ในโลกของการลงทุน นักลงทุนรายใหม่หรือแม้แต่รายเก่าหลายคนอาจไม่รู้ว่าจะเริ่มหรือจัดระเบียบพอร์ตโฟลิโอในการลงทุนอย่างไรท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพราะการลงทุนในหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางการเงินของผู้ลงทุน และเป้าหมายในการลงทุน เพราะบางคนอาจมุ่งลงทุนในหุ้นความเสี่ยงสูงที่อาจสร้างกำไรมหาศาลในระยะสั้นๆ หรือการถือหุ้นพื้นฐานดีความเสี่ยงต่ำยาวๆ เพื่อความปลอดภัย
ในบทความนี้ ในวันที่หุ้นไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนมาเปิดพอร์ตล่าสุดของนักลงทุนดัง 3 คน คือ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ (Warren Buffett), ‘บิล แอคแมน’ (ฺBill Ackman), และ ‘จอร์จ โซรอส’ (George Soros) กันว่าเขาเหล่านี้ถือหุ้นอะไรไว้ในพอร์ตมากที่สุด พร้อมเทคนิคในการเลือกหุ้นเหล่านั้น
เปิดพอร์ตแรกกันที่พอร์ตของ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ นักลงทุนระดับโลกที่นักลงทุนหรือผู้ที่สนใจการลงทุนทุกคนน่าจะรู้จัก เพราะชื่อของเขามักจะปรากฎอยู่ในหน้าสื่อเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในพอร์ตโฟลิโอของเขาในบริษัท Berkeshire Hathaway เพราะบัฟเฟตต์ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘นักลงทุนเน้นคุณค่า’ (value investor) ที่ต้องมีสายตาแหลมคมในการเลือกหุ้นที่พื้นฐานดี มีศักยภาพในการเติบโต แต่ยังมีมูลค่าต่ำกว่าศักยภาพที่ตัวเองมี
ดังนั้น หุ้นในพอร์ตโฟลิโอของบัฟเฟตต์มักจะเป็นหุ้นของบริษัทใหญ่ที่มีความมั่นคง มีศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรสูง ซึ่งศักยภาพ และ ‘คุณค่า’ ที่เป็นพื้นฐานในธุรกิจเหล่านี้เองจะดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เองในอนาคต โดยถึงแม้ราคาของหุ้นเหล่านี้อาจจะเพิ่มขึ้นไม่รวดเร็วทันใจ แต่ก็มักจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และยากที่จะดิ่งฮวบลงมาหากไม่เกิดเหตุร้ายแรงขึ้น เช่น คดีฟ้องร้อง หรือสงครามที่กระทบกับการผลิตและให้บริการของบริษัทอย่างรุนแรง เป็นต้น
โดยในรายงานที่บริษัท Berkshire Hathaway ยื่นแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ในวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา 5 อันดับหุ้นแรกที่บัฟเฟตต์ถือไว้มากที่สุด คือ
จากลิสต์นี้จะเห็นได้ว่าหุ้น 5 อันดับแรกในพอร์ตโฟลิโอของบัฟเฟตต์ล้วนแต่เป็นบริษัทใหญ่ระดับโลกหรือระดับประเทศที่มีความมั่นคงสูง และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือหากมีราคาตกลงก็มีศักยภาพสูงในการฟื้นตัวขึ้นมา ทำให้มีจังหวะในการซื้อหุ้นในราคาต่ำ และขายออกเพื่อทำกำไรในช่วงที่หุ้นมีราคาสูงขึ้น หรือจะถือระยะยาวเป็นเวลาหลายปีรอให้มูลค่าหุ้นขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ โดยหุ้นที่หลายๆ คนมองว่ามีมูลค่าสูงแล้วอย่าง Apple เองก็มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 317.48% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้น แม้หุ้นบางตัวจะมีราคาสูงแล้ว หากหุ้นนั้นเป็นหุ้นของบริษัทที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ก็ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจ และสามารถทำให้เงินทุนเรางอกเงยได้ไม่แพ้บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ
ทั้งนี้ หากใครเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า นอกจากการเข้าถือหุ้นบริษัทใหญ่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการมองหาบริษัทพื้นฐานดียังมีมูลค่าต่ำ ซึ่งจะต้องเกิดจากการศึกษาแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก และศึกษาศักยภาพในการทำธุรกิจของบริษัทนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ ความรู้ความสามารถและทัศนคติของชุดผู้บริหาร รวมถึงศักยภาพในการเติบโตในอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ซึ่งถ้าหากเราตาแหลมคม สามารถเล็งเห็น และเข้าไปลงทุนในบริษัทที่สามารถเป็น Apple หรือ Coca Cola รายต่อไปได้ เราก็มีโอกาสได้กำไรมหาศาลเมื่อบริษัทเหล่านี้เริ่มประสบความสำเร็จ และกลายเป็น household name ในตลาด
ถัดจากบัฟเฟตต์ มาต่อกันที่พอร์ตโฟลิโอของ ‘บิล แอคแมน’ นักลงทุนสาย Activist ชื่อดังระดับโลก ที่มีชื่อเสียงในการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่มีศักยภาพเติบโต แต่อาจจะมีปัญหาภายในบางอย่างที่ทำให้บริษัท underperform และเข้าไปดำเนินการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้บริษัทนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งอาจทำได้ทั้งการควบคุมหรือเปลี่ยนตัวบอร์ดผู้บริหาร หรือเสนอแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจให้ผู้ถือหุ้นบริษัทโหวตให้บริษัทดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการ
โดยในรายงานที่บริษัท Pershing Square Capital Management บริษัทลงทุนและจัดการหลักทรัพย์ของบิล แอคแมนยื่นแก่สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ในวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา 5 อันดับหุ้นแรกที่แอคแมนถืออยู่คือ
หากดูจากรายชื่อดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแอคแมนก็เป็นนักลงทุนที่เน้นถือหุ้นบริษัทใหญ่ที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการเติบโตสูงเช่นเดียวกัน เช่น Hilton ที่เป็นเชนโรงแรมระดับโลก และ Alphabet บริษัทแม่ของ Google ที่เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก
ทั้งนี้ สำหรับบางบริษัท เช่น บริษัท Chipotle Mexican Grill ซึ่งแอคแมนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บทบาทของเขาเป็นมากกว่าผู้ถือหุ้น เพราะเขาได้เข้าไปซื้อหุ้น Chipotle ในช่วงที่หุ้นของบริษัทนี้กำลังตกต่ำที่สุดจากข่าวอาหารปนเปื้อนเชื้อ E. coli ซึ่งเขามองว่าเป็นจังหวะซื้อ เพราะนอกจากปัญหานี้แล้ว Chipotle เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานดี เพราะเป็นเจ้าของร้านอาหารทั้งหมด ไม่ได้เปิดให้คนอื่นเป็นเจ้าของ และไม่มีปัญหาหนี้
โดยเมื่อแอคแมนเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทก็ได้รับเงินทุนมาแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจ และเรียกความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคกลับมาได้สำเร็จ ทำให้ราคาหุ้นของ Chipotle เพิ่มขึ้นมาเกือบ 600% นับจากปี 2016 ที่แอคแมนเข้าซื้อหุ้น และทำให้ปัจจุบัน Chipotle เป็นหนึ่งในเชนร้านอาหารใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสหรัฐฯ
สไตล์ในการลงทุนนี้ทำให้แอคแมนมีความแตกต่างกับบัฟเฟตต์ในแง่ที่ว่าเขาจะไม่เพียงเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่มีโอกาสเติบโตสูงเท่านั้น แต่จะมองหาหุ้นของบริษัทที่กำลังมีปัญหา แต่ยังพื้นฐานดี เพื่อเข้าไปช่วยอัดฉีดเงินทุน หรือปรับเปลี่ยนการจัดการของบริษัทให้มีผลประกอบการดีขึ้นด้วย
สำหรับพอร์ตโฟลิโอสุดท้าย เป็นของ ‘จอร์จ โซรอส’ นักการเงินและนักลงทุน ที่โด่งดังในชื่อ ‘พ่อมดการเงิน’ ที่หลายๆ คนอาจจะรู้จักในฐานะผู้ชอร์ตค่าเงินปอนด์ และค่าเงินบาท โดยอาศัยการวิเคราะห์ช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในช่วงย่ำแย่ เพื่อทำกำไรเมื่อค่าเงินทรุดลง ทำให้เขามีชื่อเสียงในการวิเคราะห์ สังคมการเมืองประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในการทำนายแนวโน้มของค่าเงิน หรือหุ้น
โดยในรายงานที่บริษัท Soros Fund Management ยื่นแก่สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ในวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา 5 อันดับหลักทรัพย์แรกที่โซรอสถืออยู่คือ
โดยในลิสต์นี้ มีหลักทรัพย์ที่น่าสนใจคือ กองทุน Invesco QQQ Trust, Series 1 หรือ ETF ที่ลงทุนตาม NASDAQ-100 Index ซึางส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Apple, Microsoft, Amazon และ Google ซึ่งเป็นหุ้นที่มีความมั่นคง และเหมาะกับการถือสร้างกำไรในระยะยาว