การเดินทาไปเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน เป็นอีกหนึ่งโอกาสของประเทศไทยที่จะดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาให้เพิ่มมากขึ้น เพราะตลอด 14-18 ธ.ค.66 นายกรัฐมนตรีได้พบกับทั้งภาครัฐ และ เอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่นจำนวนมาก
ล่าสุดผู้บริหารบริษัท Panasonic holdings corporation เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือเพิ่มโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน โดยบริษัท Panasonic เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ อุปกรณ์และระบบสำหรับ การผลิต และการขนส่ง โดยในปัจจุบันมีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ในโอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อพิจารณาการขยายการลงทุน โรงงานแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์และระบบกักเก็บพลังงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิต 200 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ภายในปี 2031
โดยนายกรัฐมนตรีของไทย แจ้งว่าพร้อมจะสนับสนุนการลงทุนของ Panasonic เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านยานยนต์สันดาป เป็นยานยนต์ EV ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนด้านพลังงานสะอาดด้วย
สำหรับบทบาทของ Panasonic ในประเทศไทยคือ
นอกจาก Panasonic แล้ว ในช่วงเวลาเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ยังได้พบกับผู้บริหานของเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่นในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งบริษัท Mitsui Group , บริษัท Suzuki Motors , นายไซโต เค็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) , บริษัท Isuzu Motors , บริษัท Toyota Motors และผู้บริหารบริษัท Kubota
นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในการเดินทางเข้าร่วมการประชุมASEAN-Japan 14-18 ธ.ค.2566 ว่า พอใจผลตอบรับของการเดินทางครั้งนี้ โดยในช่วงของการกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา Thailand - Japan Investment Forumนายกฯ ระบุว่า
“ ญี่ปุ่นเป็นมิตรแท้ของไทย ที่ผูกพันกันในทุกระดับตั้งแต่ราชวงศ์ ถึงประชาชน มีบริษัทญี่ปุ่นกว่า 6,000 บริษัท และชาวญี่ปุ่นกว่า 80,000 คน ทั้ง 2 ประเทศเห็นพ้องขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น ด้านการค้า ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ มูลค่า 8.7 ล้านล้านเยน คิดเป็น 10% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ด้านการลงทุน ญี่ปุ่นลงทุนในไทยสูงสุดติดต่อกันอย่างยาวนาน ในช่วง 10 ปีมานี้ มีโครงการที่ BOI ส่งเสริมกว่า 4,000 โครงการ เป็นเงินกว่า 6 ล้านล้านเยน ในปี 2566 นี้ กว่า 180 โครงการ มูลค่ากว่า 180,000 ล้านเยน”
ไทย ชวนญี่ปุ่น ลงทุนต่อยอดทรัพยากรของไทย พัฒนาเกม ภาพยนตร์ หรือ อนิเมชัน อุตสากรรมพลังงานสะอาด โครงการแลนด์บริดจ์ ร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อความก้าวหน้าของทั้งสองประเทศ