วันนี้ (24 มิ.ย.) มีแถลงข่าวร่วม 3 หน่วยงาน “มาตรการขับเคลื่อนตลาดทุนไทย” โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไทย (ก.ล.ต.) และนายภากร ปิตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาที่จะจัดตั้งกองทุน “วายุภักษ์ 3“ ซี่งขอเวลาศึกษาประมาณ 2 เดือน ซึ่งมีกองทุนวายุภักษ์ 1 และวายุภักษ์ 2 อยู่แล้วที่มีเม็ดเงินอยู่แล้ว 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะออกกองทุนใหม่ เพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไป 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3% ถ้าเป็นการอ้างอิงจากเงื่อนไขเดิม เบื้องต้นคาดว่าจะได้เหนในไตรมาส 3/2567
” ขอเวลาศึกษากองทุนวายุภักษ์ ซึ่งเป็นกองใหม่ เนื่องจากมีกองทุนวายุภักษ์ 1-2 อยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นกองวายุภักษ์ 3 ซึ่งคาดว่าจะขายประชาชน ในวงเงินประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ส่วน Thai ESG คาดว่าจะนำเสนอครม.อนุมัติได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเชื่อว่ามาตรการต่างๆ ที่ออกมาจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติได้ดีขึ้น” นายพิชัยกล่าว
นาย พิชัย กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นไทยประสบปัญหาเพราะเศรษฐกิจไทยเติบโตและฟื้นตัวได้ไม่มากและรวดเร็วเท่าที่คาด จากความท้าทายหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ‘ปัจจัยภายใน’ อย่าง สถานการณ์การเมือง ความล่าช้าต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ และ ‘ปัจจัยภายนอก’ อาทิ ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า
นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตโควิด ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ GDP ติดลบร้อยละ 6.1 (หรือ -6.1%) ในปี 2563 และยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปลายปี 2566 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของไทย เริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงในปีนี้และต่อเนื่องไปในปีหน้า แม้ว่ายังมีความกดดันจากความขัดแย้งทางการเมืองในต่างประเทศ และความผันผวนของตลาดการเงินจากนโยบายการเงินของประเทศมหาอำนาจ
นาย ภากร กล่าวว่า แม้ดัชนีราคาหุ้นไทย หรือ SET Index จะมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากผลประกอบการที่ลดลงตามเศรษฐกิจ และการที่ทั้งนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนไทยขาดความเชื่อมั่นจนเทขาย ข้อมูลของตลท. ระบุว่าผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ของบริษัทจดทะเบียนไทยเกินครึ่งรายงานกำไรสุทธิสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
นอกจากนี้ ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ผลประกอบการฟื้นตัวได้ดีขึ้นโดดเด่นกว่าอุตสาหกรรมอื่น นั่นก็คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ขณะที่โดยรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ไทย ผลประกอบการไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้น 1.7% ทำให้ ตลท. จึงมองว่าหุ้นไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องในปีนี้
นาย ภากร มองว่าระดับราคาของหุ้นไทยที่ปรับลดลง ในขณะที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เป็นโอกาสของการเข้าลงทุนในระยะยาวที่รับความเสี่ยงผันผวนในระยะสั้นเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ตอบโจทย์การสร้างความเพียงพอ และความมั่นคงทางการเงินของผู้ลงทุนได้
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไทย (ก.ล.ต.) เผยว่า ทั้ง 3 หน่วยงานรัฐมองว่าการปรับตัวของราคาของหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว อาจไม่ทำให้นักลงทุนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ คนที่มีรายได้น้อย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออมมาลงทุนในหลักทรัพย์ และเพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวได้
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการออมและการลงทุนผ่านการตั้งกองทุนต่างๆ ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสามารถจูงใจให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดการออม สร้างกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (fund flow) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อลดผลกระทบระยะสั้น และสร้างการลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดทุนให้ลดการพึ่งพิง fund flow จากต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพในตลาดทุน เช่น RMF LTF SSF และ SSFX
โดยมาตรการส่งเสริมการออมล่าสุดคือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund: TESG fund) หรือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นใน SET หรือ mai รวมไปถึงหุ้นกู้และสินทรัพย์ดิจิทัล หรือดิจิทัลโทเคนต่างๆ ที่ให้ความสำคัญ และมีแนวดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลัก ESG
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้กล่าวมีความน่าดึงดูด และยืดหยุ่นเหมาะกับนักลงทุนรายย่อยมากยิ่งขึ้น กระทรวงการคลังได้มีการปรับเงื่อนไขกองสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ TESG รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่มีในปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
เกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้การถือครอง Thai ESG มีความยืดหยุ่นมากขึ้น นักลงทุน exit ได้เร็วมากยิ่งขึ้นไม่ต้องถือยาวถึง 8 ปี รวมถึงทำให้ผู้จัดการกองทุนมีตัวเลือกในการเลือกสินทรัพย์มาใส่ในกองทุนได้มากขึ้นประมาณ 200 ตัว จากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 128 ตัว มาเป็น 320 กว่าตัว
นอกจากนี้ เกณฑ์สินทรัพย์ ESG ที่กว้างขึ้นจากเรื่องสิ่งแวดล้อมมารวมถึงเรื่องบรรษัทภิบาลด้วยจะผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนออกมายกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน และเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพและสร้างเสริมศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนไทยในระยะยาว ในยุคปัจจุบันที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนได้
นาย พิชัย เผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ดังกล่าวเข้าครม.พิจารณาอนุมัติในสัปดาห์หน้า ขณะที่ นาง พรอนงค์ เผยว่า ก.ล.ต. จะเปิดเผยเกณฑ์การพิจารณาบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านบรรษัทภิบาลให้บริษัทจดทะเบียนและประชาชนรับทราบภายในสองสัปดาห์หลังจากมีการยื่นการปรับเปลี่ยนเกณฑ์เข้าครม.
นอกจากนี้ ภาครัฐยังศึกษาความสำเร็จของกองทุนในรูปแบบอื่น อาทิ กองทุนวายุภักษ์มาเสริมสร้างกลไก การออม การลงทุนให้กับประชาชนผ่านรูปแบบการลงทุนร่วมของภาครัฐ ร่วมกับการขับเคลื่อนและผลักดันการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์ในอนาคต และการพัฒนา Exchange-Traded Fund (ETF) รวมทั้งบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการลงทุนระยะยาว (Individual Saving Account) ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น
นอกจากการปรับเกณฑ์กองทุนแล้ว ตลท. และ ก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) ยังได้ผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของนักลงทุน และเพิ่มความเชื่อมั่นตลาดทุน รวมถึงแก้ไขปัญหาที่ท้าทายตลาดในปัจจุบัน ทั้งจากธุรกรรมขายชอร์ตและการซื้อขายของโปรแกรมเทรด
โดยการยกระดับมาตรการกำกับดูแลนี้ จะเป็นการยกระดับการกำกับดูแลทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่
ทั้งนี้ ตลท. ยังมีมาตรการทบทวนหลักทรัพย์ที่ Short Selling ได้ โดยหากเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ใน SET 100 จะต้องมีมูลค่าตลาดมากกว่า 7,500 ล้านบาท มี turnover rate เฉลี่ย 12 เดือนที่ 2% การเพิ่ม uptick รายหลักทรัพย์ ให้ขายชอร์ตได้ในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย เปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งไม่เหมาะสม และลงทะเบียนผู้ใช้ HFT หรือ high frequency trading ในการซื้อขาย โดยเกณฑ์ใหม่ทั้งหมดนี้จะมีผลในวันที่ 1 ก.ค. 2567
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่นๆ เพื่อกำกับดูแลพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสมอีกมากมายที่จะมีผลบังคับใช้ในภายหลังทั้งในครึ่งปี 2567 หลัง และปี 2568 เช่น การกำหนดเวลาขั้นต่ำของ order ก่อนที่จะสามารถยกเลิกได้ การเพิ่ม circuit breaker รายหุ้น การเพิ่มคุณภาพการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ การทำ auto halt รายหุ้น เป็นต้น
หลังจากมีการบังคับใช้แล้ว ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะติดตามผลของการดำเนินการและมีการทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และย้ำว่าทั้งสองหน่วยงานจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เมื่อพบพฤติกรรมการกระทำผิดในลักษณะที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) รวมทั้งการกำหนดปรับปรุงค่าปรับจากการกระทำผิดที่สูงขึ้นและการปรับแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อป้องปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนในมิติการลงทุนระยะยาว และการกำกับที่เข้มข้นมากขึ้น ตลท. และ ก.ล.ต. ยังมีการขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว เช่น