ข่าวเศรษฐกิจ

อิสราเอลเตรียมบุกภาคพื้นกาซา ยืนยันเดินหน้าถล่มฮามาส พบสองฝั่งสูญชีวิตแล้วกว่า 6,000 คน

24 ต.ค. 66
อิสราเอลเตรียมบุกภาคพื้นกาซา ยืนยันเดินหน้าถล่มฮามาส พบสองฝั่งสูญชีวิตแล้วกว่า 6,000 คน

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 แล้วนับตั้งแต่สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์เริ่มต้นในวันที่ 7 ตุลาคม ขณะยังมีการโจมตีตอบโต้ พร้อมเจรจาปล่อยตัวตัวประกันกันอย่างต่อเนื่องขณะประชาชนในกาซากำลังเผชิญวิกฤตด้านมนุษยชนขนาดหนัก เพราะขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำสะอาด ไฟฟ้า และน้ำมัน ทำให้หน่วยแพทย์ทำงานได้ไม่เต็มที่ พบทั้งสองฝั่งสูญชีวิตแล้วกว่า 6,000 คน

นับตั้งแต่ที่กลุ่มฮามาสเริ่มปฏิบัติการโจมตีในวันที่ 7 ตุลาคม ความรุนแรงระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง เมื่อในวันจันทร์ (23 ตุลาคม) กองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Forces) ออกมายืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าบุกกาซาต่อ โดยกำลังเตรียมพร้อมที่จะบุกทั้งทางอากาศ พื้นดิน และพื้นน้ำ เพื่อกวาดล้างกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก และได้เคลื่อนกองทัพและยุทโธปกรณ์ต่างๆ ไปที่ชายแดนเรียบร้อยแล้ว

33yz3d2-highres

การประกาศนี้ทำให้ทั้งโลกออกมาจับตามองการเคลื่อนไหวของอิสราเอล โดยเฉพาะผู้นำอาหรับที่ออกมาประณามการกระทำของอิสราเอลพร้อมเรียกร้องให้ผู้นำของทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าคุยกันเพื่อฟื้นความตกลงเพื่อสร้างความสงบแทนการใช้กำลังทหารห้ำหั่นกันเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่าย 

ขณะที่ ผู้นำสหรัฐฯ และประเทศยุโรปและตะวันตกต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชกาณาจักร และ แคนาดา เข้าร่วมพูดคุยในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเพื่อหารือวิธีคลี่คลายสถานการณ์และระงับไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามไปเป็นสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีการเรียกร้องให้กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลมาเพิ่ม ซึ่งหมายความว่าอาจมีการพูดคุยกันอีกซักพักก่อนแทนที่จะมีการบุกภาคพื้นดินเข้าไป ซึ่งเสี่ยงจะยั่วยุให้กลุ่มที่สนับสนุนกลุ่มฮามาสอยู่เคลื่อนไหวได้

 

ประชาชนกาซาเดือดร้อนหนัก ไม่มีน้ำ-ไฟฟ้า เสียชีวิตแล้วกว่า 5,000 คน

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อิสราเอลได้ดำเนินการโจมตีทิ้งระเบิด และส่งมิสไซล์เพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มฮามาสอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่กาซา โดยเฉพาะกาซาเหนือได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะการโจมตีทำให้บ้านเรือนรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานเสียหาย 

จากข้อมูลของจากทั้งจาก IDF และกระทรวงสาธารณสุขของปาเลสไตน์ นับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม การโจมตีทำให้มีผู้ต้องอพยพพลัดถิ่นในพื้นที่กาซาแล้ว 1.4 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้รวมแล้วกว่า 6,000 คน โดยเป็นชาวอิสราเอลประมาณ 1,400 คน และชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 5,182 คน คิดเป็นผู้เสียชีวิตจากกาซา 5,087 คน จากเวสต์แบงก์ 95 คน และบาดเจ็บประมาณ 17,101 คน จากกาซา 15,273 คน และจากเวสต์แบงก์ 1,828 คน 

การโจมตีอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนในปาเลสไตน์ได้รับความลำบากจากการขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ไฟฟ้า และน้ำสะอาด ทำให้ประชาชนต้องใช้ชีวิตอย่างไม่มีสุขลักษณะ และบริโภคน้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด เกิดโรคระบาดภายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโรคท้องร่วง โรคฝีดาษ และโรคหิด

33yz7bb-highres 

อย่างไรก็ตาม นอกจากโรคระบาดแล้ว ผลกระทบที่ร้ายแรงกว่าจากการขาดแคลนสาธาณูปโภคเหล่านี้คือการที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสถานพยาบาลในพื้นที่กาซาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และต้องรองรับผู้ป่วยที่ในตอนนี้ล้นเกินความสามารถของทั้งเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ที่มี

จากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสถานพยาบาลของปาเลสไตน์เจอการโจมตีถึง 250 ครั้งจากอิสราเอล ทำให้ปัจจุบันโรงพยาบาลถึง 10 แห่งจาก 35 แห่งไม่สามารถใช้งานได้ มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เสียชีวิตถึง 54 คน บาดเจ็บ 90 คน และรถพยาบาลเสียหายจนใช้งานไม่ได้ไป 23 คัน ทำให้โรงพยาบาลที่ยังเหลือต้องรองรับผู้ป่วยมากกว่า 150% ของความสามารถและอุปกรณ์ที่มี โดยโรงพยาบาล Shifa ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในกาซาในปัจจุบันต้องรองรับผู้ป่วยถึง 5,000 คน จากที่มีกำลังรองรับได้เพียง 700 คน

33yx43w-highres

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่การแพทย์ที่เหลืออยู่ยังไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่เพราะขาดแคลนไฟฟ้า น้ำ ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยพบว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องทำการผ่าตัดผู้ป่วยโดยไม่มีการใช้ยาสลบ และต้องอาศัยไฟจากโทรศัพท์มือถือในการผ่าตัดเพราะไม่มีไฟฟ้าสำหรับหลอดไฟส่องสำหรับการผ่าตัดเหมือนปกติ

โดยถึงแม้ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาจะเริ่มมีการลำเลียงอุปกรณ์และสิ่งของช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติเข้าไปได้แล้วเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีความขัดแย้งมา โฆษกขององค์การสหประชาชาติก็ออกมาประกาศว่าความช่วยเหลือเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ เพราะคิดเป็นไม่ถึง 4% ของสิ่งของที่คนปาเลสไตน์จำเป็นต้องมีในการใช้ชีวิต นอกจากนี้ยังไม่มีการส่งเชื้อเพลิงหรือน้ำมันเข้าไป ทำให้เสี่ยงขาดเชื้อเพลิงสำหรับผลิตน้ำเปล่าจากน้ำเค็ม สำหรับผลิตอาหาร และสำหรับขนส่งคนหรือผู้ป่วย

33yy9tz-highres

 

ที่มา: CNBC, Al Jazeera, BloombergCNN 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT