ธุรกิจการตลาด

ขู่ปิด Facebook - IG ทั้งยุโรป หลังโดนกม.ขัดขา ‘ยิงโฆษณา’

7 ก.พ. 65
ขู่ปิด Facebook - IG ทั้งยุโรป หลังโดนกม.ขัดขา ‘ยิงโฆษณา’

Meta อาจต้องยุติการให้บริการ “Facebook และ Instagram” ในยุโรป หลังกฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้ใช้งานเข้มงวด กระทบประสิทธิภาพการยิงโฆษณา ทำลูกค้าหาย

 

000_1gc4n9

 

มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก แห่ง Meta อาจเป็นคนที่ต้องไป แก้ชงก่อนใคร หลังจากที่เจอข่าวร้ายไม่หยุดหย่อน เพราะนอกจากโปรเจกต์พัฒนาเงินคริปโทฯ ที่ชื่อ Libra (ชื่อใหม่คือ Diem) จะพังไม่เป็นท่า และเจอ การแข่งขันจาก Tiktok พร้อมการปกป้องข้อมูลจากระบบของ Apple จนผลประกอบการร่วงหนัก ยอดผู้ใช้ชะงัก หุ้นตกกระจายแล้ว ล่าสุด ยังต้องเผชิญกับ มรสุมใหญ่ไม่แพ้กันในฝั่ง "ยุโรป" ด้วย
 
ในรายงานของบริษัทที่แจ้งต่อ ก.ล.ต. สหรัฐ ล่าสุดนั้น Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ได้ส่งสัญญาณเตือนว่า บริษัทอาจจะต้องยุติการให้บริการ Facebook และ Instagram "ในยุโรปทั้งหมด" หากยุโรปยังไล่บี้หนักเรื่องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค จนส่งผลกระทบให้ Facebook ไม่สามารถโอนข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรป ไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์สหรัฐ และทำการ ยิงโฆษณาเฉพาะกลุ่ม ได้
 

file-20180528-1721g4vgzeq39ew

 

Meta ระบุว่า หากไม่สามารถเดินหน้าการโอนถ่ายข้อมูลข้ามทวีปได้ต่อ หรือยังไม่มีทางออกอื่นๆ ที่เหมาะสม บริษัทก็ต้องปิดบริการดังกล่าวในยุโรป โดยย้ำว่า “รายได้สำคัญทั้งหมดของเราตอนนี้ เกิดขึ้นจากการยิงโฆษณาจากแบรนด์ของลูกค้าบนเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม” ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “ข้อมูลผู้ใช้งาน” เพื่อที่จะให้แพลตฟอร์ม “ยิงโฆษณาได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ”

 

ทั้งนี้ ยุโรปมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ชื่อว่า "General Data Protection Regulation" หรือ GDPR ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2018 โดยเป็นเหมือนแม่แบบกฎหมายให้หลายประเทศทั่วโลก และจะส่งผลกระทบต่อ Facebook โดยตรง

 

หลังการรับรองกฎหมายดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้ใช้งานในสหภาพยุโรปจำนวน “มากขึ้นเรื่อยๆ” ที่เลือกปกป้องข้อมูลตัวเองไม่ให้ถูกยิงโฆษณา และผู้ที่เลือกแนวทางนี้จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกหากมาตรการเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้ระบบการยิงโฆษณาของ Facebook มีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน ซึ่ง รายได้จากการโฆษณาบนแพล็ตฟอร์มอย่าง Facebook และ IG ถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัท

 

 privacy_shield

 
Facebook เคยระบุว่า ในด้านการทำธุรกิจ หากกระบวนการยิงโฆษณาไร้ซึ่งความแม่นยำ จากการที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้แล้ว “นักการตลาดทั้งหลายอาจหยุดใช้บริการเรา” หรือ “ลดงบประมาณที่จะใช้กับเรา” ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์มการโฆษณาของ Facebook มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เพื่อนำไปสร้างโฆษณาที่ “เหมาะสมและแม่นยำ” กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ค่อนข้าง “ละเอียดอ่อน” เช่น ความสนใจ หรือพฤติกรรมของผู้ใช้งาน

 

อย่างไรก็ตาม Facebook ก็ยังใช้ "ช่องโหว่" ทำธุรกิจเหมือนเดิมตามปกติต่อไป ภายใต้ข้อตกลงการค้า “Privacy Shield” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐและคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเปิดทางให้ถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์สหรัฐได้ หากประเทศปลายทางสามารถ การันตีความปลอดภัยของข้อมูลผู้บริโภคยุโรปได้

 

แต่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2020 ศาลยุติธรรมยุโรป (Court of Justice of the European Union) ตัดสินว่าความร่วมมืดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นเพียง ตัวอย่างหนึ่งของอุปสรรคด้านข้อกฎหมายที่ Meta กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้

  pexels-cottonbro-5054355_1
 
ทั้งนี้ สถิติจาก Statista รายงานว่า จำนวนผู้ใช้งานต่อวันของ เฟซบุ๊ก ไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 มีจำนวน 427 ล้านคน หรือมากถึงเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้งานทั้งหมด ที่มีจำนวน 1.93 พันล้านคน หากจำนวนผู้ใช้เหล่านี้หายไป อาจส่งผลกระทบต่อทั้งบริษัท Meta รวมถึงธุรกิจน้อยใหญ่ที่ใช้ เฟซบุ๊ก เป็นช่องทางการสื่อสาร และเครื่องมือทางการตลาด
 
หากความกดดันทางด้านข้อกฎหมายของสหภาพยุโรป ทำให้ Meta ต้องยุติการให้บริการในสหภาพยุโรปจริง อาจส่งผลกดดันให้หุ้นเฟซบุ๊ก มีสภาพย่ำแย่ลงไปอีก หลังก่อนหน้านี้ หุ้นเฟซบุ๊กดิ่งลง 26.4% ในวันที่ 3 ก.พ. 65 จาก แรงกดดันของแพลตฟอร์มน้องใหม่ “TikTok” แรงกดดันเรื่อง การปกป้องข้อมูลของ Apple และจำนวนผู้ใช้งานต่อวันที่ ลดลงครั้งแรกในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา

 33243515_10104969495517941_85

 

การไล่บี้กันระหว่าง Facebook และรัฐบาลในยุโรป นั้น ถือเป็น "มหากาพย์" เรื่องยาว
ซึ่งอาจสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้

 

1. ยุโรปมีการออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคที่ชื่อว่า GDPR มาตั้งแต่ปี 2016 และมีผลบังคับใช้ในปี 2018 หลักๆ คือเพื่อคุ้มครองไม่ให้เอกชนเอาข้อมูลผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์มากเกินไปโดยผู้บริโภคไม่ได้รู้เห็น/ยินยอม เช่น การขายข้อมูลให้บุคคลที่ 3 เพื่อการยิงแอดโฆษณาตรงเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย และยุโรปยัง ห้ามการย้ายข้อมูลออกจากยุโรปไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ หากไม่สามารถรับประกันได้ว่ามีการปกป้องข้อมูลนั้นมากเพียงพอ

2. นอกจากการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคแล้ว ในอีกแง่หนึ่งยังเป็นการ กดดันให้บริษัทเทคโนโลยีสหรัฐ แก้ปัญหาด้วยการ เข้าไปตั้งบริษัทในยุโรปแทนด้วย เหมือนที่ Apple และ Google ทำมาแล้ว ซึ่งยุโรปจะได้ทั้ง ในแง่การกำกับดูแลและในแง่ภาษี

3. แต่ Facebook ใช้ช่องโหว่จากข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐ-ยุโรป เช่น ข้อตกลง “Privacy Shield” เกี่ยวกับ Transatlantic data transfers ทำให้ยังคง ถ่ายโอนข้อมูลในยุโรป ไปจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐ และยังสามารถทำการยิงแอดต่อ เพราะรายได้จาก การโฆษณาของแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม คือ รายได้หัวใจหลักที่หล่อเลี้ยงบริษัท

4. ยุโรปจึงเดินหน้าไล่บี้ต่อในปี 2020 - 2021 เช่น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อปิดช่องโหว่และเพิ่มความเข้มงวดขึ้น และการนำเคสของเฟซบุ๊กขึ้นสู่ศาล ซึ่งศาล CJEU ได้ตัดสินให้การกระทำของ Facebook ขัดต่อกฎหมาย GDPR นอกจากนี้ ทางฝั่ง คณะกรรมการผู้บริโภคในไอร์แลนด์ ก็มีการตัดสินให้ Facebook ยุติการถ่ายโอนข้อมูลข้ามทวีป เพราะขัดต่อกฎหมาย GDPR เช่นกัน หาก Facebook ยังดื้อแพ่งต่อ ยุโรปสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT