กระบะแคปนั่งได้หรือไม่? อวสานกระบะแคป? กระบะแคปคาดเข็มขัดนิรภัยยังไง? เกิดกระแสความสงสัยในสังคมเป็นอย่างมาก หลังมีการประกาศ พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) โดยมีการกำหนดให้ "ผู้โดยสารตอนหลัง" ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาในขณะเดินทาง หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เริ่มกำหนดใช้ 5 ก.ย. 2565
• ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
• คนโดยสารที่นั่งแถวหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาขณะโดยสารรถยนต์
• คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6ปี ต้องให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
• คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะแถวตอนใด
ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
• รถที่จดทะเบียนก่อนปี 2531 ที่ไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ให้ถือว่าไม่มีความผิด
• รถกระบะที่จดทะเบียนก่อนปี 2537 จะยังไม่มีผลบังคับใช้
• รถกระบะที่ไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยจากโรงงาน จะมีข้อกำหนดพิจารณาอีกส่วน
• รถสามล้อ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม
• รถสองแถว รถบรรทุกขนาดเล็กที่จัดที่นั่งตามความยาวตัวรถ
• รถกระบะ รถกึ่งกระบะ
หลังจากสร้างความสับสนและวิตกกังวลในสังคมไม่น้อย เนื่องจากผู้ใช้รถกระบะประเภทแคปที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ยังคงไม่มั่นใจถึงการนั่งโดยสารในส่วนตอนหลังว่าสามารถกระทำได้หรือไม่
ล่าสุดมีการประกาศยกเว้นสำหรับ กระบะแคป การโดยสารในตอนหลังยังคงสามารถกระทำได้ หากโดยสารไม่เกิน 3 คน ไม่ต้องมีการดัดแปลงหรือแก้ไขเพื่อติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเพิ่มเติม
หลังจากนี้ สตช. จะต้องออกประกาศเกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยภายในระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ คาดว่าจะครบกำหนดเดือน ธ.ค.นี้ ขณะที่กรมการขนส่งทางบก จะร่วมมือกับ สตช. ตั้งคณะทำงานย่อย ในการจัดทำร่างประกาศ ในเนื้อสำหรับรถกระบะแคปนั้น กำหนดให้คาดเข็มขัดนิรภัยเฉพาะแถวหน้า ในส่วนของแคปไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย แต่กำหนดให้จะต้องมีผู้โดยสารไม่เกิน 3 คน จากนั้น สตช. ต้องนำร่างประกาศเสนอให้คณะกรรมการใหญ่เห็นชอบ และออกเป็นประกาศ สตช. จึงจะมีผลใช้บังคับต่อไป
• ลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บของอุบัติเหตุบนท้องถนน
• ป้องศีรษะและร่างกายส่วนบน ไม่ให้เหวี่ยงไปกระแทกกับส่วนต่างๆ ภายในรถยนต์
• ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง ป้องกันการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน เพื่อลดอาการบาดเจ็บรุนแรง
• ป้องกันสมอง และกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ที่หากได้รับการกระแทกที่รุนแรงอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
• ป้องกันการกระเด็นออกนอกตัวรถยนต์