ธุรกิจการตลาด

กระบวนท่าส่งออกไทยปี 67 '2 เปลี่ยน - 2 ใหม่' โตสวนกระแสโลก

18 ธ.ค. 66
กระบวนท่าส่งออกไทยปี 67 '2 เปลี่ยน - 2 ใหม่' โตสวนกระแสโลก

ธุรกิจส่งออก เป็นธุรกิจที่พึ่งพิงปัจจัยระหว่างประเทศค่อนข้างมาก งาน Navigating Global Trade and Logistics 2024 งานเสวนาที่รวบรวมวิทยากร, ผู้นำเข้า, ผู้ส่งออก, ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ และผู้ให้บริการเทคโนโลยี ตัวจริงเสียงจริงของไทย ซึ่งจัดขึ้นโดย ZUPPORTS ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบริหารงานจัดซื้อและขนส่งระหว่างประเทศ ร่วมกับหน่วยงานสำคัญทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI), สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (TCC), และสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) ได้เผยทางรอดของธุรกิจส่งออกในปี 2024 ว่าประกอบด้วย 4 หลักสำคัญ คือ

 

ขนส่ง

 

1) เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งให้เหมาะกับสถานการณ์ 

 

ย้อนกลับไปในช่วงที่เรือบรรทุกสินค้า Ever Given ขวางคลองสุเอซ ทำระบบโลจิสติกส์โลกหยุดชะงัก สร้างความเสียหายให้ธุรกิจทั่วโลกถึง ‘400 ล้านดอลลาร์/ชม.’ หากเกิดเหตุการณ์ระบบการขนส่งหยุดชะงัก คุณมีตัวเลือกใดในการขนส่งให้เลือกบ้าง หรืออย่างในช่วงที่จีนล็อกดาวน์ การขนส่งทางเรือติดขัด ระบบโลจิสติกส์ทางรถไฟ รถบรรทุก หรือเครื่องบิน

การเตรียมแผนการขนส่งที่หลากหลาย ช่วยบริหารต้นทุนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การเลือกการขนส่งให้เหมาะสม ไม่ได้จำเป็นต้องเลือกที่ถูกที่สุดเท่านั้น อย่างเช่นเหตุการณ์ที่ค่าระวางเรือพุ่งสูงในปีก่อนหน้า หากผู้ผลิตมองว่าเป็นต้นทุนที่สูง และชะลอการขนส่งลง ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ขายรายอื่นที่ยอมจ่ายได้ เข้ามาช่วงชิงลูกค้าไป ซึ่งหมายรวมถึงทั้งคู่แข่งในไทย และประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการลดการส่งสินค้า จะก่อให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลน และสินค้าแพงตามมาได้อีกด้วย ผู้ผลิตจึงต้องคิดให้รอบด้าน
 

 

Zupports1



2) เปลี่ยนเป็นดิจิทัล (Digital Transformation)

 

จากเหตุการณ์เรือ Ever Given ลำเดียวกันนี้ หากคุณเป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ใช้เรือลำดังกล่าว แล้วสินค้าของลูกค้าค้างอยู่บนเรือ คุณสามารถระบุอย่างละเอียดได้มั้ยว่า สินค้าล็อตไหน ชิ้นไหน หมายเลขอะไรอยู่บนนั้นบ้าง หรือแม้จะเป็นสินค้าของบริษัทคุณเอง คุณมีข้อมูลอย่างละเอียดเพียงพอเพื่อที่จะปรับแผนการหรือไม่

นอกจากนั้น ความซ้ำซ้อนด้านเอกสาร และการต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เซ็นลายเซ็นด้วยมือ ในหลายขั้นตอน การปรับใช้เป็นระบบดิจิทัลจะช่วยลดระยะเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลจากทั้งฝั่งลูกค้าและผู้ให้บริการ ทำให้การจัดการในภาพรวม รวมถึงการแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

 

ตัวเลข ส่งออก



3) เปิดตลาด หากลุ่มลูกค้าใหม่

 

หากพิจารณาตัวเลขยอดการส่งออกของกลุ่มประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไทยอย่างกลุ่มประเทศยุโรป และอีกหลายประเทศจะพบว่า แม้มีตลาดใหญ่ แต่การเติบโตไม่มากแล้ว และไม่อาจเป็น ‘ฐานที่มั่นอันปลอดภัย’ ให้กับธุรกิจได้อีกต่อไป

ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจตัวเองด้วยการหาตลาดใหม่ อย่างเช่นกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่กำลังเพิ่มการนำเข้าสินค้าต่างชาติ และประเทศอย่างซาอุดิอาระเบียก็กำลังกลับมาฟื้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย รวมถึงประเทศที่ยังคงโตได้ต่อเนื่องอย่างอินเดีย ก็จะทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยได้เห็นตัวเลขการเติบโตระดับ 2 หลักได้เลยทีเดียว

 

โลจิสติกส์

 

4) ออกผลิตภัณฑ์ใหม่

 

นอกจากการเปิดตลาดใหม่ สร้างฐานลูกค้าใหม่แล้ว การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ธุรกิจพึงทำ เพราะการขายสินค้าเดิม ในตลาดเดิมให้มีการเติบโตขึ้นเพียง 10% ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากๆ แล้ว แต่หากทำให้ยอดขาย 10% เกิดจากสินค้าใหม่ที่พาไปบุกตลาด สามารถทำได้ง่ายกว่า

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างแนวคิดที่ธุรกิจพึงเร่งเปลี่ยน เร่งทำใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพของโลจิสติกส์ให้กับธุรกิจของตน อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการติดตามปัจจัยระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดอย่างเช่นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าและธุรกิจที่ทำร้ายโลก ดิสรัปชั่นในบางเส้นทางการขนส่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า ท่าทีต่อการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ฯลฯ เพื่อให้ธุรกิจบริหารแผนโลจิสติกส์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

Logistics

 

2024 ปีท้าทายส่งออกไทย - โลจิสติกส์ทั่วโลก

 

สรุปฉากทัศน์ภาคการขนส่งทั่วโลกที่เหล่ากูรูนำมาแชร์จากงาน Navigating Global Trade and Logistics 2024 ว่า ปัจจัยที่ผู้ทำธุรกิจส่งออก รวมถึงผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ต้องตามให้ดี ได้แก่

 

  • กำลังซื้อของแต่ละภูมิภาค : แม้ภาพรวมจะดีขึ้นหลังโควิด แต่กำลังซื้อจากกลุ่มตลาดใหญ่อย่างสหรัฐ และยุโรปยังไม่กลับมา ผู้ประกอบการต้องทำการบ้านให้ดีว่าตลาดสำคัญของตนคือที่ไหน ขณะเดียวกัน ตลาดอย่างอินเดีย และตะวันออกกลางยังน่าสนใจ จากการที่อินเดียกำลังผลักดันประเทศให้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนตะวันออกกลางยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมัน
  • ภาพรวมเศรษฐกิจ : การที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือ เฟดส่อแววผ่อนคันเร่ง ส่งสัญญาณไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น อาจฟังดูเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับต้นทุนของผู้ประกอบการ แต่อาจหมายถึงว่า เฟดเห็นความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงแล้วด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วงที่ต้องระวัง คือช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้คนเริ่มระมัดระวังการใช้จ่าย เริ่มซื้อของฟุ่มเฟือยน้อยลง แต่นี่ก็เป็นโอกาสของธุรกิจในกลุ่มอาหารซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของ SME บ้านเราที่จะได้รับผลกระทบน้อย รวมถึงการผลักดันเรื่อง Soft Power ของภาครัฐ ที่หากว่าทำสำเร็จ ก็จะช่วยผลักดันความต้องการอาหารไทยได้อีกแรง
  • ผลกระทบจากสงคราม : สงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาสที่เกิดขึ้นนี้ แม้จะไม่ได้รุนแรงเท่ารัสเซีย ยูเครนในปีก่อนๆ แต่ก็มีความเสี่ยงกระทบเส้นทางการเดินเรือในทะเลแดง และอาจลามไปกระทบบริเวณ ‘คลองสุเอซ’ ซึ่งเคยเกิดภาพเรือบรรทุกสินค้า Ever Given ขวางคลองมาแล้ว แต่ความรุนแรงจะไม่เท่าช่วงก่อนหน้า ที่ทั้งโลกต้องการบริโภคพร้อมกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าพุ่งขึ้นจนแพงกว่าค่าสินค้าเสียอีก รอบนี้แม้จะไม่รุนแรงขนาดนั้น แต่สิ่งที่กระทบคืออีกอย่างคือ ‘ระยะเวลาในการขนส่ง’ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสินค้าที่มี Shelf-life ต้องวางแผนให้รัดกุมมากขึ้น และอาจต้องพิจารณาเลือกการขนส่งในหลากหลายช่องทาง ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อกระจายภาระต้นทุน แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสการทำรายได้ที่รวดเร็วขึ้นจากระยะเวลาการส่งสินค้าที่สั้นลง

นอกจากประเด็นสำคัญจากวิทยากรแล้ว ภาย ในงาน Navigating Global Trade and Logistics 2024 ที่จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ยังมี ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ, ผู้ให้บริการทางการเงิน, และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจ ให้ก้าวขึ้นสู่ระดับโลก มาร่วมออกบูธ ภายในงานอีกด้วย อาทิ SCB, World Air Logistics, LEO Global Logistics, SCGJWD, ZTRUS, EximRadars, FOCUSONE ERP และ ZUPPORTS

 

Zupports Logistics

 

สร้างแต้มต่อด้วยการบริหารข้อมูลงานจัดซื้อและขนส่งระหว่างประเทศ ผ่านระบบ ออนไลน์

คุณก้องกิติ ลิ่วเจริญชัย CEO & Co-founder, ZUPPORTS แพลตฟอร์มช่วยบริหารงานจัดซื้อและขนส่งระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากกรณีที่ผู้ขนส่งต้องวางแผนการขนส่งในหลากหลายช่องทาง ซึ่งต้องมีขั้นตอนของการเทียบราคา หาต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกผู้ให้บริการ ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการจัดการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสม ยังไม่นับงานเอกสารที่เป็น Pain Point ใหญ่ในแวดวงโลจิสติกส์ ที่ดึงเวลาการทำงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ ไปเป็นวันๆ การที่เจ้าของธุรกิจ รวมถึงผู้ให้บริการโลจิสติกส์เอง หันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยจับคู่ผู้ส่ง กับบริการขนส่ง รวมถึงยกทั้ง Workflow ขึ้นไปบนออนไลน์ จะช่วยร่นระยะเวลาได้อย่างมหาศาล

ตัวอย่างเช่น ในการขนส่ง 1 เที่ยว พนักงานฝ่ายจัดซื้อจะต้องทำเอกสาร ส่งแฟกซ์ ส่งอีเมลร่วม 2 ชม. แต่หากเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ที่เชื่อมต่อฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ และผู้ขายไว้ด้วย ‘Dashboard’ อันเดียวกัน จะทำให้ทั้ง 3 ฝ่ายคุยเรื่องเดียวกัน เห็นเอกสารพร้อมๆ กัน ลดเวลาการทำงานของพนักงานจัดซื้อคนนั้น เหลือ 20 นาที และหากเทียบกับปริมาณการขนส่งของบริษัทที่มีเที่ยวขนส่งนับ 100 ก็จะเท่ากับว่า ประจัดเวลาไปได้หลักร้อยชั่วโมง เหมือนได้พนักงานมาเพิ่มอีกคนเลยก็ว่าได้ และพนักงานจะได้นำเวลาที่ได้กลับคืนมานี้ไปใช้ในการตัดสินใจอื่นๆ ที่สำคัญกว่าเช่นเปรียบเทียบราคาของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจช่วยให้บริษัทประหยัดไปได้หลักแสน หรือหลักล้านบาทเลยทีเดียว

 

ข้อมูล ขนส่ง

 

นอกจากนี้ ในยุคที่ทุกคนกำลังเดินหน้านำ AI เข้ามาช่วยในองค์กร นำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ก็มักจะเป็นจุดอ่อนเพราะประสานงานกับผู้ให้บริการผ่านกระดาษ และการส่งแฟกซ์ ซึ่งเมื่อระบบทั้งหมดถูกทำให้กลายเป็นข้อมูลที่พร้อมใช้ ก็จะทำให้ฝ่ายอื่นๆ สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ทันที ไม่ต้องรอทำรีพอร์ทอีกเป็นหลักวัน ผู้บริหารก็สามารถประเมิณระยะเวลาในการผลิตสินค้าได้ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ นำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็ว และแม่นยำ

 

สำหรับผู้ประกอบการ ที่สนใจ หรือกำลังมองหา เทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยหาลูกค้ารายใหม่ เปิดตลาดใหม่ๆ, ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, และช่วยลดต้นทุน ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่


advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT