ธุรกิจการตลาด

โตโยต้า ทุ่มงบ 1.3 พันล้านดอลลาร์ เร่งผลิตรถไฟฟ้า SUV ในสหรัฐฯ

11 ก.พ. 67
โตโยต้า ทุ่มงบ 1.3 พันล้านดอลลาร์ เร่งผลิตรถไฟฟ้า SUV ในสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยรถไฟฟ้า (EV) กำลังกลายเป็นเทรนด์หลัก แทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน โตโยต้า ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และกำลังเร่งเครื่องขยายการผลิต EV เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาด

โตโยต้า เร่งขยายการประกอบแบตเตอรี่ EV สู่โรงงาน 3 แห่ง ลดต้นทุน ขยายกำลังการผลิต

โตโยต้า ทุ่มงบ 1.3 พันล้านดอลลาร์ เร่งผลิตรถไฟฟ้า SUV ในสหรัฐฯ

Nikkei Asia รายงานว่า โตโยต้ามอเตอร์ ยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกาศแผนขยายการประกอบแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขั้นสุดท้ายในโรงงานรถยนต์อีก 3 แห่ง แบ่งเป็น 2 แห่งในญี่ปุ่น (Takaoka ช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 2025 และ Miyata ภายในฤดูหนาวถัดมา) และ ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา รัฐเคนตักกี้ ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2026 เป้าหมายหลักเพื่อลดต้นทุนการขนส่งบรรจุภัณฑ์แบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักมาก และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รองรับการเติบโตของตลาด EV ในอนาคต ในปัจจุบัน โตโยต้าผลิตรถแพ็คแบตเตอรี่เฉพาะที่โรงงาน Motomachi ในญี่ปุ่นเท่านั้น 

 

โตโยต้าเร่งเครื่องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ ด้วยงบลงทุน 1.3 พันล้านดอลลาร์

จากรายงาน japantimes ระบุว่า โตโยต้าเดินหน้าขยายการลงทุน 1.3 พันล้านดอลลาร์ที่โรงงานผลิตในรัฐเคนทักกี้ เพื่อเตรียมการผลิต SUV ไฟฟ้า 3 แถวรุ่นแรกในสหรัฐอเมริกาภายในปีหน้า ประกาศนี้เผยแพร่เมื่อวันอังคาร โดยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นยืนยันว่า เงินลงทุนเพิ่มเติมนี้มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาและโมเดลพลังงานแบตเตอรี่อื่นๆ ที่ยังไม่เปิดเผย รวมถึงงบประมาณสำหรับสายพานประกอบแบตเตอรี่ภายในโรงงาน โดยเซลล์แบตเตอรี่จะมาจากโรงงานแห่งใหม่ของโตโยต้าในรัฐนอร์ทแคโรไลนา

เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างโฟล์คสวาเกนและเจนเนอรัล มอเตอร์ส โตโยต้าใช้กลยุทธ์ที่รอบคอบกว่าในการแนะนำรถยนต์ไฟฟ้าล้วนๆ โดยบริษัทมุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฮบริดเป็นหลัก ปัจจุบัน โตโยต้าจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ bZ4X และ Lexus RZ 450e ซึ่งทั้งสองรุ่นผลิตในประเทศญี่ปุ่น

ความท้าทายของการผลิคแบตเตอรี่ EV

แบตเตอรี่ EV นั้นแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฮบริดหรือปลั๊กอินไฮบริด โดยมีขนาดใหญ่และต้องการพื้นที่สำหรับประกอบมากกว่า ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการขนส่งสูงขึ้น โตโยต้าเองเคยพึ่งพาบริษัทในเครือและซัพพลายเออร์ในการผลิตแบตเตอรี่ EV แต่ด้วยความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น กลยุทธ์ดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ

 

การแก้ปัญหาแบบบูรณาการ

โตโยต้า ทุ่มงบ 1.3 พันล้านดอลลาร์ เร่งผลิตรถไฟฟ้า SUV ในสหรัฐฯ

เพื่อรับมือกับความท้าทาย โตโยต้าจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการใช้พื้นที่ในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงงาน Takaoka และ Miyata จะเริ่มประกอบแบตเตอรี่ EV ในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ ส่วนโรงงานในรัฐเคนตักกี้ จะเริ่มในปี 2570 โรงงานเหล่านี้จะจัดการกับขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตแบตเตอรี่ ประกอบโมดูลของเซลล์เป็นชุดแบตเตอรี่พร้อมสำหรับติดตั้งลงในรถ   และถึงแม้โรงงาน Takaoka ของโตโยต้ามีพื้นที่จำกัด แต่ด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีใหม่ โรงงานแห่งนี้สามารถรองรับสายการประกอบแบตเตอรี่ EV เพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องขยายพื้นที่โรงงาน ด้าน โรงงานในรัฐเคนทักกี้เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ที่เก่าแก่ที่สุดของโตโยต้าในสหรัฐอเมริกา มีพนักงานประมาณ 9,400 คน และเป็นหนึ่งในหลายโรงงานที่ไม่รวมสหภาพแรงงาน ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายของสหภาพแรงงานยานยนต์ (United Auto Workers) ในการผลักดันการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองค่าแรงอีกครั้ง

แผนการผลิต EV ที่โตโยต้าต้องการ

โตโยต้าตั้งเป้าผลิต EV รวมถึงแบรนด์ Lexus 250,000 คันในปี 2567 และ 600,000 คันในปี 2568 เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ โตโยต้าจะขยายการผลิตแบตเตอรี่ EV ไปยังโรงงานชิ้นส่วนบางแห่ง และสร้างโรงงานใหม่ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา นอกจากการขยายการประกอบแบตเตอรี่แล้ว โตโยต้ายังลงทุนในบริษัท CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากจีน และพัฒนาแบตเตอรี่โซลิดสเตท (Solid-state Battery) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการเป็นผู้นำตลาด EV ในอนาคต

การขยายการประกอบแบตเตอรี่ EV ของโตโยต้าเป็นการเดินเกมที่ชาญฉลาด ช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และขยายกำลังการผลิต รองรับการเติบโตของตลาด EV ในอนาคต กลยุทธ์นี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการเป็นผู้นำตลาด EV ในยุคใหม่

 

ที่มา Nikkei Asia และ japantimes

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT