เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไม ‘ถนนวิทยุ’ ถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘wireless road’ ไม่ใช่ ‘radio road’ ?แล้วรู้หรือไม่ว่าถนนเส้นนี้มีความยาวเพียงแค่ 2.6 กิโลเมตรกิโลเมตร แต่กลับมามีความสำคัญมากเพราะเป็นตั้งของสถานทูตและสถานกงสุลมากถึง 22 แห่ง และหากถามถึงมูลค่าที่ดินแทบไม่ต้องพูดถึงเพราะราคาพุ่งทะยานสูงถึง 1.8 ล้านบาท/ ตารางวา จนเป็นหนึ่งในทำเลทองที่หลายๆคนอยากจะครอบครอง
แต่แท้จริงแล้ว ‘ถนนวิทยุ’ แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย เริ่มจากทุ่งนาในอดีต สถานที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประทศไทยสู่ย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ
บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จักกับ ‘ถนนวิทยุ’ ผ่านช่วงเวลาอดีต – ปัจจุบัน –และอนาคต ผ่านโครงการอนุรักษ์อาคารสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดง The Wireless House One Bangkok
ถนนวิทยุ ถูกสร้างขึ้นในสมัยยุคพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2463 หรือเมื่อ 105 ปีที่แล้วเพื่อเชื่อมต่อถนนพระรามที่ 4 เข้ากับถนนเพชรบุรีและถนนเพลินจิต โดยมีสวนสาธารณะแห่งแรกในประเทศไทยที่มีพื้นที่ขนาด 360 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางถนนเส้นนี้ นั้นก็คือ ‘สวนลุมพินี’
ที่มาของถนนวิทยุ เกิดมาจากการสร้างสถานีวิทยุแห่งแรกของไทยบนถนนเส้นนี้ เริ่มแรกสถานีวิทยุถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการทหาร เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมพลเรือ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสถานีวิทยุส่วนทหารเรือขึ้น ใช้เครื่องรับส่งของบริษัทเทเลฟุงเก้นแบบประกายไฟ และโปรดเรียกเครื่องรับส่งนี้ว่า “ราดิโอเทเลกราฟ360 ไร่” ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บัญญัติเป็นคำว่า “วิทยุ”
โดยมีการส่งสัญญาณครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2546 ที่กรุงเทพฯ-สงขลา และส่งสัญญาณต่างประเทศครั้งแรก คือ กรุงเทพฯ-เบอร์ลิน เมื่อปี 2471
ซึ่ง wireless แปลว่าไร้สาย เดิมที การติดต่อส่งข่าวสารระยะทางไกล เช่นโทรเลขและโทรศัพท์ ผ่านสาย เมื่อมีวิทยุเกิดขึ้นสามารถส่งข่าวสารไประยะทางไกล ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้สายจึงเรียกวิทยุว่า wireless เป็นภาษาอังกฤษแบบBritish English ส่วนอเมริกาเรียก radio นั้นก็เลยทำให้ปัจจุบันเราเรียกถนนแห่งนี้ว่า Wireless Road ไม่ใช่ Radio Road นั่นเอง
ถนนแห่งนี้เป็นย่านที่พักอาศัยของชนชั้นสูงในอดีต โดยเป็นที่ตั้งของวังคันธวาส วังวิทยุ และสมาคมราชกรีฑาสโมสรโปโลคลับ นอกจากนี้ บนถนนแห่งนี้ยังแวดล้อมไปด้วยสถานที่สำคัญระดับนานาชาติ เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลมากที่สุดในไทยถึง 22 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น
1.สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
2.สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
3.สถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบีย
4.สถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์
5.สถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์
6.สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม
7.สถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์
8.สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์
9.สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
10.สถานเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์
11.สถานเอกอัครราชทูตอาหรับเอมิเรตส์
12.สถานเอกอัครราชทูตกาตาร์
13.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลี
14.สถานเอกอัครราชทูตอิตาลี
15.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก
16.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
17.สถานเอกอัคราชทูตยูเครน
18.สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน
19.สถานกงสุลสาธารณรัฐคอสตาริกา
20.สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์
21.สถานเอกอัครราชทูตฮังการี
22.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์
แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ ถนนวิทยุมีความยาวเพียงแค่ 2.6 กิโลเมตร แต่มีราคาสูงถึง 1.8 ล้านบาท/ตารางวา มีอัตราการเติบโตของราคาประเมินเฉลี่ยปีละเกือบ 70% และคิดเป็นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับถนนสีลม-สาทรและถนนสุขุมวิทที่มีอัตราการเติบโตปีละ 33% และถนนบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา (เจริญกรุง-เจริญนคร) ซึ่งมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 23%
เพราะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของไทยเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
จากประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าของ ‘ถนนวิทยุ’แม้ผ่านมานานถึงศตวรรษ แต่สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนกับรากเหง้าของคนไทยที่ทรงคุณค่าและควรค่าต่อการรักษา ทำให้ One Bangkok ได้สร้าง โครงการอนุรักษ์อาคารสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดงพร้อมจัดแสดงนิทรรศการถาวรบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยและถนนวิทยุ ผ่าน เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ วัน แบงค็อก (The Wireless House One Bangkok)
The Wireless House One Bangkok คือ โครงการอนุรักษ์อาคารสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดง ที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพื้นที่ตั้งโครงการอันเป็นที่มาของชื่อ “ถนนวิทยุ” โดยนำเสนอประวัติศาสตร์ของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย
นำเสนอความสำคัญของสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดงในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารไร้สายของประเทศและนำพาความทันสมัยมาสู่ย่านแห่งนี้ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีฯ เทคโนโลยีวิทยุโทรเลข และการเชื่อมต่อกับยุโรปโดยตรงเป็นครั้งแรก รวมถึงความแตกต่างระหว่างโทรเลขและวิทยุโทรเลข
บอกเล่าเรื่องราวของสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดงในฐานะหนึ่งในพื้นที่ทดลองการกระจายเสียงยุคแรก ๆ ของประเทศไทย แสดงพัฒนาการของการกระจายเสียง บรรยากาศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการกระจายเสียงในยุคนั้น ซึ่งผู้ชมนิทรรศการจะได้ลองฟังเสียงประเภทต่าง ๆ ที่ออกอากาศในสมัยนั้น รวมถึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิทยุแร่และวิทยุหลอด
เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์อาคารโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในพื้นที่ก่อสร้างซึ่งมีคุณค่าในการสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตในช่วงเวลานั้น การสร้างอาคารที่สูญหายไปแล้วกลับขึ้นมาใหม่โดยอาศัยหลักฐานข้อมูลและองค์ความรู้ทั้งหมดเท่าที่มีมาบูรณาการร่วมกัน เช่น ผังอาคารที่ได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำรวจขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร ภาพถ่ายเก่า ฯลฯ
โดยนำเสนอข้อมูลเชิงโบราณคดีเมือง (Urban Archaeology) ขั้นตอนการขุดค้นและอนุรักษ์อาคารสถานีฯ พร้อมโมเดลอาคารเดอะ ไวร์เลส เฮาส์ วัน แบงค็อก ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการปฏิสังขรณ์อาคารสถานีวิทยุโทรเลข ตั้งแต่การฝังกลบฐานอาคารเดิมเพื่อรักษาสภาพ การสร้างชั้นใต้ถุนสำหรับจัดเก็บโบราณวัตถุ และการใช้โครงสร้างสมัยใหม่ในการสร้างอาคารกลับคืนมาตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเดิม เป็นต้น
แสดงเรื่องราวพัฒนาการของย่านตั้งแต่ยุคทุ่งศาลาแดง ความเป็นสมัยใหม่ในแง่มุมต่าง ๆ ตั้งแต่ นวัตกรรม สถาปัตยกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิตของผู้คน ไปจนถึงศักยภาพในอนาคตของย่านที่จะยังคงความทันสมัยควบคู่ไปกับการเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาเมือง สถานที่น่าสนใจในย่าน และความทรงจำของผู้คนที่มีต่อย่านนี้
อีกทั้งยังมีการจัดแสดงผลงานศิลปะ PintONE จาก วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาการออกแบบ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ขุดเจอในพื้นที่ เช่น ไหน้ำปลาและเศษกระเบื้องต่าง ๆ
และผลงาน Greeting of Times จาก นักรบ มูลมานัส ที่นำภาพผู้คน สิ่งของ สถาปัตยกรรม และกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในย่านวิทยุ-พระราม 4 มาเรียบเรียงขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคการตัดแปะหรือคอลลาจลงบนแม่พิมพ์ทองแดงโลหะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข
คุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ และผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ วัน แบงค็อก ได้เล่าว่า โปรเจกต์ The Wireless House One Bangkok ริเริ่มมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว เพื่อตั้งใจรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ พร้อมนำมาสืบสานต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่ออนาคต โดยการสร้างนิทรรศการจำลองในครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่างๆมาพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น
: เพื่อขอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่าย แบบพิมพ์เขียวเดิม หรือ ข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่แห่งนี้
: เพื่อออกแบบให้ The Wireless House One Bangkok มีความคล้ายคลึงกับอดีตมากี่สุด อีกทั้งต้องนำโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบมาสร้างใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างฐานรากและเสาส่งสัญญาณวิทยุ
: เพื่อขุดค้นโบราณวัตถุในพื้นที่บริเวณเหล่านี้ โดยมีการค้นพบโบราณวัตถุกว่า 1,500 ชิ้นที่ขุดค้นพบในบริเวณนี้ ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ตั้งแต่ยุคที่ดินผืนนี้ยังเป็นทุ่งนา จนกลายเป็นพื้นที่ของทหารเรือและต่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมทหารและสนามมวยเวทีลุมพินี ก่อนจะพัฒนามาเป็นโครงการ วัน แบงค็อก ในปัจจุบัน
: เพื่อดูแลรักษา บอกเล่าเรื่องราวให้แก่ผู้มาเยี่ยมชม The Wireless House One Bangkok มี
อย่างไรก็ตาม วัน แบงค็อก ได้ทุ่มเทความพยายามในการจำลองอาคารสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นใหม่อย่างครบครัน โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายและแบบพิมพ์เขียวเดิม เพื่อให้ เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ วัน แบงค็อก เป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแห่งประวัติศาสตร์การสื่อสารไร้สายของประเทศไทย และเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือน วัน แบงค็อกได้สัมผัสการชุบชีวิตประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของพื้นที่ ที่ผ่านการขุดค้น รักษา จัดเรียงข้อมูลในหลากหลายมิติ พร้อมนำเสนอด้วยมุมมองที่ร่วมสมัย เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ วัน แบงค็อก เปิดให้บริการทุกวัน ไม่มีค่าเข้าชม ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 20.00 น.
อ้างอิง : ศิลปวัฒนธรรม