หนึ่งในคำถามที่ได้ยินบ่อย ๆ เกี่ยวกับการบริจาคและลดหย่อนภาษีสำหรับผม คือ “บริจาคยังไงให้คุ้มและลดหย่อนภาษีได้ครบถ้วน” ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจ และอยากชวนคิดในประเด็นนี้กันครับ
อันดับแรก สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนคือ คำว่า “บริจาคให้คุ้มค่า” ต้องมองกลับมาว่า “คุ้มค่าในประเด็นไหน” บ้างครับ เพราะการบริจาคถือเป็นการใช้เงินในรูปแบบหนึ่งครับ (หมายเหตุ ในบทความนี้เราจะพูดถึงการบริจาคเป็นตัวเงินเท่านั้นนะครับ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดครับ)
ดังนั้นคำว่า “คุ้มค่า” ต้องมาตีความว่าเรามองที่อะไร เช่น
จากที่เล่ามาทั้งหมด เราจะเห็นว่าความคุ้มค่าในแต่ละมุมไม่เหมือนกัน แต่เราไม่สามารถเอาความคุ้มค่าที่พูดมาทั้งหมดนั้น มาวัดเป็นจำนวนเงินได้ เพราะเงินที่เราจ่ายไปนั้น มันมากกว่าสิ่งที่ได้รับกลับมาเป็นตัวเงินอยู่แล้ว
เวลาที่ได้ยินคนบอกว่า บริจาคเพื่อลดภาษีที่ต้องจ่าย ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมว่าเราต้องเข้าใจประเด็น การบริจาคที่ว่านั้น เป็นการลดหย่อนภาษี แต่ไม่ใช่การลดภาษีได้เต็มจำนวนเงินที่บริจาคไป เพราะสิทธิในการลดหย่อนภาษีของเงินบริจาคนั้น จะใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เรามีรายได้เงินเดือน 500,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และมีค่าลดหย่อนทั้งหมด (ก่อนเงินบริจาค) 100,000 บาท
ดังนั้นเราจะมีเงินได้สุทธิก่อนหักเงินบริจาคจำนวน 300,000 บาท แบบนี้จะใช้สิทธิหักเงินบริจาคได้สูงสุด 30,000 บาท (ไม่เกิน 10% ของ 300,000 บาท) ซึ่งแปลว่าถ้าหากเราบริจาคเกินกว่า 30,000 บาท เราก็จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดแค่ 30,000 บาทเท่านั้น และถ้าใครเคยยื่นภาษีออนไลน์จะรู้ว่าเราต้องกรอกเงินบริจาคเป็นรายการสุดท้าย ซี่งระบบจะกำหนดให้ไม่เกิน 10% ไว้อยู่แล้ว
.
และเพื่อให้ชัดเจนเรื่องของการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษ๊ ผมอยากชวนขยายความเพิ่มเติมถึงเรื่องนี้ครับ นั่นคือ การบริจาคที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ (สำหรับบุคคลธรรมดา) ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น และเป็นเงินที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น มูลนิธิ หรือ องค์การสาธารณกุศล ที่กฎหมายรองรับ โดยเรามีหน้าที่เก็บหลักฐานการบริจาค หรือจะบริจาคผ่านระบบการบริจาคที่ชื่อว่า e-donation ซึ่งไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาค ซึ่งต้องทำตามหลักการแบบนี้ถึงจะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ครับ
.
นอกจากนั้น ยังมีศัพท์เพิ่มเติมที่ต้องรู้อีกนิดหน่อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ นั่นคือ
เช่น หากเป็นการบริจาคแบบธรรมดาจำนวน 100 บาท (1 เท่า) เราสามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้จำนวน 100 บาท แต่ถ้าบริจาคลดหย่อน 2 เท่า คือ บริจาค 100 บาทจะเอามาลดหย่อนภาษีได้ 200 บาทครับ
ซึ่งเงื่อนไขของการบริจาคกลุ่ม 2 เท่านี้ คือ บริจาคให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันก็จะมี การศึกษา รพ. รัฐ และ อื่นๆ ครับ ลองตรวจสอบข้อมูลได้ตามนี้ครับ
https://www.rd.go.th/29157.html
https://www.rd.go.th/27811.html
https://www.rd.go.th/28654.html
https://edonation.rd.go.th/donate/Rep_AppDonate.jsp
https://epayapp.rd.go.th/rd-edonation/portal/for-donor
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าไม่ว่าจะบริจาค 1 เท่าหรือ 2 เท่า เราสามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตัวอื่นๆ อย่างที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นนะครับผม
สุดท้ายแล้ว เมื่อมีคำถามว่า บริจาคอย่างไรให้คุ้มค่าและลดหย่อนภาษีได้ครบถ้วน ผมอยากชวนให้ลองเช็คอีกทีว่า เราบริจาคไปเพื่ออะไร และ ได้ตรวจสอบข้อมูลการลดหย่อนภาษีพร้อมเก็บหลักฐานที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง
และบางทีเราอาจจะได้รับคำตอบว่า การบริจาคที่คุ้มค่าสำหรับเรา อาจจะไม่ใช่การบริจาคแล้วได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงที่สุด แต่เป็นการบริจาคที่เราทำแล้วรู้สึกสบายใจมากที่สุดก็ได้นะครับ :)
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เจ้าของเพจ TAXBugnoms