SPOTLIGHT พาคุณผู้อ่านคำนวณงบประมาณการประชุมสภาฯ ในแต่ละครั้งต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งหากการประชุมล่ม นั่นหมายถึงการสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ การคำนวณเบื้องต้นคิดจากค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนของ ส.ส. และส.ว. พร้อมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมรัฐสภา
สภาฯ ไทยล่ม (อีกแล้ว) สูญเสียงบประมาณไปเท่าไหร่?
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ต่อมาเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ 2568 การประชุมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้เข้าสู่วาระการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับมใหม่ ซึ่งมี ส.ส. และ ส.ว.บางส่วนไม่แสดงตน ส่งผลให้การประชุมสภาฯต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 2 ติดกัน ก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณและที่สำคัญไม่ให้เกิดประโยชน์ทางนิติบัญญัติใด ๆ ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาฯอีกด้วย
SPOTLIGHT พาคุณผู้อ่านคำนวณงบประมาณการประชุมสภาฯ ในแต่ละครั้งต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งหากการประชุมล่ม นั่นหมายถึงการสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ การคำนวณเบื้องต้นคิดจากค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนของ ส.ส. และส.ว. พร้อมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมรัฐสภาที่ล่มมีดังนี้:
ปัจจุบันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีทั้งหมด 692 คน โดยมีอัตราค่าตอบแทนดังนี้:
เมื่อนำค่าตอบแทนมาคำนวณเป็นรายวัน: 159,060 ÷ 30 = 5,302 บาท/คน/วัน
ดังนั้น ค่าตอบแทนของสมาชิกสภาฯ ทั้งหมดใน 1 วัน: 5,302 × 692 = 3,671,784 บาท
การประชุมสภาฯ มีบุคลากรสนับสนุนจำนวนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐสภา พนักงานฝ่ายธุรการ และฝ่ายเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในวันประชุมประมาณ 2,000,000 บาท
การประชุมสภาฯ ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่าระบบเสียง ระบบถ่ายทอดสด รวมถึงค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับสมาชิกสภา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000 บาท
เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด การประชุมรัฐสภาที่ล่ม 1 ครั้ง เท่ากับทำให้เงินภาษีประชาชนสูญเสียไปประมาณ 6,171,784 บาท โดยที่ไม่มีการพิจารณาร่างกฎหมายใด ๆ เกิดขึ้น
นอกจากการสูญเสียงบประมาณโดยตรงแล้ว การประชุมสภาที่ล่มยังส่งผลกระทบในด้านอื่น ๆ เช่น:
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สภาล่มบ่อยครั้ง จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เช่น:
เหตุการณ์สภาฯ ล่มสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างอำนาจการเล่นเกมของการเมืองไทย ไม่เพียงแต่เป็นการสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก แต่ยังทำให้กระบวนการออกกฎหมายติดขัดไม่สามารถเดินต่อไปได้ หากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมและนักการเมืองทำงานไม่เป็นมืออาชีพ อาจนำไปสู่การเสื่อมศรัทธาของประชาชนต่อสถาบันนิติบัญญัติ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวอีกด้วย
อ้างอิง : อมรินทร์ทีวี , iLaw