Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เปิดลิสต์บริษัทร่วมชิงใบอนุญาต ‘Virtual Bank’ ใครจะได้ไปครอง?
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

เปิดลิสต์บริษัทร่วมชิงใบอนุญาต ‘Virtual Bank’ ใครจะได้ไปครอง?

23 ก.ย. 67
11:28 น.
|
2.7K
แชร์

ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) หรือ Digital-only bank คือ ธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ โดยไม่มีสาขา หรือตู้ ATM ทำให้ต้นทุนต่ำกว่า

เปิดลิสต์บริษัทร่วมชิงใบอนุญาต ‘Virtual Bank’รอฟังแบงก์ชาติประกาศจำนวนราย ใครจะได้ไปครอง?

ธนาคารไร้สาขา หรือ Virtual Bank) คืออะไร? 

‘ธนาคารไร้สาขา หรือ Virtual Bank คือ ธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ไม่มีสาขา โดยให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก โดยไม่มีสาขา และไม่ต้องมีตู้ ATM ทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารประเภทนี้มีต้นทุนต่ำกว่า และสามารถแข่งขันให้บริการ

โดย วัตถุประสงค์ ของ Virtual Bank นั้น ต้องการให้มีบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินที่มีอยู่เดิมผ่านช่องทางดิจิทัล และมีบริการที่เหมาะสม และสร้างประสบการณ์ด้านบริการทางเงินดิจิทัลที่ดีให้กับลูกค้า รวมถึง ส่งเสริมและกระตุ้นการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินที่เหมาะสม

โดยเน้นกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 

  1. ผู้ไม่มีรายได้ประจำ และ SMEs 
  2. กลุ่มที่ไม่ได้รับบริการการเงินอย่างเพียงพอ (Underserved) 
  3. กลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (Unserved) 
  4. กลุ่มเข้าไม่ถึงสินเชื่อ 
  5. กลุ่มเป็นหนี้นอกระบบ 

Virtual Bank อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. เสมือนธนาคารพาณิชย์ และได้รับความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

img_1051

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.จนถึง 19 ก.ย.67 ซึ่ง ธปท. มีแผนให้ใบอนุญาตเพียง 3 ใบเท่านั้น ซึ่งกระบวนการต่อจากนี้ คือ อยู่ระหว่างการพิจารณาของธปท.ซึ่ง ธปท.อาจจะมีการให้ผู้ที่ยื่นขอใบอนุญาตเข้ามาชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณา ประมาณ 9 เดือน 

โดยธปท.จะเสนอรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกต่อคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน หลังจากนั้นจะนำเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผ่านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ซึ่งคาดว่าจะทราบผลความเห็นชอบของรมว.คลัง และประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้ง Virtual Bank ในช่วงเดือนมิ.ย.2568 

ภายหลังจากประกาศชื่อผู้ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้ง Virtual Bank แล้ว มีระยะเวลาการเตรียมตัวตน 1 ปี โดยให้ดำเนินการเตรียมความพร้อม และยื่นขอใบอนุญาตกับการกระทรวงการคลัง ผ่านธปท.ซึ่งธปท.ต้องดำเนินการเข้าตรวจสอบก่อนเสนอความเห็นต่อรมว.คลัง เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป ซึ่งรมว.คลังพิจาณาให้ความเห็นชอบแล้วก็สามารถดำเนินการเปิดให้บริการได้ ภายในเดือนมิ.ย.2569

เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2567 ที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายของการยื่นขอใบอนุญาต ซึ่งแหล่งข่าวในแวดวงการเงิน กล่าวกับ SPOTLIGHT ว่า คาดว่าจะมีผู้ยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank ราว 5 ราย ดังนี้ 

  1. Krungthai +AIS + GULF + OR

ธนาคารกรุงไทย แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส AIS และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ร่วมกันยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank โดยแต่ละบริษัทมีฐานลูกค้าจำนวน ทั้ง  ADVANCE มีลูกค้าโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตบ้าน รวม 50.6 ล้านคน OR มีสมาชิกบลูการ์ด (Blue) 7.9 ล้านคน กรุงไทย มีลูกค้าใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง และถุงเงิน จำนวนรวม 59 ล้านคน และ GULF ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแล้ว รวมทั้งสิ้น 117.5 ล้านคน

โดยแต่ละบริษัทมีความเข้าใจเป็นอย่างดีตลาดดี  อาทิเช่น กรุงไทยมีจุดแข็งของการทำธุรกรรมการเงิน ตรวจเช็คถึงความสามารถในการปล่อยกู้ ส่วน AIS เป็นค่ายมือถือที่แข็งแกร่ง และฐานลูกค้าที่หนาแน่น 

     2. SCBX +Kakaobank +WeBank

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCBX ประกาศร่วมมือกับ Kakaobank ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ในการเตรียมตัดตั้ง Virtual Bank และเมื่อ 22 มี.ค.2567 SCBX ได้ประกาศความร่วมือกับ WeBank ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน ในฐานะพันธมิตรด้านเทคโนโลยี เพื่อผนึกกำลังมุ่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

โดยนายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCBX ได้เคยบอกไว้ว่า “เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และมีความคล่องตัวจะเป็นรากฐานที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ Virtual Bank ประสบความสำเร็จ”

WeBank เป็นธนาคารดิจิทัลชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง โดยความร่วมมือกันจะช่วยขยายขอบเขจและศักยภาพทางเทคโนโลยีของ Virtual Bank และพร้อมที่จะยกระดับประสบการณืการใช้บริการธนาคารที่ดียิ่งขึ้น และมุ่งหวังจะร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และการบริการที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการชองคนไทย

โดยความเชี่ยวชาญ จาก KakaoBank ธนาคารดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ฐานลูกค้า 22.8 ล้านคน ขณะที่ SCBX มีผู้ใช้ Mobile Banking ราว 16 ล้านคน และ WeBank เป็นฟินเทค ภายใต้เมยเซ็นต์ กรุ๊ป (Tencent Group) ของจีน มีฐานลูกค้า 365 ล้านคน ในฐานะพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ทำให้มีฐานลูกค้ารวมกัรทั้งสิ้น 403.8 ล้านคน

       3. CP Group + Ant Group 

โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ร่วมมือกับ แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ซึ่งเป็นผู้นำในฟินเทค และเป็นบริษัทลูกของอาลีบาบา (Albaba) จากจีน ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1,300 ล้านคน ซึ่ง CP Group ส่ง True Money ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ ร่วมยื่นขอใบอนุญาตธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา

 ทั้งนี้ True Money มีผู้ใช้ 27 ล้านคนทั่วประเทศ มีการใช้จ่ายผ่านสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นกว่า 14,500 สาขา และ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต กว่า 2,400 สาขา ขณะที่ อาลีเพย์ (Alipay) ให้บริการมากกว่า 1,300 ล้านคนในจีน และยังมีการให้สินเชื่อและให้กู้ยืมแก่เกษตรกรที่อยู่ห่างไกลโดยใช้ดาวเทียม  Ant Group จึงเป็นอีกหนึ่งเจ้าที่มีความแข็งแกร่งเรื่องของการนำนวัตกรรมในดิจิทัลแบงก์มาปรับใช้กับธุรกิจ Virtual Bank และทำให้กลุ่มพันธมิตรนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับใบอนุญาต

        4. Lightnet + WeLab

Lightnet Group และ WeLab ผู้นำฟินเทคระดับโลก ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ ยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของคนไทย พร้อมนำโซลูชันระดับโลกที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมาให้บริการในประเทศไทย คาดว่าจะทราบผลการพิจารณาภายในกลางปี 2568

โดย Lightnet Group ประสบการณ์อันแข็งแกร่งจากการบริหาร Virtual Bank ในฮ่องกงและอินโดนีเซีย ซึ่งรองรับลูกค้ากว่า 65 ล้านราย กลุ่มบริษัท Lightnet และ WeLab มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความต้องการของผู้ใช้บริการและกฎระเบียบทางการเงิน นอกจากนี้ การได้รับใบอนุญาตการให้บริการทางการเงินกว่า 20 ใบ ทั้งในเอเชียและยุโรป รวมถึงประเทศไทย และเครือข่ายระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าในไทยได้กว่า 46 ล้านราย เป็นเครื่องยืนยันถึงความพร้อมในการให้บริการ Virtual Bank ในประเทศไทย

         5. Sea Group + BBL + VGI +ไปรษณีย์ไทย + เครือสหพัฒน์

ซี กรุ๊ป (Sea Group) เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง  "ช้อปปี้" ได้ยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ,กลุ่มบีทีเอส (ผ่านบริษัทย่อยของวีจีไอ) , เครือสหพัฒน์ และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  และด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจธนาคารไร้สาขาในหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซี กรุ๊ป มีความมั่นใจที่จะเข้าแข่งขันในตลาดธนาคารไร้สาขาของไทย

ซี กรุ๊ป เจ้าของเกมดัง ROV และแพลตอร์ม Shopee  ยังมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจธนาคารไร้สาขาในหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย ด้วยความแข็งแกร่งของพันธมิตรทางธุรกิจ ประกอบกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของซี กรุ๊ป เอง ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะได้เห็นบริการธนาคารไร้สาขาภายใต้แบรนด์ "ช้อปปี้" หรือ "ซีมันนี" 

บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI เป็นบริษัทลูกของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลติ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ร่วมทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา โดย VGI เพิ่มทุนเพื่อรองรับไว้แล้ว 7,500 ล้านบาท ซึ่ง VGI จะเข้าถือหุ้นไม่เกิน 25% ที่มีประสบการณ์ในการให้บริการบัตรแรบบิท (Rabbit Card) เติมเงินบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ด้วย

ศึกช่วงชิงใบอนุญาต Virtual Bank ครั้งนี้ใหญ่หลวงหนัก นับเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดจริงๆ เมื่อยักษ์ใหญ่ในไทย ผนึกยักษ์ใหญ่ระดับโลกเข้ามาช่วงชิงใบอนุญาตในครั้งนี้ ที่ธปท.จะให้เพียง 3 ใบเท่านั้น ใครจะเป็นผู้ได้ไป เราคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด 

แชร์
เปิดลิสต์บริษัทร่วมชิงใบอนุญาต ‘Virtual Bank’ ใครจะได้ไปครอง?