ธุรกิจการตลาด

รู้จัก Canon เเบรนด์กล้องสัญชาติญี่ปุ่น เกิดมาเพื่อเเข่งกับ Leica

13 ก.ย. 67
รู้จัก Canon เเบรนด์กล้องสัญชาติญี่ปุ่น เกิดมาเพื่อเเข่งกับ Leica

istock-2167941108

ภาพถ่าย นับเป็นได้ว่าหนึ่งในนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของโลกที่ช่วยให้เราบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ที่คิดค้นและผลิตกล้องถ่ายภาพในยุคแรกๆได้ก็นับว่า มีความล้ำสมัยอย่างมาก  

กล้องถ่ายภาพในอดีต มีขนาดใหญ่ ราคาแพง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนทั่วไปจะได้เป็นเจ้าของ ในเวลาต่อมากล้องถ่ายภาพจึงถูกพัฒนาให้คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตประจำวัน 

Canon ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกล้องถ่ายภาพสัญชาติญี่ปุ่น ที่ครองตลาดกล้องอันดับต้นๆของโลก ก็ได้คิดค้น และ พัฒนากล้อง ให้มีขนาดเล็กลง ราคาจับต้องได้ และที่สำคัญคือ เทคโนโลยีของกล้องต้องตอบโจทย์ผู้คนและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนไปรู้จักกับ Canon แบรนด์กล้องถ่ายภาพสัญชาติญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนา brand position ตัวเองให้มีดีมากกว่ากล้องถ่ายภาพ เหมือนกับสโลแกนของบริษัทที่ว่า “กล้องถ่ายรูปคือมือขวา อุปกรณ์สำนักงานคือมือซ้าย”

1.กล้อง Canon ถือกำเนิดมาเพื่อแข่งขันกับกล้อง Leica   

จุดเริ่มต้นของ กล้อง Canon เริ่มต้นจากโกโระ โยชิดะ ที่สงสัยว่าทำไมกล้องสัญชาติยุโรปอย่าง Leica ถึงมีราคาแพง  แพงจนขนาดที่มากกว่าเงินเดือนเด็กจบใหม่ในญี่ปุ่นถึง 6 เท่า ทำให้เค้า ลองแกะชิ้นส่วนภายในของกล้องไลก้าออกมาดู 

โยชิดะ มองว่า ภายในของไลก้าในมุมมองของเค้าไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่กลับตั้งราคาสูง นี่จึงเป็นที่มาของความพยายามในการผลิตกล้องสัญชาติญี่ปุ่นขึ้นมาบ้าง โดยคาดหวังให้เป็นกล้องที่มีคุณภาพดี แต่ราคาไม่แพง เพื่อให้ทุกคนสามารถครอบครองได้

หลังจากนั้นเมื่อปี 1933 โยชิดะ ได้ตัดสินใจร่วมลงทุนกับ ซาบุโระ อุชิดะ (Saburo Uchida) สร้างห้องแลปเล็กๆในอพาร์ทเม้นท์ในกรุงโตเกียว ด้วยเป้าหมายในการพัฒนากล้องถ่ายรูปสัญชาติญี่ปุ่นที่มีคุณภาพ เพื่อแข่งขันกับแบรนด์ Leica แบรนด์จากเยอรมนีที่รองตลาดอยู่ในเวลานั้นให้ได้

qrqr

2.ก่อนจะมาเป็นแบรนด์ Canon เคยใช้ชื่อ Kwanon มาก่อน

รู้หรือไม่ว่า Canon ไม่ใช่ชื่อแรกของแบรนด์ เพราะกล้องตัวแรกที่โยชิดะ สร้างมีชื่อว่า Kwanon ซึ่งคือชื่อของพระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้าแห่งความเมตตาของชาวญี่ปุ่น ส่วนเลนส์ มีชื่อว่า กัสสปะ (Kasyapa) ตาม พระมหากัสสปะ (Mahakasyapa) บิดาแห่งพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ ด้วยความที่ โยชิดะ และ อุชิดะ มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธนั่นเอง  

และไม่เพียงแค่ชื่อเท่านั้น แนวคิดหรือปรัชญาที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรของแคนอน ก็ได้นำ หลักปรัญชา เคียวเซ มาใช้โดยมุ่งเน้นเรื่องการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถ้าเราต้องทำงานด้วยกัน หรืออยากอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทุกคนต้องไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ, ศาสนา หรือ วัฒนธรรม 

ส่วนจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แบรนด์แคนนอนเกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้ คือ ในปี 1935 Canon ได้พัฒนา กล้อง Hanza Canon กล้องถ่ายรูป 35มม. แบบชัตเตอร์แบบม่าน (focal-plane-shutter) สำเร็จเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นและนั่นจึงถือเป็นจุดกำเนิดของแคนนอนอย่างแท้จริง 

film2_b_1

3.ปี 1950 เปิดโลกความทันสมัยของ Canon สู่ตลาดโลก 

อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของ Canon คือในปี 1950 เมื่อ ทาเคชิ มิตะไร ประธานบริษัทคนแรกของแคนนอนได้เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก และนี่เหมือนเป็นการเปิดโลกแห่งการพัฒนาเพราะ ทาเคชิ มิตะไร ได้เห็นถึงความทันสมัยของโรงงานในสหรัฐ และมองว่าหากCanon ต้องการประสบความสำเร็จในเวทีระดับโบก ต้องกลับไปพัฒนาโรงงานให้มีมาตรฐานระดับสากลเสียก่อน จึงได้กลับมาสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่กรุงโตเกียว

ในปี 1955 แคนนอนเริ่มเข้าสู่ตลาดโลกโดยการเปิดสำนักงานที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ในปี 1957 แคนนอนได้เปิดศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าแห่งแรกในยุโรปโดยตั้งชื่อว่า Canon Europa ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

และในปี 1967 รายได้จากการส่งออกของบริษัทก็เพิ่มขึ้นสูงกว่า 50% ของยอดขายของบริษัททั้งหมดได้เป็นครั้งแรก

istock-1355746587

4.กล้องถ่ายรูป คือมือขวา อุปกรณ์สำนักงาน คือมือซ้าย

การทำธุรกิจในสมัยนี้ ถ้าขายผลิตภัณฑ์อย่างเดียว อาจไม่ตอบโจทย์ความอยู่รอดของแบรนด์ หลายๆคนอาจจะคิดว่า Canon ขายแต่กล้อง แต่จริงๆแล้ว เค้ายังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกเพียบ เช่น กล้องวีดีโอ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ชอฟต์แวร์ กล้องวงจรปิด อุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยในปี 1941 Canon ได้ผลิตกล้องเอ็กซ์เรย์ตัวแรกของญี่ปุ่นได้สำเร็จอีกด้วย  

ปี 1960 แคนอนขยายประเภทของผลิตภัณฑ์ขึ้นเรื่อยๆโดยได้เพิ่มเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์และเคมีให้กับเทคโนโลยีด้านจักษุกรรมขององค์กร 

ปี 1964 แคนนอนได้เริ่มบุกตลาดอุปกรณ์สำนักงาน  เปิดตัวเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์แบบ 10 ปุ่มตัวแรกของโลกขึ้น

ปี 1967 ได้ประกาศสโลแกนในการบริหารงานของบริษัทว่า “กล้องถ่ายรูปคือมือขวา และอุปกรณ์สำนักงานคือมือซ้าย”

และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก จาก Canon Camera Co., Inc. เป็น Canon Inc.  ในปี 1969พร้อมกับเปิดตัว ตัวเครื่องถ่ายเอกสารตัวแรกของญี่ปุ่น 1 ปีหลังจากนั้น

แม้ว่าจะเริ่มต้นจากบริษัทผลิตและขายกล้อง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ รายได้ในปี 2023 Canon มาจากอุปกรณ์สำนักงานในกลุ่ม ปริ้นท์ติ้งมากกว่า รายได้ที่มาจากการขายกล้อง  โดยทำรายได้รวมที่  4,181 พันล้านเยน เป็นของฝั่ง Printing 56%  ส่วนฝั่ง Imaging อยู่ที่ 21%

istock-657653650

5.Canon ครอง 1 ตลาด DSLR และ Mirrorless

ในวันนี้แบรนด์ Canon มีอายุมานานกว่า 87 ปี ครองส่วนแบ่งตลาดกล้องทั้ง DSLR และ Mirrorless เป็นอันดับ 1 ของโลก ต่อเนื่องมาถึง 21 ปี 

และยังติด1 ใน 5 อันดับบริษัทที่มีจำนวนการจดสิทธิบัตรสูงสุดในสหรัฐอเมริกา มายาวนานกว่า 35 ปี

ปัจจุบัน Canon มีพนักงานทั่วโลกกว่า 169,151 คน มีศูนย์วิจัยและโรงงานผลิตทั่วโลก ครอบคลุมทั้ง ทวีปยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น สำหรับ Asia & Oceania มีบริษัทในเครือ กว่า 14 แห่ง และสร้างการผลิตกว่า 4 แห่งในเอเชีย เช่น จีน มาเลเซีย เวียดนาม และไทย

สำหรับประเทศไทย แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) ก่อตั้งในปี 1994 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เป็นบริษัทในเครือของบริษัทแคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น มีพนักงานกว่า 500 คน มี เครือข่ายศูนย์บริการตัวแทนกว่า 160 แห่งทั่วประเทศ 

istock-1443007102

ส่องผลประกอบการย้อนหลังของ แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์)

ปี 2562

รายได้ 4,673,681,143 บาท

กำไร (สุทธิ) 79,755,450 บาท

ปี 2563

รายได้ 3,292,954,827บาท

กำไร (สุทธิ) 65,720,219 บาท

ปี 2564

รายได้ 2,971,036,483 บาท

กำไร (สุทธิ) 75,518,314 บาท

ปี 2565

รายได้ 3,601,159,379บาท

กำไร (สุทธิ) 72,845,429 บาท

ปี 2566

รายได้ 3,763,400,432 บาท

กำไร (สุทธิ) 74,528,134 บาท

istock-675403566

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT