หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ M-150 Sparkling หรือ “MISO ซ่า” ที่ได้สร้างกระแสตอบรับถล่มทะลายจากการนำสองยูทูปเบอร์ชื่อดัง “พี่จอง-คัลแลน” มาร่วมสร้างปรากฏการณ์และสามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตนของผลิตภัณฑ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี
ล่าสุด บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย ได้คว้าน้องเนย Butterbear อินฟลูเอนเซอร์สุดฮอต ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ 2 แบรนด์ดัง อย่าง “คาลพิส แลคโตะ”และ “เบบี้มายด์” ต่อยอดกลยุทธ์ ไอดอล มาร์เก็ตติ้ง
น้องเนย Butterbear ตัวแทนความน่ารัก ฮีลใจ
นางวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP กล่าวว่า ได้มองว่า ‘น้องเนย’ เป็นตัวแทนของความสุข ความสนุกสนาน และพลังบวกที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกเพศทุกวัย ในขณะเดียวกัน ก็มีความแสบซ่าน่ารักที่ถ่ายทอดออกมาผ่านคาแรกเตอร์ เราจึงอยากร่วมกันส่งมอบประสบการณ์ความสุข ฮีลใจ ไปกับน้องเนย สู่ผู้บริโภคทุกคน ผ่านการทำ Brand Collaboration กับน้องเนยในสองกลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ‘คาลพิส แลคโตะ’ เครื่องดื่มผสมนมเปรี้ยว และ ‘เบบี้ มายด์’ ผู้นำอันดับหนึ่งตลาดสบู่เหลวอาบน้ำและแป้งเด็ก
จึงได้ใช้กลยุทธ์ ‘Trendsetter Alliance’ หรือการจับมือกับผู้นำเทรนด์มาร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มการรับรู้และจดจำของแบรนด์ให้ได้มากที่สุด และเข้าไปนั่งในใจผู้บริโภคทั้งกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ ๆ
คาแรกเตอร์ของ ‘น้องเนย’ สามารถสื่อสารตัวตนของแบรนด์
‘น้องเนย Butterbear’ นอกจากจะมีคาแรกเตอร์น่ารัก น่ากอด น่าทะทุถนอมแล้ว ยังสะท้อนถึงความอ่อนโยน อบอุ่น เป็นมิตร และปลอดภัย สอดคล้องกับแบรนด์ ‘เบบี้ มายด์’ ที่เชื่อมั่นในพลังจากสัมผัสอันอ่อนโยน และในขณะเดียวกันน้องเนยก็มีความแก่นซ่า สดชื่น สดใส อารมณ์ดีอยู่เสมอ
เช่นเดียวกันกับ แบรนด์ ‘คาลพิส แลคโตะ’ ที่มีจุดแข็งในการสร้างความสดชื่นผ่านรสชาติหวานเปรี้ยวลงตัวเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ฮีลใจให้มีช่วงเวลาดี ๆ เวลาดื่ม
ความร่วมมือกับ ‘น้องเนย Butterbear’ ในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับผู้บริโภค ผ่านการผสมผสานระหว่างแบรนด์ที่คุ้นเคยและอินฟลูเอนเซอร์สุดน่ารัก ทั้งยังสื่อสารตัวตนของแบรนด์ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด”
กลยุทธ์ ไอดอล มาร์เก็ตติ้ง
ไอดอล มาร์เก็ตติ้ง คือ การดึงศิลปิน ดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ของบรนด์ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์ไปยังผู้บริโภคและสร้างการรับรู้ให้แบรนด์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยการใช้ไอดอลแต่ละคนให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และเป้าหมายที่จะมุ่งไป ซึ่งเน้นการวางกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค รวมถึงทำการตลาดเพื่อสร้างสีสันให้แก่วงการตลาดสาหร่ายและสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์หลากหลาย
ซึ่งก่อนหน้านั้น โอสถสภา ได้ดึง สองยูทูปเบอร์ชื่อดัง “พี่จอง-คัลแลน” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ผลิตภัณฑ์ M-150 Sparkling หรือ “MISO ซ่า โดยหลังจากการเปิดตัว ได้สร้างกระแสตอบรับถล่มทะลายจากเหล่าแฟนคลับ โดยพี่จอง-คัลแลน สามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตนของผลิตภัณฑ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี
ทำให้ล่าสุด โอสถสภาได้คว้าน้องเนย Butterbear อินฟลูเอนเซอร์สุดฮอต ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ 2 แบรนด์ดัง อย่าง “คาลพิส แลคโตะ”และ “เบบี้มายด์” ต่อยอดกลยุทธ์ ไอดอล มาร์เก็ตติ้ง
รู้จัก บริษัท โอสถสภา
โอสถสภาเริ่มต้นจากร้านขายยา ภายใต้ชื่อ เต๊ก เฮง หยู ในปีพ.ศ. 2434 ก่อตั้งโดยนายแป๊ะ แซ่ลิ้ม ต้นตระกูลโอสถานุเคราะห์ โดยสินค้าในยุคแรกจะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยากฤษณากลั่นตรากิเลน ยาทัมใจ อุทัยทิพย์ และอื่นๆ ก่อนจะแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 3,003,750,000 บาท
กว่า 133 ปี โอสถสภา ได้สร้างธุรกิจกลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
-
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เช่น M-150, โสมอินซัม, ฉลามขาว
-
เครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ เช่น เปปทีน, ซี-วิ, คาสพิส แลคโตะ
-
เครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น เกลือแร่เอ็ม
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล
-
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น เบบี้มายด์
-
ผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง เช่น ทเวลฟ์ พลัส
-
ผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้ชาย เช่น เอ็กซิท
3.ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและลูกอม
- ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น ยากฤษณากลั่น ตรากิเลน, อุทัยทิพย์, ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุ 4
- ผลิตภัณฑ์ลูกอม เช่น โบตัน ลูกอมโอเล่
ส่องรายได้ 3 ปี ย้อนหลังของ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
ปี 2564
รายได้ 22,250,779,320 บาท
กำไร 3,281,236,037 บาท
ปี 2565
รายได้ 20,996,813,248 บาท
กำไร 2,622,901,268 บาท
ปี 2566
รายได้ 20,269,128,236 บาท
กำไร 2,497,637,870 บาท