ธุรกิจ SME ยุคนี้ ความท้าทายที่ต้องเจอ ทั้งต้นทุนที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ทิศทางขาขึ้น ต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้น การแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะช่องทางโซเซียล
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการทำธุรกิจ คือ การดึงดูดคนเก่งๆ เข้ามาร่วมงาน และการรักษาคนเก่งนั้นให้อยู่กับเราไปนานๆ
แน่นอนว่า พนักงานเก่ง ๆ ย่อมอยากร่วมงานกับองค์กรที่เป็น “งานที่มั่นคง” อดีต “งานที่มั่นคง” เราจะนึกถึง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร หรือ บริษัทเอกชนข้ามชาติ บริษัทที่มีการลงทุนขนาดใหญ่
แต่ในปัจจุบันมีบริษัทขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่บริษัทแบบ Start up ที่มีพนักงานไม่ถึง 50 คน เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไรที่ทำให้คนเก่งรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่มั่นคง อยากเข้ามาร่วมงานด้วย
SPOTLIGHT ได้นำเคล็ดวิธี สำหรับ SME เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มั่นคง ตอบโจทย์คนเก่ง ดึงดูดให้อยากมาร่วมงานและอยู่ไปนาน ๆ
ความมั่นคง ในยุคปัจจุบัน คืออะไร
ในยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่มองว่า ความยาวนาน ไม่ได้เท่ากับความมั่นคง หรือดึงดูดอีกต่อไป แต่ความมั่นคง สร้างความน่าเชื่อใจ และดึงดูด ในมุมมองของคนยุคปัจจุบัน ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. องค์กรที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และสามารถสนับสนุนให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ทัน เพื่อลดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือกะทันหัน เช่น การลาออก หรือ การไล่ออก
2. มีการสื่อสารในองค์กรแบบ 360 องศา ทั้งจากผู้บริหารถึงพนักงาน และจากพนักงานถึงผู้บริหาร โดยมีการรับฟัง และพยายามทำความเข้าใจ ในหลากหลายช่องทาง
3. สามารถทำให้พนักงานมองเห็นเส้นทางอาชีพ หรือ การเติบโตในอนาคตของตัวเองในองค์กรได้
4. องค์กรที่พนักงานรู้สึกว่าตัวเองมีการพัฒนาที่ดี สามารถดึงศักยภาพที่แท้จริงของพนักงานออกมาได้
5. องค์กรสามารถให้เงินเดือนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ รวมไปถึงสวัสดิการ การดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ และให้การดูแลพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด
จะเห็นได้ว่า มิติของความมั่นคง ได้เปลี่ยนไปจากความมั่นคงขององค์กร ไปสู่การสร้างเสริมความมั่นใจในการดำรงชีวิตให้กับพนักงาน
นั่นคือ สิ่งที่ “พนักงานอยากได้” และองค์กรก็ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน
โดยเมื่อสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ จะมี “บุคลากรที่มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มใจมอบแรงกายใจมันสมอง เพื่อพัฒนา สร้างผลงาน ยอดขาย รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร” ถึงแม้จะองค์กรไม่ได้ใหญ่โตมากก็ตาม
พนักงานมั่นใจ SME มั่นคง
การจะเป็นองค์กรที่พนักงานให้ความไว้วางใจ และร่วมงานกันอย่างมั่นใจนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด
1. หมั่นสื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ เช่น การประกาศผลประกอบการเป็นระยะ เพื่อให้พนักงานเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ หากผลประกอบการดี พนักงานย่อมเกิดกำลังใจ หรือหากผลประกอบการไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง จะต้องสามารถบอกสาเหตุได้ พนักงานจะได้เข้าใจ และเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
2. เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น มีช่องทางในการแสดงความคิด วิธีนี้จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญขององค์การ สร้างความผูกพันระหว่างพนักงานและองค์กร สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน และยังเป็นโอกาสได้แนวคิดในการพัฒนาองค์กร
3. จัดการอบรมพัฒนาทักษะให้พนักงาน นอกจากจะช่วยพัฒนาฝีมือ ความคิดของพนักงานแล้ว ยังสามารถมาหักเป็นค่าใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ด้านภาษีได้อีกด้วย
4. ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมถึงหาตัวช่วยในการพัฒนาสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน เช่น ประกันกลุ่ม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
5. เป็น SME ที่มีสวัสดิการดี มั่นคง มั่นใจ ทั้งสำหรับองค์กรและพนักงาน แต่เมื่อพูดถึงสวัสดิการที่ดีสำหรับ SME ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย มักจะต้องมีพนักงานจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 คน จึงจะมีโอกาสต่อรอง เพื่อให้ได้สวัสดิการ เช่น ประกันกลุ่ม หรือจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี ๆ ให้กับพนักงานได้
อย่างไรก็ตาม มีผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างให้ SME มีสวัสดิการที่ดีได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งพนักงานและองค์กรเองด้วย ได้แก่
ประกันกลุ่ม Group Insurance ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มารองรับองค์กร ที่มีพนักงานเริ่มต้นเพียง 5 คน และยังสามารถจ่ายเบี้ยแบบแบ่งเป็นรายเดือนได้อีกด้วย
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund เริ่มต้นเพียง 2 คน ก็สามารถจัดตั้งกองทุนได้แล้ว และไม่กำหนดขั้นต่ำของจำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุน และฟรีค่าธรรมเนียมจัดตั้งกองทุน
ยุคนี้คนรุ่นใหม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนงาน หากพบว่า องค์กรนั้นๆ อยู่แล้วไม่ตอบโจทย์กับชีวิต ความมั่นคงไม่ใช่องค์กรใหญ่อีกต่อไป ความมั่นคงของคนยุคใหม่วัยทำงานนี้ คือ ทำงานแล้ว เห็นโอกาสความก้าวหน้าในการเติบโต องค์กรพร้อมสนับสนุน ดึงศักยภาพออกมาให้ได้ นอกเหนือจากผลตอบแทนที่เหมาะสม สวัสดิการดี มั่นคง ไม่ใช่เรื่องยากที่ทุกองค์กร โดยเฉพาะ SME สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ที่มา : งานสัมมนา “ลงทุนเพื่อความยั่งยืน เริ่มต้นจากการสร้างคน” โดย finbiz by ttb