้ด้านการลงทุนที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินเฉยๆ, การบริหารจัดการหนี้, การบริหารความเสี่ยง ทั้งจากการลงทุน ไปจนถึงบริหารความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนข้างหลัง และการป้องกันตัวเองจากภัยทางการเงิน ที่ไม่ว่าจะร่ำเรียนสูงแค่ไหนก็อาจตกเป็นเหยื่อได้เสมอ

คนรุ่นใหม่ยังมีโอกาส "รวย" ได้ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวและหาโอกาสอย่างไร

ทำไมคนรุ่นใหม่รวยยากกว่าคนรุ่นก่อน ถึงจะทำงานหนักแต่ ดูแลคนสำคัญไม่ได้

แม้ว่าความท้าทายในยุคสมัยปัจจุบันจะมากมาย แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังมีโอกาส "รวย" ได้ สิ่งสำคัญคือพื้นฐานความรู้ทั้งเรื่องการเงินส่วนบุคคลอย่างเรื่องดอกเบี้ยต่างๆ, การวางแผนภาษี, ความรู้ด้านการลงทุนที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินเฉยๆ, การบริหารจัดการหนี้, การบริหารความเสี่ยง ทั้งจากการลงทุน ไปจนถึงบริหารความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนข้างหลัง และการป้องกันตัวเองจากภัยทางการเงิน ที่ไม่ว่าจะร่ำเรียนสูงแค่ไหนก็อาจตกเป็นเหยื่อได้เสมอ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวและหาโอกาสอย่างไร เช่น 

  • พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม หรือ ลงทุนในธุรกิจ
  • ลดค่าใช้จ่าย จัดการเงินอย่างชาญฉลาด ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนในวงการธุรกิจ
  • วางแผนการเงิน เรียนรู้วิธีการออม การลงทุน การวางแผนการเงิน

 สำหรับ การวางแผนการเงิน แม้จะเป็นจำนวนเงินที่ไม่เยอะมาก แต่ต้องวัดที่อัตราการออมว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เริ่มออมอย่างต่อเนื่อง เงินเก็บจะเพิ่มขึ้นแน่นอน หรืออาจมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการลงทุน พลังของดอกเบี้ยทบต้น คือพลังที่สำคัญมากในการสร้างความมั่งคั่ง

เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนคือตอนนี้ ยิ่งลังเลยิ่งเสียโอกาส ได้ลองผิดลองถูก พัฒนาทักษะการลงทุนให้ดีขึ้น การเก็บออมและการเพิ่มพูนความรู้ด้านการเงิน เป็นสิ่งที่ทุกคนเริ่มทำได้ทันที เพื่อบรรเทาภาระตัวเองในอนาคต และลดภาระให้เดอะแบกในรุ่นต่อไป ดังนั้นอย่ารอช้า หากไม่อยากเเบกจนหลังหัก เริ่มต้นวางแผนการเงินของคุณตั้งแต่วันนี้!

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT