ในยุคดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ตระหนักถึงความสำคัญนี้ หลายประเทศทุ่มเททรัพยากร พัฒนาเทคโนโลยี AI และสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการใช้งาน สำหรับประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในประเทศสมาชิกของ APAC กำลังเผชิญกับโอกาสและความท้าทายในมิติของ AI โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 การใช้งาน AI จะสามารถสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยได้มากถึง 48,000 ล้านบาท
ไทยติดอันดับ 9 ความพร้อมด้าน AI ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ด้านภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกในแง่ของความพร้อมด้าน AI นั้น จากผลการศึกษาล่าสุดของ K-Research พบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมด้าน AI เป็นอันดับ 9 ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีคะแนนรวม 43.6 คะแนน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศผู้นำในภูมิภาค มูลค่าการลงทุน Venture Capital ในธุรกิจ AI ปี 2022 อยู่ที่ 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศผู้นำอย่างสิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น
สัดส่วนการลงทุนด้าน R&D ต่อ GDP ปี 2022 อยู่ที่ 0.5% ถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 2.4% ดังนั้นเป้าหมายด้าน AI ของไทย มุ่งหวังที่จะเพิ่มมูลค่าตลาด AI ไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาท ในปี 2027 เพื่อ ขยายสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากร ที่มีทักษะดิจิทัล หรือ Digital Talent รวมถึง การยกระดับความเชื่อมั่นใน AI สำหรับคะแนนรวมประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค มีดังนี้
- อันดับ 1 : สิงคโปร์ (70.1 คะแนน)
- อันดับ 8 : มาเลเซีย (47.3 คะแนน)
- อันดับ 10 : อินโดนีเซีย (39.3 คะแนน)
- อันดับ 11 : เวียดนาม (36.5 คะแนน)
ช่องว่างระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้นำด้าน AI และ แนวทางการพัฒนา AI ของไทย
ช่องว่างไทยกับประเทศผู้นำด้าน AI
- การลงทุนด้าน AI ไทยยังลงทุนน้อยกว่าประเทศผู้นำ
- ทักษะด้าน AI ของบุคลากร ไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI
- การใช้ AI ในภาคธุรกิจ ไทยยังมีการใช้ AI ในภาคธุรกิจน้อย
- ความเชื่อมั่นต่อการใช้ AI ไทยยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและจริยธรรมของ AI
แนวทางการพัฒนา AI ของไทย
- เพิ่มการลงทุนด้าน R&D รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนา AI
- พัฒนาทักษะด้าน AI ของบุคลากร ควรมีการฝึกอบรมทักษะด้าน AI ให้กับคนทุกวัย
- สนับสนุนการใช้ AI ในภาคธุรกิจ รัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุนให้ธุรกิจใช้ AI
- สร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้ AI ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ AI แก่ประชาชน
หากไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย AI จำเป็นต้อง เพิ่มการลงทุน พัฒนาทักษะด้าน AI ของบุคลากร ภาครัฐจะต้องสนับสนุนการใช้ AI ในภาคธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้ AI ให้แก่ภาครัฐและเอกชน
เทรนด์ AI สำหรับธุรกิจไทยปี 2024
เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) บริษัทผู้นำอันดับหนึ่งด้าน AI CRM (ระบบการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ Customer Relationship Management) ได้รวบรวมเทรนด์เทคโนโลยี และการใช้งาน AI ที่จะส่งผลต่ออนาคตของธุรกิจในประเทศไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียน สำหรับปี 2024 ดังนี้
- ใช้ AI สร้างโอกาสทองสำหรับธุรกิจไทย : ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการใช้งาน AI ธุรกิจไทยจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ AI ที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานข้อมูลที่มั่นคง ฝึกอบรมพนักงานให้พร้อมใช้งาน และนำ AI ไปใช้ในเชิงจริยธรรม
- ยุคแห่งการมีส่วนร่วมของลูกค้าด้วยระบบ AI : ธุรกิจต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และมอบประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคล โซลูชัน AI เฉพาะอุตสาหกรรมจะช่วยเข้าถึงลูกค้า ตอบสนองความต้องการ และรักษาฐานลูกค้าไว้ได้
- ใช้ AI ในการวางรากฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ:ธุรกิจควรพัฒนากลยุทธ์ด้านข้อมูลและใช้ประโยชน์จาก Generative AI เชื่อมต่อระบบเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วน ลดการจัดเก็บแบบแยกส่วน วิเคราะห์เชิงลึก ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- AI แชทบอท: แชทบอทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของมนุษย์ ธุรกิจต้องระมัดระวังในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล และความรับผิดชอบ ควบคุมดูแลแชทบอท ตรวจสอบ แก้ไขข้อผิดพลาด และป้องกันความเสียหาย
- ระบบออโตเมชัน : AI และระบบออโตเมชันจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ธุรกิจไทยเริ่มนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มเวลาให้กับพนักงาน AI สามารถช่วยวิเคราะห์หาความน่าจะเป็น และประมวลผลต่อโดยอัตโนมัติ ลดงานซ้ำ ๆ และเพิ่มเวลาให้พนักงานสามารถทำงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
- โมเดลภาษา LLM เฉพาะเจาะจง : Generative AI มีการเติบโต โมเดลภาษา LLM มีขนาดเล็กลง เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โมเดลเหล่านี้มีราคาถูก ประสิทธิภาพสูง และตอบสนองความต้องการเฉพาะ โมเดลภาษาไทย โมเดลเฉพาะทาง เก็บข้อมูลน้อย และประหยัดค่าใช้จ่าย
- AI ช่วยสร้างแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น : นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น ผ่านภาษาธรรมชาติ ใช้ชุดคำสั่ง ‘พร้อมท์’ เชื่อมต่อโมเดลภาษา LLM และฐานข้อมูล ทีมพนักงานที่ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้
- ฟังก์ชันการให้บริการลูกค้า : ผู้นำด้าน AI:การสืบค้นข้อมูลเชิงความหมายมีการพัฒนา ช่วยให้การบริการลูกค้ารวดเร็ว และตอบสนองความต้องการ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการลงทุนใน Generative AI และระบบออโตเมชัน ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ใช้ Einstein Chatbot ตอบคำถามลูกค้า
- ธุรกิจและพนักงานต้องวางแผนสร้างงานที่มีคุณค่า : ผู้นำธุรกิจต้องยกระดับทักษะของพนักงานให้พร้อมรับกับบทบาทใหม่ พัฒนาทักษะการสืบค้นคำถามเชิงความหมาย พัฒนา AI อย่างมีจริยธรรม พัฒนาทักษะทางพฤติกรรมและอารมณ์ วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาได้
เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และ AI มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไทยมีศักยภาพด้าน AI อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้เทรนด์ AI ปี 2024 ส่งผลต่อธุรกิจไทยและอาเซียน ธุรกิจไทยต้องใช้ AI อย่างชาญฉลาด พัฒนาทักษะพนักงาน และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง