แม้ตอนนี้ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตแทบจะเป็นปกติ เมื่อเทียบกับก่อนโควิด-19 แล้ว เห็นได้จากตัวเลขทราฟฟิกเข้าห้างใหญ่ที่เพิ่มขึ้นหลายเจ้า ยอดนั่งทานอาหารในร้านที่มากขึ้น ยอดสั่งสินค้าผ่านบริการเดลิเวอรี่และอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตแบบชะลอตัวลง แต่หนึ่งสิ่งที่ยังไม่กลับมาคึกคัก ก็คือ ‘พื้นที่ออฟฟิศให้เช่า’ จากพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไปเป็นแบบไฮบริดมากขึ้น มาทำงานที่ออฟฟิศน้อยลง
McKinsey Global Institute เผยว่า ‘การทำงานทางไกล’ เช่น ทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ อาจทำให้มูลค่าออฟฟิศให้เช่าในเมืองใหญ่ทั่วโลกหดตัวลงถึง 8 แสนล้านดอลลาร์ (27.6 ล้านล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนการปรับลดลง 26% เทียบกับในปี 2019 โดยเสี่ยงที่จะลดลงมากถึง 42%
โดย McKinsey ประเมิณว่า ในปี 2030 ใน 9 เมืองใหญ่ของโลก จะมีความต้องการพื้นที่สำนักงานเปลี่ยนไป ดังนี้
- ซานฟรานซิสโก : -22.4%
- ลอนดอน : -14.9%
- นิวยอร์ก : -17.6%
- ฮิวสตัน : -9.5%
- ปารีส : -8.2%
- มิวนิค : -10.5%
- โตเกียว : -7.4%
- ปักกิ่ง : -7.8%
- เซี่ยงไฮ้ : -5.9%
ราคาของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าไม่เพียงถูกกระทบจากเทรนด์การทำงานที่เปลี่ยนไปทำนั้น แต่ยังอาจถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของออฟฟิศให้เช่าต้องกดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของ ให้ปิดการขายได้เร็วขึ้นด้วย
ภายในปี 2030 Mckinsey คาดการณ์ว่า ใน ความต้องการพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าจะลดลงราว 13% โดยปัจจุบัน ตัวเลขการเข้าใช้ออฟฟิศยังต่ำกว่าก่อนโควิด 30% และมีพนักงานเพียงราว 37% ที่กลับมาเข้าออฟฟิศทุกวัน
เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มุ่งปรับตัวอย่างหนักเพื่อสอดรับกับพฤติกรรมใหม่หลังโควิด McKinsey ก็แนะนำให้ธุรกิจออฟฟิศให้เช่าพึงปรับตัวโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้รองรับการทำงานแบบไฮบริด และการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อมอบความยืดหยุ่น และทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เช่าที่มีแนวโน้มจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไวมากขึ้น และก้าวสู่เทรนด์การทำงานแบบใหม่ ดังที่เราอาจเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ณ ขณะนี้
ที่มา : Bloomberg