จากสถานการณ์ความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดโลกที่ลดลงเนื่องจากผู้ซื้อ LNG รายใหญ่ เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีปริมาณสำรอง LNG เพียงพอแล้ว ทำให้ราคา LNG ในตลาดโลกและในตลาดเอเชียลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประมาณการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในรอบ พ.ค. - ส.ค. 2567 ลดลงต่ำกว่ารอบ ม.ค. - เม.ย. 2567 อย่างมีนัยสำคัญ
จึงถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการคืนภาระคงค้าง กฟผ. เพื่อเสริมสภาพคล่องและรักษาความมั่นคงพลังงานในระยะยาว กกพ. จึงพิจารณาค่าเอฟทีเรียกเก็บรอบ พ.ค. - ส.ค. 2567 ในอัตรา 39.72 สตางค์ต่อหน่วย พร้อมคืนหนี้ กฟผ. 14,000 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรอบ พ.ค. - ส.ค. 2567 ยังคงรักษาระดับอยู่ที่ระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ตามที่ กฟผ. เสนอ
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. จึงพิจารณาค่าเอฟทีเรียกเก็บรอบ พ.ค. - ส.ค. 2567 ในอัตรา 39.72 สตางค์ต่อหน่วย พร้อมคืนหนี้ กฟผ. 14,000 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรอบ พ.ค. - ส.ค. 2567 ยังคงรักษาระดับอยู่ที่ระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ตามที่ กฟผ. เสนอ
โดยปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ารอบ พ.ค - ส.ค. 2567 ลดลง มาจากต้นทุนราคา LNG ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลทำให้ราคาประมาณการ Pool Gas ลดลงจาก 333 ล้านบาทต่อล้านบีทียู เป็น 300 ล้านบาทต่อล้านบีทียู อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแหล่งเอราวัณจะมีแผนทยอยปรับเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจาก 400 เป็น 800 ล้านลูกบาศน์ฟุตต่อวันในเดือน
สำนักงาน กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 มีนาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป มีดังนี้
โดยได้ค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. - ส.ค. 2567 จำนวน 19.21 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 99,689 ล้านบาท ในงวดเดียวหรือ 146.03 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็นค่าเอฟทีเรียกเก็บ 165.24 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นเป็น 5.4357 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวข้างต้น ยังไม่รวมเงินภาระคงค้างค่าก๊าซที่เกิดจากนโยบายที่ให้รัฐวิสาหกิจที่นำเข้าก๊าซเรียกเก็บราคาค่าก๊าซเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 คงที่ตามมติ กพช. จึงมีส่วนต่างราคาก๊าซที่เกิดขึ้นจริงและราคาก๊าซที่เรียกเก็บ (AF Gas) โดยภาระดังกล่าวยังคงค้างที่ ปตท. (เฉพาะในส่วนของการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบ) เป็นจำนวนเงิน 12,076 ล้านบาท และยังคงค้างที่ กฟผ. เป็นจำนวนเงิน 3,800 ล้านบาท
ผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นไปตามการประมาณการต้นทุนเชื้อเพลิงโดย ปตท. และ กฟผ. นำค่าประมาณการดังกล่าวมาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้จัดทำสรุปสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณการค่าเอฟทีรอบคำนวณเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 เทียบกับการคำนวณในปีฐาน พ.ค. – ส.ค. 2558 และรอบประมาณการค่าเอฟทีเดือน พ.ค. – ส.ค. 2567