ตั้งแต่ก่อนโควิด19จะระบาดประเทศไทย รณรงค์ให้ประชาชนลอยกระทงด้วยวัสดุที่ย่อยสลายได้ และพยายามลดขยะที่เกิดจากเทศกาลวันลยอกระทงมาตลอดหลาย 10ปีที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นไอเดียใหม่ๆในการผลิตกระทงจากวัสดุธรรมชาติมากขึ้น วันนี้เลยเอากระทงสวยๆ ไอเดียจากเพจ โครงการหลวง และ กลุ่ม ศูนย์รวมความรู้เกษตร ที่นำเอาผักชนิดต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นกระทงที่สวยงาม ทั้ง ฟักทอง ถั่วฝักยาว มะละกอ แรดิช เป็นต้น
คนกรุงเทพลอยกระทงกี่ใบ/ปี กระทงลอยแล้วไปไหน ?
ย้อนกลับไปดูสถิติว่า เทศกลาลลอยกระทงกลายเป็นเทศกาลสร้างขยะมหาศาลอย่างไม่รู้ตัว เพราะก่อนโควิด 19 ระบาดกรุงเทพมหานครต้องจัดเก็บกระทงที่ประชาชนนำไปลอยตามแม่น้ำ ลำคลอง สวนสาธารณะ ที่เปิดให้สามารถลอยกระทงได้ สูงถึง 900,000 ใบ คิดดูว่า ลอยกระทงมีเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ถ้ากระทงทั้ง 9 แสนใบนั้นทำจากวัสดุย่อยสลากยาก มันจะส่งผลต่อสิ่งแวดลช้อมแค่ไหน
ในช่วงโควิดระบาดหนัก ประชาชนงดการออกทำกิจกรรมนอกบ้านทำให้การจัดเก็บกระทงเหล่านี้น้อยลง โดยในปี 2564 กทม.เก็บกระทงในพื้นที่ กทม. 403,235 ใบ ลดลงจากปี 63 ถึง 18.13% (กระทงปี 492,537 ใบ) และพบว่ากระทงส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติถึง 96.4% ซึ่งพฤติกรรมที่คนไทยหันมามาลอยกระทงจากวัสดุธรรมชาติเป็นมาเกิอบ 10 ปีแล้ว
ขั้นตอนของการจัดการกระทงเหล่านี้ คือ เมื่อทาง กทม.จัดเก็บและคัดแยกกระทงแล้ว หากกระทงเป็นวัสดุธรรมชาติจะส่งเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ส่วนถ้าเป็นกระทงโฟมจะนำไปกำจัดโดยการฝังกลบอย่างถูกวิธีที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช สายไหม และหนองแขม หรือเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ต่อไป
ปีนี้ลอยกระทงกับมาคึกคักที่สุดในรอบ 5 ปี
ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่สำรวจการความคึกคักของเทศกาลลอยกระทง ปี 2565 พบว่า จะมีความสนุกสนานมากกว่าปี 64 เพราะสถานการณ์การเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ47.8 จะออกไปลอยกระทงเพราะต้องการผ่อนคลาย ส่วนการใช้จ่ายในวันลอยกระทง พบว่าใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,920 บาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปีที่แล้วอยู่ที่ 1,280 บาทต่อคน คาดว่าในปีนี้เงินสะพัดในช่วงลอยกระทงอยู่ที่ 9,686 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 5.9 สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2561 และกลับมาเป็นบวกในรอบ 5 ปี เช่นกัน
ดังนั้นแนวโน้มการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงอยากให้คนไทยมีจิตสำนึกไม่ทำให้ประเพณีที่ดีงามของไทย กลายเป็นเทศกาลสร้างขยะ และส่งผลเสียย้อนกลับมาให้ตัวเราเอง
อ้างอิง
https://www.sustainablelife.co/news/detail/37
https://mgronline.com/qol/detail/9640000115055