ทราบผลกันเป็นที่เรียบร้อยกับการประกาศรางวัลเก่าแก่ประจำที่ทรงอิทธิพลที่สุดของวงการภาพยนต์ นั่นก็คือ รางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ (Academy Awards) หรือที่ทั่วโลกรู้จักในชื่อ รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 96 (Oscar 2024)
งานประกาศผลต้นแบบรางวัลตุ๊กตาทองที่ได้มอบให้แก่บุคคลในวงการทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการชั้นนำ ที่มีทั้งความเผ็ดร้อนดราม่า ดาวเด่นแย่งซีน หรือแม้แต่เหตุการณ์โมเมนต์พลิกโผ ที่ทำให้คนดูอย่างเราต้องช็อคกันไปตามๆกัน
แต่นอกเหนือจากผลรางวัลOscar 2024 บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จักกับงานประกาศรางวัลที่ทรงอิทธิพลที่ กับ 8 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับรางวัลOscar
จุดเริ่มต้นของรางวัลOscar เกิดขึ้นจากเมื่อปี 1929 เมื่อสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ภาพยนตร์ ในสหรัฐอเมริกา (The Academy of Motion Picture Arts and Sciences) อยากจัดงานมอบรางวัล อะคาเดมี อวอร์ดส์ (Academy Awards) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักแสดง ผู้กำกับและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากสถาบันก่อตั้งมาได้ 2 ปี
ตุ๊กตาทองมีที่มาจาก ชายนักออกแบบที่มีชื่อว่า Cedric Gibbons ซึ่งเป็นผู้กำกับศิลป์ของ MGM และเป็นหนึ่งในสมาชิกเก่าแก่สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ภาพยนตร์ โดยร่างแรกที่ได้รับออกแบบคือรูปปั้นอัศวินยืนสง่างามอยู่บนม้วนแผ่นฟิลม์ ที่ได้ต้นแบบรูปมาจาก นักแสดงชาวเม็กซิโกที่ชื่อ Emilio Fernández
หลังจากนั้นจึงส่งไม้ต่อ เข้าสู่การผลิตให้แก่ George Stanley ช่างประติมากรจากลอสแอนเจลิส มาเป็นผู้หล่อรูปปั้น โดยมีการตั้งชื่อว่า ‘The Academy Award of Merit’ (รางวัลสถาบันสำหรับคุณงามความดี)
สำหรับรูปปั้นในเริ่มแรกนั้นมีส่วนผสมของดีบุก 92.5% ทองแดง 7.5% และจบขั้นตอนด้วยการชุบทองคำแท้ ๆ แต่ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกของเราต้องเจอกับภาวะขาดแคลนโลหะ ทำให้รางวัลตุ๊กตาทองต้องเปลี่ยนส่วนประกอบจากดีบุกผสม ไปใช้ปูนปลาสเตอร์อยู่นานหลายปี
งานประกาศผลและมอบรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ถูกจัดเป็นงานกาลาดินเนอร์มีผู้เข้าร่วมงานเพียงแค่ 270 กับการใช้เวลาประกาศผลเพียงแค่ 15 นาที ที่โรงแรมฮอลลีวูด รูสเวลต์ (Hollywood Roosevelt Hotel) บนถนน ฮอลลีวูดบูเลวาร์ด เมืองลอสแอนเจลีส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือว่าเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์งานออสการ์ที่ไม่มีการถ่ายทอดผ่านสื่อใดๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ หรือแม้แต่ โทรทัศน์
ซึ่งภาพยนต์ยอดเยี่ยมเรื่องแรก นั่นก็คือ Wings ที่ได้เล่าเรื่องเรื่องราวความรักหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จากผลงานกำกับของ William A. Wellman โดย Wings ถือว่าเป็นภาพยนตร์เงียบ เนื่องจากมีพียงแค่เสียงดนตรีประกอบและไม่มีเสียงตัวละครสนทนา
รางวัลออสการ์ได้เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ชื่นชอบภาพยนต์ หรือ Movie lovers ได้ชื่นชมผลที่ดีที่สุดแห่งปีของวงการหนัง และสำหรับคนที่ชื่นชอบแฟชั่น ก็จะได้เห็นดารานักแสดงชื่อดังแต่งตัวในชุดที่สุดแสนตระการตา และได้ฟังสุนทรพจน์ที่สุดแสนกินใจ เช่นเดียวกันกับได้เป็นพยานในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดมาก่อนที่อาจเกิดขึ้นบนเวทีแห่งนี้
หากเราดูการประกาศรางวัลออสการ์ในแต่ละปี เราจะสังเกตุว่ารายชื่อผู้ชนะจะอยู่ในซองจดหมายปิดผนึก เนื่องจากเมื่อปี 1940 เคยเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล เมื่อหนังสือพิมพ์ The LA Times ได้ตีพิมพ์รายชื่อผู้ชนะทั้งหมดของปีนั้น และหนังสือพิมพ์ถูกวางแผงในค่ำคืนนั้นก่อนหน้าที่พิธีมอบรางวัลจะเริ่มขึ้น จนกลายเป็นว่าแขกที่เข้ามาร่วมพิธีมอบรางวัลต่างรู้อยู่แล้ววว่าใครจะเป็นผู้ชนะในแต่ละรางวัล
ย้อนกลับไปบนเวทีประกาศรางวัลออสการ์ ประจำปี 2015 ผู้ชมจำนวนมากเล็งเห็นว่ารายชื่อผู้เข้าชิงในปีนั้นคับคั่งไปด้วยนักแสดงฮอลลีวู้ดผิวขาวจนขาดแคลนความหลากหลาย ซึ่งสะท้อนถึงภาวะความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นกับนักแสดงผิวดำจึงเกิดเป็นกระแส #OscarsSoWhite ขึ้นในโลกออนไลน์
ในงานประกาศรางวัลออสการ์ ประจำปี 2017 ได้เกิดกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องจากผลสำรวจพบว่าสถิติผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 2017มีรายชื่อของผู้หญิงเข้าชิงแค่เพียงไม่ถึง 20 %
และในเวลานั้นยังมีการออกมาเปิดเผยถึงรายได้ค่าตัวของนักแสดงฮอลลีวู้ดและอาชีพในวงการบันเทิงระดับโลกว่า “ผู้หญิงจะได้ค่าตัวเฉลี่ยที่น้อยกว่าผู้ชายเสมอ” จุดประกายให้เหล่าผู้ชมรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้เวทีประกาศรางวัลหลายเวทีเปลี่ยนคณะกรรมการพิจารณาใหม่ให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
งานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 96 หรือออสการ์ 2024 ได้มีการปรับเกณฑ์เพื้อกำหนดมาตรฐานว่า “หนังที่จะเข้าชิงรางวัลภาพยนต์ยอดเยี่ยมต้องส่งเสริมให้เกิดหลากหลายและความเท่าเทียม ทั้งในจอและนอกจอ ครอบคลุมในทุกมิติตั้งแต่ รสนิยมทางเพศ เพศสภาพ ร่างกาย ชาติพันธุ์ หรือสีผิว”
ซึ่งหนังที่จะเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้
ได้แก่ คิลเลียน เมอร์ฟีย์ จาก Oppenheimer
ได้แก่ เอ็มมา สโตน จาก Poor Things
ได้แก่ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimer
ได้แก่ เดไวน์ จอย แรนดอล์ฟ จาก The Holdovers
ได้แก่ Oppenheimer
ได้แก่ คริสโตเฟอร์ โนแลน จาก Oppenheimer
ได้แก่ Anatomy of a Fall โดย จัสตีน ตรีเย
ได้แก่ American Fiction โดย คอร์ด เจฟเฟอร์สัน
ได้แก่ Oppenheimer
ได้แก่ The Zone of Interest : Tarn willers and johnnie burn
ได้แก่ The Boy and the Heron
ได้แก่ War Is Over! Inspired by the Music of John & Yoko
ได้แก่ 20 Days in Mariupol
ได้แก่ The Last Repair Shop
ได้แก่ The Zone of Interest (สหราชอาณาจักร)
ได้แก่ Poor Things
ได้แก่ Oppenheimer
ได้แก่ Poor Things
ได้แก่ Poor Things
ได้แก่ Godzilla Minus One
ได้แก่ เพลง “What Was I Made For?” จาก Barbie
ได้แก่ Oppenheimer
อ้างอิง